![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
หน่วยโรงเรียนทหารช่าง ปรากฏว่าได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ ร.ศ. ๑๒๗ หรือ พ.ศ.๒๔๕๑ แต่การเรียกชื่อได้เปลี่ยนแปลงกันมาเรื่อย ๆ และจนกระทั่งมาได้ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัด เท่าที่พอหาได้ดังนี้.-
พ.ศ. ๒๔๘๔ เรียกชื่อว่า " กองโรงเรียนทหารช่าง " และ " กองโรงเรียนนายสิบทหารช่าง " ขึ้นตรงต่อแผนกทหารช่าง กรมเสนาธิการทหารบก มี พ.ต.หลวงเฉลิมศักดิ์สงคราม (เฉลิม เฉลิมศักดิ์สงคราม) เป็น ผบ.กองโรงเรียนทหารช่าง และ ร.อ.ขุนสุขศิริชัย(อิ๊ด สุขอรุณ) เป็น ผบ.กองโรงเรียนนายสิบทหารช่าง
พ.ศ. ๒๔๘๘ แผนกทหารช่าง กรมเสนาธิการทหารบก ได้เปลี่ยนแปลงอัตราการจัดหน่วยใหม่ แต่กองโรงเรียนทหารช่าง และกองโรงเรียนนายสิบทหารช่าง ยังคงขึ้นตรงต่อแผนกทหารช่างตามเดิมผู้บังคับบัญชายังคงไม่เปลี่ยนแปลง
พ.ศ. ๒๔๘๙ ทบ. ได้สั่งแปรสภาพแผนกทหารช่าง เป็นกรมจเรทหารช่าง มี "แผนกศึกษา" เป็นหน่วยขึ้นตรง และมีกองโรงเรียนนายทหาร, กองโรงเรียนนายสิบทหารช่าง และกองลูกมือ เป็นหน่วยในอัตราของแผนกศึกษา
พ.ศ. ๒๔๙๓ เปลี่ยนแปลงอัตราการจัดจากแผนกศึกษาเป็น "แผนกที่ ๓ " มีกองโรงเรียนนายทหาร กองโรงเรียนนายสิบทหารช่าง กองส่งเสริมการศึกษา และกองครู เป็นหน่วยขึ้นตรง
พ.ศ.๒๔๙๕ ทบ.สั่งแปรสภาพ กรมจเรทหารช่าง เป็นกรมการทหารช่าง ตามคำสั่ง กห.(พิเศษ) ที่ ๕๙/๒๓๖๔๐ เรื่อง แก้อัตรา ทบ.๙๑ (ครั้งที่ ๕๓) ลง ๑๙ พ.ย.๙๕ แผนกที่ ๓ จึงแปรสภาพเป็น " กองฝึกและศึกษา " ขึ้นตรงต่อ กรมการทหารช่าง และมีหน่วยขึ้นตรงกองฝึกและศึกษา ดังนี้.-
- บก.กอง
- แผนกฝึกและศึกษา
- แผนกส่งเสริม
- โรงเรียนนายทหารช่าง
- โรงเรียนนายสิบทหารช่าง
พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้เปลี่ยนแปลงอัตราการจัดกรมการทหารช่างใหม่ ตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ ๘๕/๒๖๙๘๗ ลง ๑๕ พ.ย. ๙๗ กองฝึกและศึกษา จึงได้แปรสภาพด้วยเป็น " โรงเรียนทหารช่าง " เป็นส่วนหนึ่งของกรมการทหารช่าง เจ้ากรมการทหารช่างทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนทหารช่าง อีกตำแหน่งหนึ่ง การจัดหน่วยขึ้นตรงต่อโรงเรียนทหารช่าง มีดังนี้.-
- บก.รร.ช.กช.
- กองวิทยาการ
- กองวิจัยและพัฒนาการ
- กองการศึกษา
- กองบริการและอุปกรณ์
- กองเอกสารการศึกษา
- กองวิชาทหารช่าง
- กองวิชาช่าง
- กองวิชาเครื่องมือการช่าง
- กองนักเรียน(ประกอบด้วย กองนักเรียนนายร้อยสำรอง และกองนักเรียนนายสิบ)
- กองพันโรงเรียนทหารช่าง(ช.พัน.๕ ทำหน้าที่เป็น พัน.รร.ช. แต่ ๖ ม.ค.๙๙)
พ.ศ. ๒๕๐๑ กรมการทหารช่างได้เปลี่ยนแปลงอัตราการจัดตามคำสั่ง กห.(เฉพาะ)ที่ ๑/๓๕ ลง ๓ ม.ค.๐๑ โดยเพิ่มส่วนราชการขึ้นตรงต่อกรมการทหารช่างขึ้นอีกหน่วย คือ ศูนย์การทหารช่าง และให้โรงเรียนทหารช่าง ขึ้นอยู่กับศูนย์การทหารช่าง การจัดโรงเรียนทหารช่าง แบ่งส่วนราชการออกเป็น
- สภาโรงเรียนทหารช่าง
- กองบังคับการ
- กองการศึกษา(แปรสภาพมาจากกองการศึกษาและกองบริการและอุปกรณ์ รร.ช.)
- กองอาจารย์
- กรมนักเรียน(แปรสภาพมาจากกองนักเรียน รร.ช.)
- กองพันทหารช่าง โรงเรียนทหารช่าง(ช.พัน.๕ ทำหน้าที่)
- กองพันฝึกเบื้องต้นเฉพาะเหล่าทหารช่าง ( จัดตั้งขึ้นภายหลังเมื่อ ๒ มิ.ย.๐๓ ตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑๖๑/๑๑๗๖๑ ลง ๒.มิ.ย.๐๓ และเริ่มบรรจุกำลังครั้งแรก เมื่อ ๖ ก.ย.๐๓ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๒๙๕/๒๐๕๘๔ ลง ๖ ก.ย.๐๓ และยุบเลิกไปพร้อมกับศูนย์การทหารช่าง)
พ.ศ. ๒๕๑๑ ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๗๕/๑๑ ลง ๒๙ ก.ค.๑๑ เรื่อง แก้อัตรากองทัพบก ๒๕๐๖ (ครั้งที่ ๒๘) ให้ใช้อัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๓๒๐๐ กรมการทหารช่าง (อัตราครั้งนี้ไม่มีศูนย์การทหารช่าง) โรงเรียนทหารช่างขึ้นตรงต่อกรมการทหารช่าง เจ้ากรมการทหารช่างเป็นผู้บังคับบัญชาการโรงเรียนทหารช่าง โดยตำแหน่ง ใช้ตั้งแต่ ๒๙ ก.ค.๑๑ เป็นต้นไป
๑๒ เม.ย.๒๒ มีคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘/๒๒ ลง ๑๒ เม.ย.๒๒ เรื่อง แก้อัตรากองทัพบก ๒๕๐๖ (ครั้งที่ ๖๑) ให้แก้ไขอัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๓๒๐๐ กรมการทหารช่าง โดยเพิ่มแผนกวิชาสงครามทุ่นระเบิดขึ้นในกองวิชาช่างอีก ๑ แผนก ตั้งแต่ ๑๒ เม.ย.๒๒ มีผังการจัดเฉพาะกองวิชาช่าง และอัตรากำลังพลที่เพิ่มขึ้นเฉพาะแผนกวิชาสงครามทุ่นระเบิด
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้มีคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ ๓๖ /๒๕ ลง ๑ มี.ค.๒๕ เรื่อง แก้อัตรากองทัพบก ๒๕๐๖ (ครั้งที่ ๖ ) ให้ยกเลิกอัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๓๒๐๐ กรมการทหารช่าง ฉบับเดิม และให้ใช้อัตราฉบับใหม่แทน ตั้งแต่ ๑ มี.ค.๒๕ ทำให้โรงเรียนทหารช่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรมการทหารช่าง มีการเปลี่ยนแปลง โดยยุบเลิกกองวิชาต่าง ๆ มารวมเป็นกองการศึกษา ส่วนกองการศึกษาเดิมได้แยกแผนกต่าง ๆ มารวมไว้กับกองบัญชาการ และโรงเรียนทหารช่างคงขึ้นตรงต่อกรมการทหารช่าง เจ้ากรมการทหารช่าง ปฏิบัติหน้าที่ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารช่าง โดยตำแหน่ง ...
ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนทหารช่างจากอดีต ถึง ปัจจุบัน
ลำดับ |
ผบ.รร.ช.กช. |
รอง ผบ.รร.ช.กช. |
ห้วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง |
1 |
พล.ต.เอกศักดิ์ ประพันธะโยธิน |
พ.อ.ประเสริฐ รอดวรรณะ |
พ.ศ.2497 - พ.ศ. 2501 |
2 |
พ.อ.ประเสริฐ รอดวรรณะ
|
พ.อ.พิธรรม แก้วดุสิต
|
พ.ศ.2501 - พ.ศ. 2502
|
3 |
พ.อ.ประเสริฐ รอดวรรณะ
|
พ.อ.สุกรี อินทปัญญา
|
พ.ศ.2502 - พ.ศ. 2503
|
4 |
พ.อ.สุกรี อินทปัญญา
|
พ.อ.ประยูร เจริญศิริ
|
พ.ศ.2503 - พ.ศ. 2507
|
5 |
พ.อ.อุปะถมภ์ ประถมภัฏ
|
พ.อ.ม.ร.ว.ชมวิชิต เกษมสันต์
|
พ.ศ.2507 - พ.ศ. 2512
|
6 |
พล.ต.ประเสริฐ รอดวรรณะ
|
พ.อ.ประยูร เจริญศิริ
|
พ.ศ.2512 - พ.ศ. 2516
|
7 |
พล.ต.เทียบ บูรณสิงห์
|
พ.อ.สวัสดิ์ ยัสพันธุ์
|
พ.ศ.2516 - พ.ศ. 2518
|
8 |
พล.ต.กมล พิจิตรคดีพล
|
พ.อ.สถิตย์ พงษ์ไสว
|
พ.ศ.2518 - พ.ศ. 2521
|
9 |
พล.ต.กมล พิจิตรคดีพล
|
พ.อ. สนิท สัตย์สงวน
|
พ.ศ.2521 - พ.ศ. 2522
|
10 |
พล.ต.สำราญ กมลรัตน์
|
พ.อ. สนิท สัตย์สงวน
|
พ.ศ.2522 - พ.ศ. 2524
|
11 |
พล.ต.สำราญ กมลรัตน์
|
พ.อ.ชุ่ม แก่นทับทิม
|
พ.ศ.2524 - พ.ศ. 2526
|
12 |
พล.ต.เกษม สงวนชาติสรไกร
|
พ.อ.บุญเสริม ภัทรจินดา
|
พ.ศ.2526 - พ.ศ. 2528
|
13 |
พล.ต.วิเชียร สุกปลั่ง
|
พ.อ.บุญเสริม ภัทรจินดา
|
พ.ศ.2528 - พ.ศ. 2529
|
14 |
พล.ต.วิเชียร สุกปลั่ง
|
พ.อ.พฤทธิ์ ติณเวส
|
พ.ศ.2529 - พ.ศ. 2531
|
15 |
พล.ต.นิวัตร สายอุบล
|
พ.อ.พฤทธิ์ ติณเวส
|
พ.ศ.2531 - พ.ศ. 2532
|
16 |
พล.ท.ทวีสิทธิ์ สร้างสมวงษ์
|
พ.อ.พฤทธิ์ ติณเวส
|
พ.ศ.2532 - พ.ศ. 2535
|
17 |
พล.ท.นฤนาท กัมปนาทแสนยากร
|
พ.อ.พฤทธิ์ ติณเวส
|
พ.ศ.2535 - พ.ศ. 2536
|
18 |
พล.ท.นฤนาท กัมปนาทแสนยากร
|
พ.อ.พินิจ ศุขสายชล
|
พ.ศ.2536 - พ.ศ. 2538
|
19 |
พล.ท.วิษณุ อุดมสรยุทธ
|
พ.อ.มนู อยู่เย็น
|
พ.ศ.2538 - พ.ศ. 2539
|
20 |
พล.ท.วิษณุ อุดมสรยุทธ
|
พ.อ.สมพล อวยพร
|
พ.ศ.2539 - พ.ศ. 2541
|
21 |
พล.ท.อาภรณ์ กุลพงษ์
|
พ.อ.สมพล อวยพร
|
พ.ศ.2541 - พ.ศ. 2543
|
22 |
พล.ท.ธนเดช ประทุมรัตน์
|
พ.อ.สมพล อวยพร
|
พ.ศ.2543 - พ.ศ. 2544
|
23 |
พล.ท.ธนเดช ประทุมรัตน์
|
พ.อ.วีระฉัตร คล้ายวันเพ็ญ
|
พ.ศ.2544 - พ.ศ.2547
|
24 |
พล.ท.ชัยยุทธ เทพยสุวรรณ
|
พ.อ.อเนก นะวะมะโรจน์
|
พ.ศ.2547 - พ.ศ.2547
|
25 |
พล.ท.ชัยยุทธ เทพยสุวรรณ
|
พ.อ. สมมารถ ปรุงสุวรรณ์
|
พ.ศ.2547 - พ.ศ.2548
|
26 |
พล.ท.สุภาษิต วรศาสตร์
|
พ.อ. สมมารถ ปรุงสุวรรณ์
|
พ.ศ.2548 - พ.ศ.2549
|
27 |
พล.ท.สุภาษิต วรศาสตร์
|
พ.อ. วศิน ถนัดช่าง
|
พ.ศ.2549 - ปัจจุบัน
|