
1. หน้าที่หลักในการส่งกำลังบำรุงสายช่าง
กองทัพบกให้กรมการทหารช่าง รับผิดชอบดำเนินการส่งกำลัง และซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สายช่างทั้งสิ้น ให้แก่หน่วยต่างๆ ของกองทัพบก และเหล่าอื่น ตลอดจนกองบัญชาการทหารสูงสุดตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ระบบการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก
2.1 กองทัพบกโดยกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เป็นผู้กำหนดนโยบาย วางแผนควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก ในยามปกติ โดยมีกรมฝ่ายยุทธบริการทั้ง 9 กรม และกองทัพภาคทั้ง 4 กองทัพภาคเป็นหน่วยปฏิบัติ
2.2 ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก โดยฝ่ายส่งกำลังบำรุง ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เป็นผู้กำหนดนโยบาย วางแผนควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบกในสนาม โดยมีกรมฝ่ายยุทธบริการที่เกี่ยวข้อง และกองทัพภาคเป็นหน่วยปฏิบัติ
2.3 กรมฝ่ายยุทธบริการ เป็นผู้รับผิดชอบในการส่งกำลังบำรุงตามสายงานของตนไปยังกองทัพภาค
2.4 กองทัพภาค รับผิดชอบในการส่งกำลังบำรุง เพื่อสนับสนุนหน่วยต่างๆ ที่มีที่ตั้ง หรือปฏิบัติการในสนามอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละกองทัพภาค โดยมีกองบัญชาการช่วยรบ , มลฑลทหารบก และจังหวัดทหารบกเป็นหน่วยปฏิบัติ
3. แนวความคิดในการปฏิบัติ
เพื่อให้บรรลุหน้าที่หลักตามที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพบก กรมการทหารช่าง จึงได้วางแนวความคิดในการปฏิบัติไว้ดังนี้.-
3.1 ยึดถือแนวความคิด นโยบาย แผน ภารกิจ และระบบการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบกเป็นแนวทางการปฏิบัติ
3.2 พยายามรักษาสถานภาพของยุทโธปกรณ์สายช่าง ให้สามารถใช้งานได้นานที่สุดโดยการออกคำแนะนำการใช้ และการปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์ให้ถูกต้อง
3.3 พยายามจัดให้มียุทโธปกรณ์สายช่าง ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ง่ายและประหยัดในการส่งกำลัง และซ่อมบำรุง
3.4 ให้การสนับสนุน หน่วยรับการสนับสนุนต่างๆ ตามที่ต้องการ และทันเวลา
3.5 ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุม และกำกับดูแลของกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (ยามปกติ) และฝ่ายส่งกำลังบำรุง ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ในสนาม)
4. ทางได้มาซึ่งสิ่งอุปกรณ์สายช่าง กรมการทหารช่างได้รับสิ่งอุปกรณ์สายช่างมาจากลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้.-
- การจัดซื้อ และการจ้าง - การรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ - การซ่อมบำรุง
- การเก็บซ่อม - การบริจาค - การยืม - การโอน
- การผลิต - การเกณฑ์ และการยึด - การแลกเปลี่ยน
5. สิ่งอุปกรณ์ในความรับผิดชอบสายช่าง กรมการทหารช่าง รับผิดชอบตามรายการดังนี้.-
5.1 เครื่องมือก่อสร้างในสนาม รวมทั้งรถยนต์บรรทุกเทท้ายทุกชนิดเว้นรถยนต์เทท้ายที่กำหนดไว้ในสายงานอื่น
5.2 ยาง และแบตเตอรี่ที่ใช้กับเครื่องมือก่อสร้าง และรถยนต์บรรทุกเทท้ายตามข้อ 5.1
5.3 วัสดุก่อสร้างในสนาม
5.4 เครื่องมือข้ามลำน้ำทุกชนิด ได้แก่ สะพานเครื่องหนุนมั่น สะพานเครื่องหนุนลอย ระบบสะพานที่ติดตั้งบนตัวรถสายพานวางสะพาน เรือยนต์สร้างสะพาน เป็นต้น
5.5 สิ่งอุปกรณ์เกี่ยวกับ โยธาสนาม ป้อมสนามการพราง และการส่งกำลังทางท่อในสนาม
5.6 เครื่องปะปาสนาม
5.7 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มิได้กำหนดไว้ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสายงานอื่นรวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อแสงสว่าง และพลังงานในสนาม
5.8 สิ่งอุปกรณ์เกี่ยวกับสงครามทุ่นระเบิด ชุดเครื่องหมายดงระเบิด และแบตเตอรี่ที่ใช้กับเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด
5.9 เครื่องอัดลม และเครื่องมือใช้ลมอัด
5.10 สิ่งอุปกรณ์เกี่ยวกับการเชื่อมโลหะ ช่างเหล็ก ช่างไม้ และช่างเครื่องจักร
5.11 สี และสิ่งอุปกรณ์เกี่ยวกับสี เพื่อการปรนนิบัติบำรุง การซ่อมบำรุง และการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์
5.12 กล้องตรวจการณ์กลางคืน
5.13 แผนที่ และสิ่งอุปกรณ์เกี่ยวกับแผนที่
5.14 สิ่งอุปกรณ์ต่าง ที่ใช้ในการผลิต สร้าง ทดสอบ และซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์ตามข้อ 5.1 - 5.13
6. หน่วยในการส่งกำลังบำรุง และซ่อมบำรุงสายช่าง
6.1 ในระดับกองทัพบก ได้แก่
6.1.1 กองคลังทหารช่าง
6.1.2 กรมทหารช่างส่งกำลัง และซ่อมบำรุง
6.1.3 กองร้อยทหารช่างซ่อมบำรุงสนาม
6.1.4 กองร้อยทหารช่างซ่อมบำรุงหนัก
6.1.5 ตอนทหารช่างประปาสนาม
6.2 ในระดับกองทัพภาค - กองพันส่งกำลัง และกองพันซ่อมบำรุง ในกองบัญชาการช่วยรบ
7.ระบบการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสายช่าง
7.1 การส่งกำลังประเภท 2 4 และการส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อมสายช่าง (ผนวก ก.)
7.1.1 หน่วยที่ใช้เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่ 1 และหน่วยใช้ที่อยู่ในพื้นที่ของกองทัพภาคที่ 2 , 3 และ 4 จะเบิกสิ่งอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนซ่อมไปยังกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 , 2 , 3 และ 4 ก็จะเบิกต่อไปยังกองคลังทหารช่าง
7.1.2 หน่วยของกองทัพบก (หน่วยนอกกองทัพภาค) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 1 ในยามปกติได้รับการสนับสนุนทางการส่งกำลังจาก กองคลังทหารช่าง ผ่านทางมณฑลทหารบก และจังหวัดทหารบกที่หน่วยนั้นๆ อยู่ในพื้นที่ สำหรับหน่วยใน กทม. จว.นนทบุรี จว.ปทุมธานี จว.นครปฐม และจว.สมุทรสาคร ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองคลังทหารช่างได้โดยตรง หากหน่วยจัดกำลังปฏิบัติในสนามพื้นที่กองทัพภาคใด ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองบัญชาการช่วยรบในอัตราของกองทัพภาคนั้น
7.2 การซ่อมบำรุง (ผนวก ข.)
การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สาย ช. แบ่งออกเป็น 4 ประเภท และมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการซ่อมบำรุงดังนี้
7.2.1 การซ่อมบำรุงระดับหน่วย หน่วยใช้เป็นผู้ดำเนินการเอง
7.2.2 การซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง เป็นการซ่อมบำรุงที่เกินขั้นการซ่อมบำรุงระดับหน่วย ได้แบ่งความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุงให้กับหน่วยต่างๆ ดังนี้.-
- พัน.ซบร. ของ ซบร. รับผิดชอบการซ่อมบำรุงให้กับหน่วยใช้ในพื้นที่ของกองทัพภาค ซึ่งเป็นหน่วยที่ไม่มีกรมสนับสนุน
- พัน.ซบร. ของกรมสนับสนุนของกองพล รับผิดชอบการซ่อมบำรุงให้กับ นขต. ของกองพล นั้นๆ
- ร้อย.ซบร.สนาม รับผิดชอบการซ่อมบำรุงใช้ให้กับหน่วยใช้ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 1 แต่ไม่ได้เป็น นขต. ของกองทัพภาคที่ 1 และหน่วย ช. ในพื้นที่ จว.ราชบุรี , จว.กาญจนบุรี และ จว.เพชรบุรี
- ร้อย.ช.คม. และซบร. ของ กองพันทหารช่างก่อสร้าง รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงให้กับ นขต.ของ กรม ช.
7.2.3 การซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป และการซ่อมบำรุงระดับคลัง หน่วยที่รับผิดชอบในการซ่อมบำรุง คือ ช.21
โดย ร้อย.ซบร.หนัก รับผิดชอบงานซ่อมบำรุงที่เกินขั้นการซ่อมบำรุงของหน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง
|