เมื่อทหารกระทำความผิดอาญา :: เมื่อทหารกระทำผิดอาญา

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฎิบัติและะประสานงานกรณีทหาร
ถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

๑. กำหนดให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา

ประกอบด้วย รมว.กห. เป็นประธานกรรมการ, ผบ.ตร. เป็นรองประธาน ปล.กห., ปล.มท., ปล.ยธ., ผบ.ทหารสูงสุด หรือ ผบ.เหล่าทัพ ที่ ผบ.ทหารสูงสุด มอบหมาย , รอง อก.สูงสุด คนหนึ่ง ตามที่ อก.สูงสุด มอบหมาย , ข้าราชการตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไป ตามที่ ผบ.ตร.มอบหมาย , อธิบดีกรมการปกครอง ร่วมเป็นกรรมการ จก.ธน. เป็นกรรมการและเลขานุการ

๒. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

- วางมาตรการป้องกัน แก้ไข วินิจฉัย สั่งการหรือให้คำแนะนำแก่ จนท.หรือ ผสห. ที่ร้องเรียนเมื่อปัญหาในการปฏิบัติอันเกิดจากการใช้ระเบียบ

- ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบธรรมเนียม , ข้อกำหนดว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของทหาร พนักงานปกครอง และตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม

- เสนอนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและประสานงาน

- บุคคลใดเห็นว่าตนหรือสมาชิกในครอบครัว ได้รับความเสียหาย หรือความไม่เป็นธรรม เนื่องจากการที่ทหาร พนักงานปกครอง หรือตำรวจ อ้างการปฏิบัติตามระเบียบนี้บุคคลนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการ หรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย เพื่อแนะนำ วินิจฉัย หรือสั่งการได้

๓. การประสานงานกันระหว่างทหาร พนักงานปกครอง และตำรวจ

- ให้ผู้บังคับบัญชาทั้ง ๓ ฝ่าย

- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีความสามัคคีระหว่างกัน

- พยายามป้องกัน หรือระงับความขัดแย้ง โดยเฉพาะนอกเขตที่ตั้งทหาร

- ก่อนเกิดเหตุ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ อาจขอให้ฝ่ายทหารจัดส่งสารวัตรทหาร หรือ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ไปร่มรักษาความสงบเรียบร้อยได้

การปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

๑. ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีที่ทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และมีเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการและเลขานุการ

๒. การจับกุมทหารกระทำความผิด

การจับทหาร ระเบียบข้อ ๑๓ การจับต้องมีหมายจับ เว้นแต่มีเหตุพิเศษ ให้จับโดยแจ้งให้ทหารไปยังที่ทำการของตำรวจ หากไม่ไปหรือขัดขืน ถ้ามีสารวัตรทหารอยู่ ณ ที่นั้น ให้แจ้งให้สารวัตรทหารจับ ถ้าไม่มีให้ทำการจับกุมได้

๓. การควบคุมทหารกระทำความผิด

เมื่อนำตัวไปถึงที่ทำการตำรวจแล้ว หากทหารนั้นสวมเครื่องแบบให้แจ้งให้คำนึงถึงเกียรติยศของเครื่องแบบ หากถอดเครื่องแบบให้ควบคุมตัวได้ หากไม่ถอดเครื่องแบบให้แจ้งให้ฝ่ายทหารมาแนะนำ หากไม่ยินยอมถอดเครื่องแบบให้นำเข้าห้องควบคุมได้

๔. ทหารที่หนีราชการตำรวจและไม่จับกุมให้โดยอ้างว่ายังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีกับทหารที่หนีราชการนั้น

๕. การปล่อยชั่วคราวทหารให้สามารถร้องขอปล่อยชั่วคราวได้ทุกคน

๖. ในการตรวจค้น ให้ทำการตรวจค้นได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เสมอหน้ากันทั้งสิ้น

๗. การค้นสิ่งของที่เป็นราชการลับ กำหนดให้ตั้งกรรมการร่วมกันตรวจค้น

๘. การสอบสวนทหารผู้ต้องหา (ถูกหาว่า)

๘.๑ ระเบียบยอมให้มีทนายความหรือผู้ที่ทหารไว้ใจอยู่ขณะถูกสอบปากคำ

๘.๒ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ ถ้าฝ่ายทหารเห็นว่าจะมีการกระทำความผิดอาญาทหารหรือวินัยทหาร จะส่งนายทหารมาร่วมฟังการสอบสวนเฉพาะปากทหารผู้ต้องหาเท่านั้น

๘.๓ การสอบสวนเป็นความลับ ทหารผู้ต้องหามีสิทธิเท่าผู้ต้องหาอื่น

๙. กรณีทหารเป็นผู้เสียหาย เดิมมีมาตรการคุ้มครองแต่ในระเบียบนี้ ถือว่าทหารเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายเท่าเทียมกับพลเรือนทั่วๆ ไปแล้ว จึงไม่มีการให้มีนายทหารไปร่วมฟังการสอบสวนอีกต่อไป

๑๐. การแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบ ระเบียบได้กำหนดเรื่องการแจ้งสิทธิไว้อย่างชัดเจน

๑๑. กรณีทหาร – ตำรวจวิวาท กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการร่วมไม่เน้นว่าจะจัดจากระดับใด

๑๒. เรื่องการร้องเรียนขอความเป็นธรรม กำหนดให้มีการร้องขอความเป็นธรรมจากคณะกรรมการตามข้อ ๑ ได้

เอกสารอ้างอิง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ.๒๕๔๔

เมื่อทหารกระทำผิดอาญาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม

๑. การจับตัวทหาร ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลเท่านั้น เว้นแต่มีเหตุพิเศษ (กระทำความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่กฎหมายให้จับได้โดยไม่ต้องมีหมายหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าทหารผู้นั้นจะหลบหนีการจับกุมตามกฎหมาย)

๒. เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งการจับกุมทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาของทหารปฏิบัติ ดังนี้

๒.๑ กรณีไม่ขอรับตัว ให้แจ้งให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวและดำเนินการไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๒.๒ กรณีรับตัว ให้ทำหนังสือขอรับตัวผู้ต้องหา เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานสอบสวน กรณีนี้ พนักงานสอบสวนจะทำหนังสือส่งมอบตัว และบันทึกหลักฐานรวมเข้าสำนวนไว้พร้อมบันทึกในรายงานประจำวัน

การรับตัวทหารไปจากพนักงานสอบสวน หากให้ฝ่ายทหารควบคุมตัวเพื่อประโยชน์ทางคดีให้แจ้งพนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปยังศาลทหารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อยืนคำร้องขอให้ศาลทหารมีคำสั่งหรือออกหมายขังให้ต่อไป

เอกสารอ้างอิง ระเบียบ สร.ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ.๒๕๔๔

๓. การคุมขังผู้ต้องหาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร นับตั้งแต่ ๑๑ ต.ค.๔๕ เป็นต้นไป จะต้องดำเนินการดังนี้

๓.๑ การคุมขังจะต้องกระทำโดยมีคำสั่งหรือหมายของศาลทหาร

๓.๒ เมื่อมีการจับกุมบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารให้นำตัวไปศาล ภายใน ๔๘ ชม. นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขังผู้ถูกจับไว้ตามกฎหมายหรือไม่ หากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเป็นผู้สอบสวนเอง ให้ผู้บังคับบัญชาทหารหรือผู้สอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปยื่นคำร้องฝากขังต่อศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี หากประสงค์จะดำเนินคดีโดยพนักงานสอบสวน ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารนำตัวผู้ต้องหาไปมอบให้พนักงานสอบสวนโดยเร็ว

๔. การยื่นคำร้องขอให้ศาลทหารมีคำสั่งหรือออกหมายขัง ให้ปฏิบัติดังนี้

๔.๑ คดีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเป็นผู้สอบสวน ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร หรือผู้มีอำนาจ

สอบสวนเป็นผู้ยื่นคำร้อง

๔.๒ คดีที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้สอบสวน ให้ต้นสังกัดผู้ต้องหารีบแจ้งพนักงานสอบสวนให้เป็นผู้ยื่นคำร้อง

เอกสารอ้างอิง หนังสือ ธน.ด่วนที่สุด ที่ กห ๐๒๐๒/๑๓๔๑ ลง ๑๑ ต.ค.๔๕ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการคุมขัง

ผู้ต้องหาและการออกหมายอาญาของศาลทหาร

เมื่อทหารถูกจับกุมตัวในความผิดทางอาญา ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งพักราชการได้

เอกสารอ้างอิง ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการทหารพักราชการ พ.ศ.๒๕๒๘

หากมีข้อสงสัยในรายละเอียดให้สอบถามได้ที่ กพ.ทหาร หรือ ธน. โดยตรง

อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

๑. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะต้องสอดส่องดูแลหรือป้องกันมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

๒. เมื่อมีการกล่าวหาร้องเรียนหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ทันที

๒.๑ กรณีที่มีการสืบสวนก่อนการดำเนินการทางวินัย ให้ขอข้อมูลหรือข่าวสารหรือพยานหลักฐานจากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด มาประกอบการพิจารณาด้วย

เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ยุติเรื่อง หรือสั่งให้ดำเนินการทางวินัย ให้แจ้งคณะกรรมการ ทราบภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้คณะกรรมการรายงานต่อไปยัง เลขาธิการ ป.ป.ส.

๒.๒ กรณีที่มีการดำเนินการทางวินัย เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับแจ้งผลการสอบสวนทางวินัยจากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลฯ ต้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปโดยเร็ว

เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้ว ไม่ว่าจะลงโทษหรือไม่ก็ตามต้องแจ้งให้คณะกรรมการทราบภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้คณะกรรมการรายงานต่อไปยัง เลขาธิการ ป.ป.ส.

๓. ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการตามข้อ ๒ ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้น กระทำผิดวินัย

๔. กรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่า ผู้นั้นเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะสั่งลงโทษทางวินัยได้ ให้ผู้บังคับบัญชาใช้มาตรการทางบริหารดำเนินการอันได้แก่

๔.๑ มีคำสั่งย้ายผู้นั้นออกนอกเขตพื้นที่ และให้ไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาระยะเวลาที่กำหนด

๔.๒ นำพฤติการณ์นั้นมาประกอบการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง การเลื่อนชั้นเงินเดือน ยศ หรือ ระดับ รวมตลอดถึงการพิจารณาความดีความชอบประจำปี และการจ่ายเงินโบนัส หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน