ประวัติพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ประดิษฐานอยู่หน้ากองบังคับการกรมทหารช่างที่ 11 ( รูปแบบไฟล์ )
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานอยู่หน้ากองบังคับการกรมทหารช่างที่ ๑๑ได้กำเนิดขึ้นด้วยความริเริ่มของคณะศิษย์เก่า โรงเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า ฯ โดยมีผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11 ในสมัยนั้น (พ.อ.คมกฤช ศรียะพันธ ์) เป็นผู้ดำเนินการมีความมุ่งหมายในการก่อสร้างด้วยกัน 3 ประการ คือ
ประการแรก เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณอันสูงสุด ที่พระองค์ท่าน ได้พระราชทานให้กับทหารช่างของ กองทัพบกไทยและประเทศชาติเป็นสำคัญให้ปรากฏเกียรติขจรกระจายไปในกาลภายหน้า
ประการที่สอง เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความกตัญญูกตเวทีที่บรรดาทหารช่างทั้งมวลมีต่อพระองค์ท่านอย่างมิเสื่อมคลาย
ประการที่สาม เพื่อต้องการ ให้เป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญ อันเป็นแหล่งรวมจิตใจ และเป็นที่เคารพสักการะบูชาของกำลังพลภายในหน่วยกรมทหารช่างที่ 11 รวมทั้งข้าราชการและครอบครัวในค่ายภาณุรังษี ทุกคน
ในด้านการดำเนินการก่อสร้างการออกแบบฐานพระบรมรูป ฯ ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนทหารช่างโดยมอบให้ พ.ท.กรีสันต์ ศรีวิจิตร เป็นสถาปนิกออกแบบ และ พ.ท.ลำพอง เลาหภักดี เป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างซึ่ง ช.พัน.111 เป็นหน่วยดำเนินการก่อสร้างฐานพระบรมรูปฯ ลักษณะเป็นแท่นคอนกรีต ซึ่งปูพื้นและตกแต่งด้วยหินอ่อน
สำหรับพระบรมรูป ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว นั้น ผศ.ดร.วระ อิษวาส จากคณะจิตรกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นปฏิมากรปั้นหล่อ ในชุดฉลองพระองค์เต็มยศลักษณะครึ่งองค์ หล่อเป็นโลหะสัมฤทธิ์ขนาดประมาณเท่าครึ่ง ขององค์จริง สูง 87 ซ.ม.
ข้อความจารึกที่แท่นหินอ่อน ฐานพระบรมรูปด้านหน้าได้คัดลอกบางตอนจากหนังสือตำนานทหารมหาดเล็ก เขียนโดย พ.อ.นายวรการ บัญชา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งมีใจความสำคัญในการจัดตั้งหน่วยทหารช่าง การจัดอาวุธยุทธภัณฑ์และการฝึกหัดตลอดจนภารกิจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับทหารช่างไม่เฉพาะวิชาทหารทางยุทธวิธีเท่านั้น ยังมีการฝึกหัดวิชาทำแผนที่ และปฏิบัติงานช่างเบ็ดเตล็ดอีกมากมาย ซึ่งเป็นภารกิจมูลฐานของทหารช่างในปัจจุบัน
การดำเนินการก่อสร้างในระยะแรกได้เริ่มการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2528 และทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2528 โดยมี นาย สุมิตร สัทธาธิโก เป็นผู้ผูกดวง และเจ้ากรมทหารช่างในสมัยนั้น (พล.ต. เกษม สงวนชาติไกร ) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ และกระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2531 โดย เจ้ากรมทหารช่าง (พล.ต. วิเชียร สุกปลั่ง ) เป็นประธานในพิธี และผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11 (พ.อ.สมภพ เอมะรุจิ) เป็นผู้ดำเนินการ
สำหรับงบประมาณในการก่อสร้าง ได้รับการบริจาค จากอดีตผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ ๑๑ เป็นหลัก กับได้จากคณะศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ และข้าราชการอื่นๆรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธารวมเป็นเงินทั้งสิ้น๕๕๐ , ๐๐๐.-บาท แยกเป็นค่าก่อสร้างฐานพระบรมรูป 380,000.-บาท ค่าปั้นหล่อพระบรมรูป 170,000.-บาท จากนั้นสถานที่แห่งนี้ ได้เป็นสถานที่สักการะบูชาของศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ข้าราชการและครอบครัวในค่ายภาณุรังษี ร่วมทั้งผู้ที่ผ่านไปมาโดยตลอด ต่อมาศิษย์เก่าหลายท่านมีความเห็นว่าน่าจะก่อสร้างศาลาครอบพระบรมรูปตามแบบของสถาปัตยกรรมศาลาวงกลม ที่มีอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนความทรงจำของศิษย์เก่า และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะมาสักการะบูชา ในที่สุดผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง (พล.ต. อาภรณ์ กุลพงษ์ ) ได้มอบให้ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11 (พ.อ.จรัล วรพงศ์ ) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้าง โดย พ.ต. เศรษฐศิริ บวรธรรมรัตน์ เป็นสถาปนิกออกแบบศาลาวงกลมตามแบบของเก่าที่เคยสร้างไว้ ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ และ ช.พัน.๑๑๑ เป็นหน่วยดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2539 การก่อสร้างได้แล้วเสร็จสมบูรณ์และกระทำพิธีบวงสรวงพระบรมรูปฯเปิดใช้ศาลาวงกรมแห่งนี้ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 โดยมีเจ้ากรมการทหารช่าง ( พล.ท.วิษณ ุ อุดมสรยุทธ ) เป็นประธานในพิธี และผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ ๑๑ (พ.อ.จรัล วรพงศ ์) เป็นผู้ดำเนินการ งบประมาณการก่อสร้างในครั้งนี้รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 2,202,931.-บาท โดยได้รับการบริจาคจากศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ และผู้มีจิตศรัทธา จำนวน 1, 107,002.-บาท กรมการทหารช่าง จำนวน 800,000 บาท ยังขาดเงินอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งกรมทหารช่างที่ 11 ได้จัดกิจกรรมเพื่อหารายได้เพิ่มเติมต่อไป .....
::: จัดทำ และเผยแพร่ข้อมูลโดย ส่วนปฏิบัติการฯ ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสารสนเทศ กรมการทหารช่าง :::
ติชม / เสนอแนะ ติดต่อ webmaster :: kittikraimanee@gmail.com