ประวัติความเป็นมา ตามแผนโครงสร้างกองทัพไทย 1/27 (แผน 33) กองทัพบก (ทบ.) มีแนวความคิดที่จะจัดตั้ง หน่วยบัญชาการทหารช่าง ซึ่งเป็นหน่วยระดับ ทบ. ขึ้นเพื่อควบคุมและอำนวยการ การปฏิบัติงานของหน่วยทหารช่าง ของ ทบ. ให้สามารถปฏิบัติงานช่างในระดับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีได้อย่างเป็นปึกแผ่น และมีประสิทธิภาพ โดยรับผิดชอบงานช่างขนาดใหญ่ที่เป็นงานพิเศษและเกิน ขีดความสามารถของกองพลพัฒนา (พล.พัฒนา) ซึ่งจัดตั้งไว้ในแต่ละกองทัพภาค ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ต่อมา ทบ.ได้พิจารณาเห็นว่าภารกิจในการปฏิบัติงานของ หน่วยบัญชาการทหารช่าง นั้นคล้ายกับ พล.พัฒนา ซึ่งสนับสนุนงานพัฒนาประเทศในยามปกติ และสนับสนุนงานช่าง ในยุทธบริเวณ รวมทั้งได้พิจารณาถึงมาตรฐานสากลในการกำหนดชื่อหน่วย และขนาดหน่วย ที่เหมาะสมกับภารกิจที่จะปฏิบัติแล้ว จึงเห็นควรเปลี่ยนแปลงเป็นการจัดหน่วย กองพลทหารช่าง (พล.ช.) ขึ้นแทนการจัดตั้ง หน่วยบัญชาการทหารช่าง ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ 169/32 ลง 25 ก.ย.32 เรื่อง จัดตั้งกองพลทหารช่าง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.32 ซึ่ง กรมการทหารช่าง (กช.) ได้มอบการบังคับบัญชา กรมทหารช่างที่ 11 (ช.11) ให้กับ พล.ช. เมื่อ 13 ต.ค.32 ตามคำสั่ง กช. (เฉพาะ) ที่ 3/32 ลง 4 ต.ค.32 เรื่อง การจัดหน่วย, การประกอบกำลังและการมอบอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยทหาร เพื่อตรวจความก้าวหน้าในการจัดตั้งหน่วย ผู้บัญชาการทหารทหารบก (ผบ.ทบ.) (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้กรุณาเดินทางมาตรวจเยี่ยม พล.ช. และ หน่วยขึ้นตรง (นขต.) เมื่อ 22 พ.ย.32 ในโอกาสนี้ ผบ.ทบ. ได้ชี้แจงและสั่งการเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่ พล.ช. 5 ประการ มีใจความดังนี้.-
1.ให้ พล.ช. ศึกษาและเตรียมการเพื่อก่อสร้างทางรถไฟจากภาคกลางไปภาคใต้
2.งานของ พล.ช. เป็นงานพิเศษ ดังนั้น จึงต้องวางแผนพัฒนากำลังพล ดังนี้
2.1จัดให้มีการฝึกศึกษาเกี่ยวกับงานก่อสร้างพิเศษ
2.2ให้กำลังพลสามารถปฏิบัติงานก่อสร้างขนาดใหญ่ได้
2.3จัดให้มีวิศวกรที่มีความรู้ และเพียงพอปฏิบัติงาน
3.งานก่อสร้างขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือพิเศษดังนั้นจะพิจารณาสนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดซื้อเครื่องมือให้ประมาณ 200-300 ล้านบาท
4.การพิจารณาขีดความสามารถของ พล.ช. ให้ดำเนินการดังนี้
4.1กำหนดความเร่งด่วนของงาน
4.2ให้มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะงาน
4.3ต้องให้สามารถปฏิบัติงานได้ผลจริง ๆ
5.เน้นย้ำให้ พล.ช. วางแผนในการพัฒนากำลังพลตั้งแต่บัดนี้
พล.ช. ได้ขออนุมัติกำหนดวันสถาปนา พล.ช. ต่อ ทบ. โดยกำหนดในวันที่ 22 พ.ย.32 เป็นวันสถาปนา พล.ช. และวันที่ 22 พ.ย. ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนา พล.ช. โดยมีเหตุผลดังนี้
1.เป็นวันที่ ผบ.ทบ. ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง พล.ช. ได้กรุณาไปตรวจเยี่ยมดูแลการจัดตั้งหน่วยระยะเริ่มแรกของการจัดตั้ง ซึ่งนับเป็นความกรุณาของผู้บังคับบัญชาชั้นสูงเป็นอย่างยิ่ง สมควรถือเป็นเหตุการณ์ที่ต้องระลึกถึงตลอดไป
2.เป็นวันที่ ผบ.ทบ. ได้กรุณาชี้แจงและสั่งการเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่ พล.ช. รวม 5 ประการ นอกจากนั้นท่านยังได้กรุณาลงนามในสมุดตรวจเยี่ยมหน่วยไว้มีใจความว่า การจัดตั้งกองพลทหารช่างคือก้าวสำคัญของการพัฒนาเหล่า ช. เพื่อกองทัพ ประเทศชาติ และประชาชน ซึ่งแนวทางปฏิบัติและคำขวัญที่ ผบ.ทบ. ได้กรุณาให้ไว้นั้น เป็นคำสั่งที่ข้าราชการใน พล.ช. ทุกนายจะต้องจดจำและยึดถือปฏิบัติให้สำเร็จตามเจตนารมณ์ของท่านให้จงได้
กองบัญชาการและกองร้อยกองบัญชาการกองพลทหารช่าง (บก.และ ร้อย.บก.พล.ช.) ทบ. กำหนดให้ บก.และ ร้อย.บก.พล.ช. มีที่ตั้งปกติชั่วคราวบริเวณค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 2 ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และที่ตั้งปกติถาวรบริเวณค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 2 ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เช่นเดียวกัน ซึ่ง บก.และ ร้อย.บก.พล.ช. ได้ใช้อาคารของ บก.และ ร้อย.บก.ช.11 เป็นที่ตั้งปกติชั่วคราว และได้เปิดทำการตั้งแต่ 5 ต.ค.32 เป็นต้นมา สำหรับที่ตั้งปกติถาวร พล.ช. ได้วางแผนที่จะก่อสร้างอาคาร บก.พล.ช. ในบริเวณค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ ๒ โดยเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพปี 33 จำนวน 13,100,000.- บาท แต่เนื่องจากบริเวณค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 2 มีพื้นที่จำกัด ไม่เกื้อกูลต่อการก่อสร้างอาคารโรงเรือนของ พล.ช. และ นขต.ในอนาคต พล.ช. จึงได้ขออนุมัติย้ายที่ตั้งปกติถาวรบริเวณค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 2 เป็นบริเวณสนามฝึกจารุมณี ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งแต่เดิมพื้นที่สนามฝึกจารุมณีเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้อนุมัติให้ ทบ. ใช้ประโยชน์เป็นสนามฝึก ตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา ต่อมา จังหวัดทหารบกราชบุรี (จทบ.ร.บ.) ได้ดำเนินการขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่เป็นเพื่อตั้งหน่วยทหาร พร้อมทั้งขอพื้นที่ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ทบ. ซึ่งกรมป่าไม้ไม่ขัดข้อง ทบ.จึงอนุมัติให้ พล.ช. มีที่ตั้งปกติถาวรบริเวณสนามฝึกจารุมณี ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ 1711/33 ลง 19 ก.ย.33 เรื่อง ย้ายที่ตั้งปกติถาวรของกองพลทหารช่าง เมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้าง พล.ช. จึงได้ดำเนินการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคาร บก.พล.ช. บริเวณสนามฝึกจารุมณี ตั้งแต่ 1 พ.ย.33 และได้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวในส่วนที่จะใช้ประโยชน์ได้พบว่ามีพื้นที่จำกัดเพียงประมาณ 120 ไร่ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างโรงเรือนของ บก.และ ร้อย.บก.พล.ช. กับ กองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ (พัน.ช.คมศ.) ได้ จึงได้พิจารณาย้ายที่ตั้ง บก.และ ร้อย.บก.พล.ช. มาอยู่บริเวณค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 2 ส่วน พัน.ช.คมศ. คงมีที่ตั้งปกติถาวรบริเวณสนามฝึกจารุมณีตามเดิม และเนื่องจากพื้นที่บริเวณค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 2 มีเนื้อที่จำกัดดังกล่าวข้างต้น จึงได้พิจารณาจุดก่อสร้างอาคาร บก.พล.ช. บริเวณพื้นที่ด้านหน้าค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 2 ตั้งแต่ 5 ม.ค.34 เป็นต้นมา
การจัดหน่วย กองพลทหารช่าง ประกอบด้วย
1. กองบัญชาการกองพลทหารช่าง และกองร้อยกองบัญชาการกองพลทหารช่าง นามย่อ "บก.และ ร้อย.บก.พล.ช."
2. กองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ นามย่อ "พัน.ช.คมศ."
3. กรมทหารช่างที่ 11 นามย่อ "ช.11" ประกอบด้วย
3.1 กองพันทหารช่างที่ 111 ยามย่อ " ช.พัน.111 "
3.2 กองพันทหารช่างที่ 602 นามย่อ " ช.พัน.602 "
3.3 กองร้อยทหารช่างสนับสนุนการก่อสร้าง นามย่อ " ช.ร้อย.115 "
3.4 กองร้อยทหารช่างรถยนต์บรรทุกเทท้าย นามย่อ " ช.ร้อย.14 "
3.5 กองร้อยทหารช่างสะพานผสม นายย่อ " ช.ร้อย.18 "
ภารกิจ
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประเทศ ในเรื่องการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เป็นงานพิเศษ เช่น การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก , อุโมงค ์, การส่งกำลังทางท่อ , สนามบิน , เขื่อน , เส้นทางคมนาคม ทั้งทางถนน ทางรถไฟ และทางน้ำ , คลังน้ำมันขนาดใหญ่ และงานพิเศษอื่น ๆ
ขีดความสามารถ
1. วางแผน ประสานงาน กำกับดูแลและดำเนินการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอันได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก, สนามบิน, อุโมงค์, การส่งกำลังทางท่อ, เส้นทางคมนาคม (ทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ), คลังน้ำมันขนาดใหญ่ และงานพิเศษอื่น ๆ
2. สามารถแบ่งมอบงานหน่วย ช. และวัสดุอุปกรณ์แก่โครงการก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งให้คำแนะนำช่วยเหลือทางเทคนิค แก่หน่วยที่ดำเนินการ
3. ควบคุมบังคับบัญชาหน่วยที่ได้รับการบรรจุมอบ หรือหน่วยขึ้นสมทบระดับ กรม ช. ได้ 2 - 4 กรม ทั้งในด้านเทคนิค แกหน่วยที่ดำเนินการ
4. ดำเนินการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของหน่วยได้อย่างจำกัด
5. กำกับดูแลสัญญาก่อสร้าง และการจ้างแรงงาน ตลอดจนควบคุมทางเทคนิค และมาตรฐานการก่อสร้างพิเศษตามที่ได้รับมอบ
ตราสัญลักษณ์ เป็นรูปหนุมาน มือขวาถือจักร มือซ้ายถือตรี บรรจุอยู่ในวงจักร หมายถึง การพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาให้บรรลุภารกิจทั้งปวง ซ้อนทับรูปเครื่องหมายทหารช่างใต้วงจักรเป็นแถบปลายสะบัดทั้งสองข้าง บรรจุในส่วนด้านล่างของตัวสมอ ในแถบมีคำว่า " กองพลทหารช่าง " (ไม่จำกัดสี และขนาด)
รายนาม ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน
1.พล.ต.นิวัตร สายอุบล 1 ต.ค.32 - 30 ก.ย.33 2
2.พล.ต.ธงชัย เชื้อสนิทอินทร์ 1 ต.ค.33 - 31 มี.ค.35
3.พล.ต.สมศักดิ์ ชุติมันต์ 1 เม.ย.35 - 30 ก.ย.37
4.พล.ต.อาภรณ์ กุลพงษ์ 1 ต.ค.37 - 30 ก.ย.39
5.พล.ต.บุญเลิศ ประทุมรัตน์ 1 ต.ค.39 - 30 ก.ย.41
6.พล.ต.สุภาษิต วรศาสตร์ 1 ต.ค.41 - 30 มี.ค.43
7.พล.ต.ไกรศิริ บุรณศิริ 1 เม.ย.43 - 31 มี.ค.47
8.พล.ต.นพพร เจริญศิริ 1 เม.ย.47
๙.พล.ต.ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ