ประวัติความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงตั้งกองทหารฝึกหัดอย่างฝรั่งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานช่างเพื่อช่วยเหลือการรบต่างๆ เช่น สร้างสะพาน เป็นต้น ใน พ.ศ.๒๔๔๕ ได้ทรงจัดตั้งกองทหารช่างหลายกอง และหนึ่งในจำนวนกองทหารช่างนั้น ได้แก่ กองลูกมือ กรมจเรทหารช่าง ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันทหารช่างที่ ๖ (ช.พัน.๖) ขึ้นการบังคับบัญชากับศูนย์ฝึกทหารช่าง กรมทหารช่าง ปี พ.ศ.๒๔๙๙ ช.พัน.๖ เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันทหารช่างที่ ๔ (ช.พัน.๔) และในปีต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ช.พัน.๖ อีกครั้ง ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เรียกชื่อเป็น กองพันทหารช่างที่ ๖ กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ (ช.พัน.๖ ช.๑ รอ.) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้เปลี่ยนนามหน่วยจาก ช.พัน.๖ ช.๑ รอ. เป็น กองพันทหารช่างที่ ๕๒ กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ ( ช.พัน.๕๒ ช.๑ รอ.)
ปัจจุบัน ช.พัน.๕๒ ช.๑ รอ. เป็นหน่วยทหารช่างสนามของกองทัพภาคที่ ๑ ขึ้นการบังคับบัญชากับกรมทหารช่างที่๑ รักษาพระองค์
กองพันทหารช่างที่ 52 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 มี.ค.2524 ณ พระที่นั่งชุมสาย สนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
การดำเนินการจัดตั้งหน่วย
ปี 2495 กองลูกมือ กรมจเรทหารช่าง เปลี่ยนนามหน่วยเป็น ช.พัน.6 ตามคำสั่ง กห. พิเศษ ที่ 13/4669 ลง 20 มี.ค.95 มี ร้อย.ช.สนาม 2 กองร้อย กับ 1 ร้อย.บก. และบริการ ขึ้นการบังคับบัญชากับศูนย์ฝึกทหารช่าง กรมการทหารช่าง
ปี พ.ศ.2479 ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองร้อยฝึก ขั้นต้นขึ้นอีก 1 กองร้อย ตามคำสั่ง ทบ. 76/9727 ลง 29 พ.ค.97
ปี พ.ศ.2498 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดอีก ประกอบด้วย 4 กองร้อย ช.สนาม 1 ร้อย.บก. และบริการ กับ 1 กองร้อยฝึกขั้นต้นตามคำสั่ง ทบ.ที่ 188/15133 ลง 21 ก.ค.98 และในปีเดียวกัน ช.พัน.6 ร้อย.2 ได้แปรสภาพเป็น ช.พัน.4 ร้อย.3 ที่ตั้งคงอยู่ที่เดิม และฝากการบังคับบัญชา กับ ช.พัน.6 ตามคำสั่ง ทบ. ที่ 178/1405 ลง 8 ก.ค.98 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหน่วยเป็น ช.พัน.3 ร้อย.3 และได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ชลบุรี ใช้ชื่อใหม่ว่า ช.พัน.2 ร้อย.1
ช.พัน.6 สมัยนั้นจึงคงเหลือ 3 ร้อย.ช.สนาม 1 ร้อย.บก.และบริการ กับอีก 1 กองร้อยฝึกขั้นต้น ขึ้นการบังคับบัญชากับ ช.1 รอ. ธนบุรี แต่ฝากการบังคับบัญชาไว้กับ กช. และได้ตั้ง ช.พัน.6 ร้อย.2 ขึ้นแทนกองร้อยที่แปรสภาพ
ปี พ.ศ.2499 ช.พัน.6 เปลี่ยนนามหน่วยเป็น ช.พัน.4 ตามคำสั่ง ทบ. ที่ 8/354 ลง 6 ม.ค.99 และให้ ช.พัน.4 ร้อย.1 ไปขึ้นสมทบกับ ผส.5 จ.สงขลา ตามคำสั่ง ทบ.ที่ 721/2376 ลง 10 พ.ย.88 ยกเลิกร้อยฝึกขั้นต้น โดยส่งพลทหารใหม่ไปฝึกที่ค่ายธนรัตน์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
ปี พ.ศ.2500 ได้เปลี่ยนนามหน่วยจาก ช.พัน.4 เป็น ช.พัน.6 อีกครั้งตามคำสั่ง ทบ. 196/15009 ลง 3 ส.ค.2500
ปี พ.ศ.1519 เรียกชื่อเป็น ช.พัน.6 ช.1 รอ. ตามแจ้งความ ทบ. ลง 30 ม.ค.19 เรื่อง การเรียกชื่อหน่วยทหารรักษาพระองค์
ปี พ.ศ.2520 เปลี่ยนนามหน่วยจาก ช.พัน.6 ช.1 รอ. เป็น ช.พัน.52 ช.1 รอ. ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ 80/20 ลง 30 ส.ค.20
ปี พ.ศ.2520 โอนเครื่องมือต่าง ๆ ใน มว.สะพาน ร้อย.บก.และบริการ ให้ รร.ช.กช. และ มว.สะพาน สลายตัวไป
ปี พ.ศ.2521 ร้อย.1 ช.พัน.52 ช.1 รอ. จ.สงขลา โอนหน่วยเป็น ร้อย.1 ช.พัน.5 สบทบ. ผส.5 ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ 244/25 ลง 16 ก.ย.25 ตั้งแต่ 1 ต.ค.25 เป็นต้นมา ดังนั้น ช.พัน.52 ช.1 รอ. จึงเป็น พัน.ช.สนาม ของกองทัพภาค ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
วันสถาปนาหน่วย ช.พัน.52 ช.1 รอ. ยึดถือวันที่ 20 มีนาคม 2495 เป็นวันสถาปนาหน่วย
การเป็นหน่วยรักษาพระองค์ ตามแจ้งความกองทัพบก ลง 30 ม.ค.19 เรื่อง การเรียกชื่อหน่วยทหารรักษาพระองค์ ความว่าหน่วยที่ขึ้นตรงต่อหน่วยรักษาพระองค์นั้น จะเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ ตามไปด้วย แต่เมื่อใดพ้นจากการเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อหน่วยรักษาพระองค์ไปแล้ว ก็จะพ้นจากการเป็นหน่วยรักษาพระองค์เช่นกัน ดังนั้น ช.พัน.6 ซึ่งขึ้นตรงต่อกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ จึงเป็นหน่วยรักษาพระองค์ เรียกชื่อหน่วยเป็น ช.พัน.6 ช.1 รอ. และคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 80/20 ลง 30 ส.ค.20 ได้เปลี่ยนนามหน่วยจาก ช.พัน.6 ช.1 รอ. เป็น ช.พัน.52 ช.1 รอ.
ภารกิจ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรบของกองทัพบก โดยการปฏิบัติงานช่างทั่วไป และเพิ่มเติมประสิทธิภาพหน่วยทหารช่างของกองพลเมื่อต้องการ
ขีดความสามารถ
1. วางแผนอำนวยการ และกำกับดูแล ในหน้าที่ฝ่ายอำนวยการช่างในเรื่องการปฏิบัติงานช่างทั้งหมด
2. การลาดตระเวนทางการช่าง
3. สร้างซ่อมแซม และบำรุงถนนที่ลุยข้าม ท่อน้ำ สะพานเครื่องหนุนมั่น เครื่องกีดขวาง (รวมทั้งดงระเบิด ) ที่บังคับการ
และที่ตั้งการตั้งรับ
4. การทำลายรื้อถอนเครื่องกีดขวาง รวมทั้งดงระเบิด
5. จัดการบริการส่งกำลังสายช่าง รวมทั้งแหล่งน้ำทั้ง 4 แหล่ง
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยของกองทัพบก อาจแบ่งมอบให้กับหน่วยรอง ได้ตามความเหมาะสม
รายนามผู้บังคับหน่วยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
๑. พ.ท. พิธรรม แก้วดุสิต พ.ศ.๒๔๙๕ - พ.ศ.๒๔๙๕
๒. พ.ท. อุปถัมภ์ ประถมภัฏ พ.ศ.๒๔๙๕ - พ.ศ.๒๔๙๕
๓. พ.ท. บุญฤทธิ์ เนียมทันต์ พ.ศ.๒๔๙๕ - พ.ศ.๒๔๙๘
๔. พ.ท. สถิต พงษ์ไสว พ.ศ.๒๔๙๘ - พ.ศ.๒๕๐๔
๕. พ.ท. จรัญ สัมมาทัต พ.ศ.๒๕๐๔ พ.ศ.๒๕๐๖
๖. พ.ท. เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์ พ.ศ.๒๕๐๖ - พ.ศ.๒๕๐๘
๗. พ.ท. เสมอ สุขสมสถาน พ.ศ.๒๕๐๘ - พ.ศ.๒๕๑๒
๘. พ.ท. ชัชชม กันหลง พ.ศ.๒๕๑๒ - พ.ศ.๒๕๑๓
๙. พ.ท. สุชิน สุขหมื่น พ.ศ.๒๕๑๓ - พ.ศ.๒๕๒๒
๑๐. พ.ท. ศักดิ์ เขียวสะอาด พ.ศ.๒๕๒๒ - พ.ศ.๒๕๒๕
๑๑. พ.ท. เริงศักดิ์ กลั่นสุคนธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ - พ.ศ.๒๕๒๗
๑๒.พ.ท. วีรพงศ์ พันธุมสุต พ.ศ.๒๕๒๗ - พ.ศ.๒๕๓๑
๑๓.พ.ท. อมรเทพ ศศิวรรณพงศ์ พ.ศ.๒๕๓๑-พ.ศ.๒๕๓๓
๑๔. พ.ท. นพพร เจริญศิริ พ.ศ.๒๕๓๓ - พ.ศ.๒๕๓๕
๑๕.พ.ท. ธนดล สุรารักษ์ พ.ศ.๒๕๓๕ - พ.ศ.๒๕๓๖
๑๖. พ.ท. กิติศักดิ์ มาระเนตร์ พ.ศ.๒๕๓๖ - พ.ศ.๒๕๔๐
๑๗. พ.ท. เจษฎา เปรมนิรันดร พ.ศ.๒๕๔๐ - พ.ศ.๒๕๔๔
๑๘. พ.ท. โรม ศิริวรรณ พ.ศ.๒๕๔๔ - พ.ศ.๒๕๔๘
๑๙. พ.ท. ไพรัช โอฬารไพบูลย์ พ.ศ.๒๕๔๘ - ถึงปัจจุบัน