ประวัติหน่วย
กองพันทหารช่างที่ ๖๐๒ เดิมใช้นามหน่วยว่า กองพันทหารช่างก่อสร้างที่ ๖๐๒ เป็นกองพันทหารช่างที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกองทัพบก ( เฉพาะ ) ที่ ๒๕๙/๒๕ เรื่อง การจัดตั้งกองพันทหารช่างก่อสร้าง ลง ๒๒ ก.ย.๒๕ ซึ่งจัดตั้งขึ้นพร้อม ๆ กันกับการจัดตั้ง พัน ช.ก่อสร้าง ให้แก่ ทภ. ต่าง ๆ คือ ช.พัน.๒๐๒ , ช.พัน.๓๐๒ และ ช.พัน.๔๐๒ ให้แก่ ทภ.๒ , ทภ.๓ และ ทภ.๔ ตามลำดับ โดย ช.พัน.๖๐๒ นั้นได้รับมอบภารกิจให้การสนับสนุน บก.ทหารสูงสุด ( กรป.กลาง ) ในการปฏิบัติงานพัฒนาประเทศ ตั้งแต่เริ่มการจัดตั้งหน่วยกองพันทหารช่างทั้ง ๔ กองพัน ที่จัดตั้งขึ้นนั้นใช้ อจย.๕ ๓๑๕ ลง ๒๑ พ.ย.๒๓ เหมือนกัน แต่ ช.พัน.๖๐๒ ประกอบด้วย บก.พัน กับอีก ๓ ร้อย ช.ก่อสร้าง ในขณะที่กองพันอื่น ๆ ประกอบด้วย บก.พัน กับอีก ๒ ร้อย ช.ก่อสร้าง เท่านั้น และกำลังพลที่บรรจุมอบให้แก่กองพันทหารช่างทั้ง ๔ กองพัน ส่วนใหญ่ได้มาจากกำลังพลของ กอง ช.ก่อสร้างที่ ๓๐๑ , ๓๐๒ , ๓๐๓ ที่ได้ยุบหน่วยไปแล้ว และได้แปรสภาพมาเป็นหน่วยรองของ ช.พัน.๒๐๒ , ๓๐๒ , ๔๐๒ และ ๖๐๒ นั่นเอง สำหรับยุทโธปกรณ์นั้น บก.ทหารสูงสุด ( กรป.กลาง ) มอบให้ ทบ. โดยถือว่ายุทโธปกรณ์ที่เคยให้หน่วยใดยืมใช้ก็มอบให้หน่วยนั้น ๆ ไป ยกเว้น ช.พัน.๖๐๒ ยังคงใช้วิธียืมยุทโธปกรณ์มาจาก บก.ทหารสูงสุด ( กรป.กลาง ) เพื่อใช้ปฏิบัติงานต่อไปจนกว่า ทบ.จะเรียก ช.พัน.๖๐๒ คืนกลับมาอยู่กับ ทบ. จึงจะมอบยุทโธปกรณ์ให้กับ ทบ. เป็นสิทธิ์ขาด
การแปรสภาพหน่วย
บก.ช.พัน.๖๐๒ จัดกำลังพลส่วนใหญ่มาจาก บก.กอง ช.ก่อสร้างที่ ๓๐๒ ซึ่งยุบไปแล้ว และมีกำลังพลบรรจุใหม่บางส่วน ซึ่งที่ตั้งชั่วคราวครั้งแรกนั้นอยู่ที่ตึก ๖๐๑ สนามเสือป่า ต่อมาได้ย้ายมาตั้งชั่วคราวที่อาคาร ๗๐๑ กรป.กลาง ต.อนุสาวรีย์ บางเขน กทม. เมื่อ ๖ ก.ค.๒๖ ย้ายเข้ามาตั้ง บก.ชั่วคราวที่ ตอน ช.๙๓ เมื่อ ๒ พ.ย.๓๓ ย้ายเข้าที่ตั้งปกติ เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๓๕
ร้อย ช.ก่อสร้างที่ ๑ แปรสภาพมาจากหน่วย ช.ก่อสร้างที่ ๓ กอง ช.ก่อสร้างที่ ๓๐๑
ร้อย ช.ก่อสร้างที่ ๒ แปรสภาพมาจากหน่วย ช.ก่อสร้างที่ ๔ กอง ช.ก่อสร้างที่ ๓๐๒ สำหรับ ช.ก่อสร้างที่ ๔ นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ ม.ค.๑๔ โดยการแยกกำลังพลมาจากหน่วย ช.ก่อสร้างที่ ๑ ของ กอง ช.ก่อสร้าง เมื่อจัดตั้งหน่วยขึ้นแล้ว หน่วย ช.ก่อสร้างที่ ๔ จึงยังคงเป็นหน่วยรองของ ช.ก่อสร้าง มีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ที่ อ.พระแสง จ.สุราษฎ์ ฯ ต่อมาย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎ์ ฯ เพื่อสร้างถนนรอบเกาะสมุย จนในที่สุดย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่ บ้านปู่กู่ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน และต่อมาย้ายไปอยู่ที่ บ.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ต่อมาย้ายที่ตั้งชั่วคราวไปหน่วยงานดอยสันยาว บ.ปางน้ำถุ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และฝากการบังคับบัญชากับ กรม.๑๑ แล้วย้ายที่ตั้งไปหน่วยงานดอยผากิ่ง บ.แม่ทรายคำ อ.เมือง จ.ลำปาง เมื่อ ก.ค.๒๙ ย้ายหน่วยกลับที่ตั้งปกติ ค่ายภาณุรังษีส่วนที่ ๒ อ.เมือง จ.ราชบุรี ใช้อาคารของ ตอน ช.๙๓ เดิมจนถึงปัจจุบันนี้ได้ย้ายเข้าที่ตั้งปกติถาวรของ ช.พัน.๖๐๒ เรียบร้อยแล้ว
ร้อย ช.ก่อสร้างที่ ๓ แปรสภาพมาจากหน่วย ช.ก่อสร้างที่ ๕ กอง ช.ก่อสร้างที่ ๓๐๓ ตั้งแต่ มี.ค.๒๘
ร้อย ช.คม.และ ซบร. เพิ่งได้รับการอนุมัติจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๕ โดยใช้งบเสริมสร้างกำลังกองทัพปี ๓๕
การจัดตั้งหน่วย
ช.พัน.๖๐๒ จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกองทัพบก ( เฉพาะ ) ที่ ๒๕๙/๒๕ เรื่อง การจัดตั้งกองพันทหารช่างก่อสร้าง ลง ๒๒ ก.ย.๒๕ ใช้ชื่อเต็มว่า กองพันทหารช่างก่อสร้างที่ ๖๐๒ ใช้นามหน่วยย่อว่า ช.พัน.๖๐๒ ใช้เครื่องหมายสังกัด ช / ๖๐๒ ตาม อจย.หมายเลข ๕ ๓๑๕ ( ลง ๒๑ พ.ย.๒๓ ) ซึ่งประกาศใช้ตามคำสั่ง ทบ. ( เฉพาะ ) ที่ ๑๖๕/๒๔ เรื่อง อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ ลง ๙ พ.ย.๒๔ การจัดตั้งหน่วย ช.พัน.๖๐๒ ประกอบด้วย
กองบังคับการกองพัน
จัดตาม อจย.หมายเลข ๕ ๓๑๖ ( ๒๑ พ.ย.๒๓ ) ใช้นามหน่วยว่า กองบังคับการกองพันทหารช่างก่อสร้างที่ ๖๐๒ นามหน่วยย่อใช้ บก.ช.พัน.๖๐๒
กองร้อยทหารช่างก่อสร้าง ๓ กองร้อย
จัดตาม อจย.หมายเลข ๕ ๓๑๗ ( ๒๑ พ.ย.๒๓ ) ใช้นามหน่วยว่า กองร้อยทหารช่างก่อสร้างที่ ๑, ๒ และ ๓ กองพันทหารช่างก่อสร้างที่ ๖๐๒ นามหน่วยย่อใช้ ช.พัน.๖๐๒ ร้อย ๑, ๒ และ ๓ ตามลำดับ
ใน ๒ พ.ย.๒๖ ทบ. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พัน.ช.ก่อสร้าง ที่จัดตั้งขึ้นตาม อจย.๕ - ๓๑๔ มีขีดความสามารถจำกัด จึงได้ปรับการจัดหน่วย พัน.ช.ก่อสร้าง ตามคำสั่ง ทบ. ( เฉพาะ ) ที่ ๓๑๑/๒๖ ลง ๒ พ.ย.๒๖ ใหม่ โดยใช้ อจย.๕ ๑๑๕ ( ๒๙ พ.ย.๑๙ ) แทน และให้บรรจุกำลังพลตามอัตราลด กองพันที่ปรับใหม่มี ช.พัน.๒๐๒, ๓๐๒, ๔๐๒ และ ๖๐๒ ซึ่งประกอบด้วย บก. และ ร้อย บก. ใช้ อจย.๕ - ๑๑๖, ร้อย ช.ก่อสร้างใช้ อจย.๕ - ๑๑๗ และ ร้อย.ช.เครื่องมือและซ่อมบำรุง ใช้ อจย.๕ ๑๑๘
เนื่องจาก ช.พัน.๖๐๒ ยังไม่ได้รับงบประมาณการจัดตั้งหน่วย ยังคงใช้อาคาร ๗๐๑ กรป.กลาง เป็นที่ตั้งชั่วคราวอยู่ ช.พัน.๖๐๒ จึงได้จัดเสนอโครงการจัดตั้งหน่วยใหม่ในปี ๒๙ ตามอนุมัติ รมว.กห. ท้ายบันทึกข้อความ สวป.กห. ที่ ๑๑๕๖/๒๗ ลง ๑๕ มี.ค.๒๘ เรื่อง ขออนุมัติโครงการจัดตั้งหน่วยขึ้นใหม่ ปี ๒๘ ได้อนุมัติโครงการจัดตั้ง ช.พัน.๖๐๒ ซึ่งเป็นโครงการ ๔ ปี เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ ๒๕๓๒ วงเงิน ๗๒๖,๓๖๙,๓๘๙.- บาท หลังจากอนุมัติแล้ว ช.พัน.๖๐๒ ได้ขอสนับสนุนงบประมาณในปี ๒๙ ซึ่งเป็นปีแรก เป็นเงิน ๒๒๙,๕๗๑,๐๔๔.- บาท แต่ กรป.กลาง ไม่สามารถสนับสนุนได้ทั้งหมด กรป.กลาง พิจารณาแล้วเห็นควรให้ ช.พัน.๖๐๒ เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเท่าที่จำเป็นเร่งด่วนผ่าน กกช.กรป.กลาง เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณจาก บก.ทหารสูงสุด ประจำปี ๓๐ ต่อไป ซึ่งในที่สุดใช้งบประมาณตามโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพของกองทัพบกในการจัดตั้งหน่วย
ปัจจุบัน กองพันทหารช่างก่อสร้างที่ ๖๐๒ เปลี่ยนนามหน่วยใหม่เป็น กองพันทหารช่างที่ ๖๐๒ โดยตัดคำว่า ก่อสร้าง ออก แก้ไขตามคำสั่ง ทบ. ( เฉพาะ ) ลับที่ ๙๖/๓๙ ลง ๙ พ.ค.๓๙ เรื่อง เปลี่ยนนามหน่วยทหาร ส่วนนามย่อคงใช้ ช.พัน.๖๐๒ เหมือนเดิม
ภารกิจ :: สร้างและฟื้นฟูถนน สนามบิน ระบบทาง - ท่อ โครงสร้างและสาธารณูปโภค อีกทั้งช่วยในการปฏิบัติการกู้ภัยฉุกเฉิน
ขีดความสามารถ
ประการที่ ๑ สร้างหรือฟื้นฟูเส้นทางคมนาคม สะพาน สนามบิน และที่ขึ้น - ลง สำหรับเครื่องบินปีกหมุน
ประการที่ ๒ สร้างอาคาร โครงสร้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง
ประการที่ ๓ ขยายทางรถไฟ สะพานรถไฟ และท่าเรือได้อย่างจำกัด
ประการที่ ๔ ทำผิวบิทูเมนได้อย่างจำกัด
ประการที่ ๕ ทำการก่อสร้างเพื่อป้องกันขนาดย่อม
ที่ตั้งหน่วย
ซึ่งที่ตั้งชั่วคราวครั้งแรกนั้นอยู่ที่ตึก ๖๐๑ สนามเสือป่า ต่อมาได้ย้ายมาตั้งชั่วคราวที่อาคาร ๗๐๑ กรป.กลาง ต.อนุสาวรีย์ บางเขน กทม. เมื่อ ๖ ก.ค.๒๖ ย้ายเข้ามาตั้ง บก.ชั่วคราวที่ ตอน ช.๙๓ เมื่อ ๒ พ.ย.๓๓ ย้ายเข้าที่ตั้งปกติ เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๓๕ คือ ค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ ๒ (เขากรวด ปัจจุบันเป็นค่ายบุรฉัตร ) ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี
สัญลักษณ์หน่วย :: กองพันทหารช่างที่ ๖๐๒ เป็นรูปเครื่องหมายเหล่าทหารช่างประกอบด้วย สมอมีพลั่ว และขวานไขว้ ตรงกลางเป็นรูปค้างคาวสีดำล้อมรอบด้วยเฟืองจักรกลที่บ่งบอกความหมายดังนี้
เครื่องหมายสมอมีพลั่วและขวานไขว้ หมายถึง เหล่าทหารช่าง
วงเฟืองจักรกล หมายถึง หน่วยพัฒนา ซึ่งเดิมนั้น ช.พัน.๖๐๒ เป็นหน่วยที่สนับสนุน กรป.กลาง ในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด
รูปค้างคาวสีดำตรงกลาง มีความหมาย ๒ ประการ คือ
ประการที่ ๑ บ่งบอกความหมายถึงเป็นหน่วยที่คำนึงถึงภารกิจเป็นหลัก สามารถที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ประการที่ ๒ ช.พัน.๖๐๒ เป็นหน่วยทหารช่างของ ทบ. แต่ใช้สนับสนุน บก.ทหารสูงสุด (กรป.กลาง) ในการพัฒนาประเทศเสมอมา จึงมีสถานภาพสองอย่างในขณะเดียวกัน เปรียบเสมือนค้างคาว ซึ่งเป็นทั้งนกและหนูอยู่ในตัวเดียวกัน
รายนามผู้บังคับหน่วยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
๑.พ.อ.พินิจ ศุขสายชล ๑๐ พ.ย.๒๕ - ๑๕ ก.พ.๓๐
๒.พ.อ.วัชระ รังสฤษฎ์โยธิน ๑๖ ก.พ.๓๐ - ๑๑ ก.พ.๓๓
๓.พ.อ.ยงยุทธ เมฆรัต ๑๒ ก.พ.๓๓ - ๑๔ ส.ค.๓๕
๔.พ.อ.สมมารถ ปรุงสุวรรณ์ ๒๖ ม.ค.๓๖ - ๒๗ ก.ค.๓๘
๕.พ.อ.สุเทพ ปริยเอกสุต ๒๘ ก.ค.๓๘ - ๑๕ ก.พ.๔๒
๖.พ.อ.เกรียงไกร ไกรลาศ ๑๖ ก.พ.๔๒ - ๑๖มิ.ย.๔๖
๗.พ.อ.รัฐนันท์ พลอยบ้านแพ้ว ๑๗ มิ.ย.๔๖ - ๔ส.ค.๔๗
๘.พ.อ.มงคล รัตนจันทร์ ๕ ส.ค.๔๗
๙.พ.อ.จรัญรัตน์ พงษ์สุวรรณ