ลำดับ |
ชื่อค่ายทหาร |
หน่วยทหาร |
จ.ที่ตั้ง |
๑ ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙ ๑๐ ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙ ๑๐. ๑๑. ๑๒. |
กองทัพภาคที่ ๒
ค่ายสุรนารี ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ค่ายวีรวัฒน์โยธิน ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ค่ายศรีพัชรินทร์ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ ค่ายสมเด้จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ค่ายประเสริฐสงคราม ค่ายบดินทรเดชา ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ค่ายพระยอดเมืองขวาง ค่ายกฤษณ์สีวะรา ค่ายศรีสองรัก ค่ายสีหราชเดโชไชย กองทัพภาคที่ ๓ ค่ายจิรประวัติ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ค่ายวชิรปราการ ค่ายพ่อขุนผาเมือง ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ค่ายเม็งรายมหาราช ค่ายขุนเจืองธรรมมิกราช ค่ายขุนจอมธรรม ค่ายพิชัยดาบหัก ค่ายสุริยพงษ์ ค่ายพระยาไชยบูรณ์ ค่ายกาวิละ ค่ายพิชิตปรีชากร ค่ายเทพสิงห์ ค่ายโสณบัณฑิตย์ กองทัพภาคที่ ๔ ค่ายวชิราวุธ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ค่ายรัษฎานุประดิษฐ์ ค่ายวิภาวดีรังสิต ค่ายรัตนรังสรรค์ ค่ายรัตนพล ค่ายพระปกเกล้าฯ ค่ายอิงคยุทธบริหาร ค่ายสิรินธร ค่ายอภัยบริรักษ์ |
ทภ.๒, มทบ.๒๑, พล.ร.๓, บชร.๒, ร.๓ พัน.๒, ม.พัน.๘ พล.ร.๒, ร.๑๒๑, ร.๑๒๒, ร.๒๓ ป.พัน.๓ จทบ.ส.ร., ร.๒๓.พัน.๓ จทบ.บ.ร., ร.๒๓ พัน.๔ มทบ.๒๓, ม.๖ มทบ.๒๒, ร.๖, ป.พัน.๖ พล.ร.๖, ป.๖ ม.พัน.๒๑, ช.พัน๖ ส.พัน.๖ จทบ.ร.อ., ร.๑๖ พัน.๑, ร้อย.บ.พล.ร.๖ ร.๑๖, ร.๑๖ พัน.๒, ร.๑๖ พัน.๓ มทบ.๒๔, ร.๑๓, ป.พัน.๑๓ จทบ.น.พ., ร.๓ พัน.๓ จทบ.ส.น., ร.๓, ร.๓ พัน.๑ จทบ.ล.ย., ร.๘ พัน.๑ ร.๘, ร.๘ พัน.๓, ป.พัน.๘ มทบ.๓๑., ร.๔, ร.๔ พัน.๒, ช.พัน.๔ ทภ.๓, จทบ.พ.ล., พล.ร.๔ บชร.๓, ม.พัน.๙ ช.๓, ช.พัน.๓๐๒, พล.พัฒนา ๓, รพศ.๔ จทบ.ต.ก., ร.๔ พัน.๔ จทบ.พ.ช., ม.๓, ช.พัน.๘, พล.ม.๑ มทบ.๓๒, ร.๑๗ พัน.๒ จทบ.ช.ร., ร.๑๗, ร.๑๗ พัน.๑ จทบ.พ.ย., ร.๑๗, ร.๑๗ พัน.๑, ป.พัน.๑๗ ร.๑๗ พัน.๔ จทบ.อ.ต., ม.๒ จทบ.น.น., ม.พัน.๑๐ ม.พัน.๑๒ มทบ.๓, ร.๗, ร.๗ พัน.๑ ร.๗ พัน.๒ ร.๗ พัน.๔ ร.๗ พัน.๕ ทภ.๔, มทบ.๔๑, ร.๑๕, ป.๕ ป.พัน.๑๐๕ จทบ.ท.ส., พล.ร.๕, บชร.๔ ร.๑๕ พัน.๔ จทบ.ช.พ., ร.๒๕ พัน.๑, ป.พัน.๒๕ จทบ.ส.ฎ., ร.๒๕, ร.๒๕ พัน.๓ ร.๒๕ พัน.๒ มทบ.๔๒, ร.๕, ร.๕ พัน.๑ พล.พัฒนา ๔ ป.พัน.๕ จทบ.ป.น., ร.๕ พัน.๒ ร.๕ พัน.๓ ช.พัน.๔๐๑, ช.พัน.๔๐๒ |
น.ม. น.ม. ส.ร. บ.ร. ข.ก. อ.บ. ร.อ. ร.อ. ย.ส. อ.ด. น.พ. ส.น. ล.ย. ข.ก. น.ว. พ.ล. พ.ล. พ.ล. ต.ก. พ.ช. ล.ป. ช.ร. พ.ย. พ.ย. อ.ต. น.น. พ.ร. ช.ม. ช.ม. ม.ส. ม.ส. น.ศ. น.ศ. ต.ง. ช.พ. ส.ฎ. ร.น. ส.ข. ส.ข. ส.ข. ป.น. ป.น. พ.ท. |
การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร)
บุคคลที่มีสัญชาติไทยเมื่ออายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ตามภูมิลำเนาของบิดา ถ้าบิดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของมารดา ถ้าบิดา มารดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกิน ตามภูมิลำเนาของผู้ปกครองและเมื่อลงบัญชีทหารกองเกินเสร็จแล้วจะได้รับใบสำคัญ (แบบ สด.๙) โดยนำหลักฐานไปลงบัญชีทหารดังนี้
๑. บัตรประจำตัวประชาชน
๒. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๓. สูติบัตร
(ถ้ามี)
การรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร
บุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหารฯ)ไว้แล้ว เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) ภายในปี พ.ศ.นั้น ๆ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับหมายเรียกแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และนำหลักฐานไปยืนต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้
๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๒.
บัตรประจำตัวประชาชน
การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล
บุคคลซึ่งเป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุน เมื่อได้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ต้องไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ในบัญชีทหารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยนำหลักฐานไปยื่นต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้
๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘)
๒. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล
๓. บัตรประจำตัวประชาชน
๔.
สำเนาทะเบียนบ้าน
ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) และหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) แทนฉบับที่ชำรุดหรือสูญหาย
เมื่อใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ชำรุดหรือสูญหายให้ผู้ถือใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) แจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ท้องที่ภูมิลำเนาทหาร โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้
๑. บัตรประจำตัวประชาชน
๒. ใบรับแจ้งเอกสารหาย
๓.
รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น ขนาด ๓x๔
ซม. จำนวน ๓ รูป กรณีขอหนังสือ สำคัญ (แบบ
สด.๘)
การแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหาร
บุคคลใดย้ายไปอยู่ที่ใหม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักฐาน และมีความประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ให้ยื่นคำร้องแจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่ โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้
๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘)
๒. บัตรประจำตัวประชาชน
๓.
สำเนาทะเบียนบ้าน
การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารหรือการเกณฑ์ทหาร
๑. การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูบิดา มารดา
บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร เพื่อเลี้ยงดูบิดา มารดา ซึ่งไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผันดังนี้
๑.๑ ถ้ามีบุตรต้องเกณฑ์ทหารพร้อมกันหลายคน ให้บิดา มารดาเลือกเพียงคนเดียว
๑.๒ บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ก่อนวันเกณฑ์ทหารไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
๑.๓ บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารต้องร้องขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกอีกครั้งหนึ่ง
๑.๔ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงการขอผ่อนผัน
๑.๔.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.9)
๑.๔.๒ หมายเรียก (แบบ สด.35)
๑.๔.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/บิดาหรือมารดา
๑.๔.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
๑.๔.๕ หลักฐานที่แสดงว่า บิดาหรือมารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
๑.๔.๖ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง
๒. การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูบุตร
บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ ซึ่งบุตรยังหาเลี้ยงชีพไม่ได้ หรือไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผันดังนี้
๒.๑ ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง อำเภอ ก่อนถึงวันเกณฑ์ทหาร/ตรวจเลือกทหารไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
๒.๒ ร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกทหาร ในวันตรวจเลือกทหาร/วันเกณฑ์ทหารอีกครั้งหน้า
๒.๓ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันมีดังนี้
๒.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๒.๓.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๒.๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/ภรรยา
๒.๓.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
๒.๓.๕ ใบสำคัญการสมรส/ทะเบียนสมรส
๒.๓.๖ ใบมรณบัตรของภรรยา (ถ้ามี)
๒.๓.๗ หลักฐานที่แสดงว่าภรรยาไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
๒.๓.๘ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
๓. การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูพี่หรือน้อง
บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูพี่หรือน้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ซึ่งบิดา มารดาตาย ทั้งนี้พี่หรือน้องหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผัน ดังนี้
๓.๑ ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอก่อนถึงวันตรวจเลือก/วันเกณฑ์ทหารไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
๓.๒ ร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก (วันเกณฑ์ทหาร) อีกครั้งหนึ่ง
๓.๓ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันมีดังนี้
๓.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๓.๓.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๓.๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/พี่/น้อง
๓.๓.๔ ใบสูติบัตร/ใบเกิด ของพี่หรือน้อง
๓.๓.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน
๓.๓.๖ ใบมรณบัตรของบิดาหรือมารดา
๓.๓.๗ หลักฐานที่แสดงว่า บิดา มารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
๓.๓.๘ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง
๔. การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อศึกษาภายในประเทศ
การผ่อนผันเนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษาภายในประเทศ เป็นการผ่อนผันให้เนื่องจากมีจำนวนคนมากกว่าจำนวนคนที่หน่วยทหารต้องการ ซึ่งได้แก่
๔.๑ นักเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ ( ม.๖ ) หรือเทียบเท่า จะได้รับ การผ่อนผันจนสำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบเท่า แต่อายุไม่เกิน ๒๒ ปีบริบูรณ์
๔.๒ นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จะผ่อนผันให้ศึกษาที่ไม่สูงกว่าระดับปริญญาโท และจนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์แต่สำหรับการศึกษาภาคนอกเวลาหรือภาคสมทบ หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชต้องมีผลการศึกษาสอบไล่ได้ภาคละไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต ทุกภาคติดต่อกัน
๑. ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาที่ศึกษาอยู่
๒. ไปเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อใช้สิทธิ์การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารในวันตรวจเลือก
๓. หลักฐานที่ใช้ประกอบในการขอผ่อนผัน คือ
๓.๑ ใบสำคัญ ( แบบ สด.๙ )
๓.๒ หมายเรียก ( แบบ สด.๓๕ )
๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชน
๕. การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
การผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเนื่องจากไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศจะได้รับการผ่อนผันการตรวจเลือกทหารตามจำนวนปีที่ใช้การศึกษาตามหลักสูตรจนกว่าจะจบการศึกษา แล้วยกเว้นให้ไม่ต้องมาแสดงตนในวันตรวจเลือกเกณฑ์ทหารโดยมีขั้นตอนการขอผ่อนผันดังนี้
๕.๑ ให้นักเรียนผู้ขอผ่อนผันหรือมอบอำนาจให้บิดา มารดา หรือ ผู้ปกครอง ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร
๕.๒ หลักฐานที่จะต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันทหาร
๕.๒.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๕.๒.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๕.๒.๓ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอผ่อนผันของผู้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแทน
๕.๒.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
๕.๒.๕ หนังสือรับรองของสถานศึกษาพร้อมสำเนาคำแปลเป็นภาษาไทย
๕.๒.๖ หนังสือรับรองของสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทย ณ ประเทศที่ไปศึกษา
๑. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของพระภิกษุสามเณรที่เป็นนักธรรม
การยกเว้นให้กับพระภิกษุสามเณรหรือนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนซึ่งเป็นนักธรรมที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง การขอยกเว้นให้ปฏิบัติดังนี้
๑.๑ ร้องขอต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการการเขต/ปลัดอำเภอ/ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร
๑.๒ ร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันทำการตรวจเลือก
๑.๓ หลักฐานที่ต้องนำมายื่นร้องขอยกเว้น
๑.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๑.๓.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๑.๓.๓ ใบสุทธิสำหรับพระภิกษุสามเณร
๑.๓.๔ ใบประกาศปริยัติธรรม
๑.๓.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน
๒. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักบวชสำหรับศาสนาอิสลาม
การยกเว้นนักบวชสำหรับศาสนาอิสลามในสุเหร่าหนึ่ง ยกเว้นให้ ๓ คน คือ โต๊ะอิหม่ำ ๑ คน โต๊ะบิลา ๑ คน และโต๊ะกาเตบ ๑ คน ให้ผู้ขอยกเว้นดำเนินการดังนี้
๒.๑ ร้องขอยกเว้นต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ท้องที่ซึ่งสุเหร่าตั้งอยู่
๒.๒ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นขอยกเว้น
๒.๒.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๒.๒.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๒.๒.๓ หนังสือรับรองของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
๒.๒.๔ บัตรประจำตัวประชาชน
๒.๒.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน
๓. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักบวชสำหรับศาสนาคริสต์หรือโรมันคาทอลิค
การยกเว้นนักบวชสำหรับศาสนาคริสต์ หรือโรมันคาทอลิค สำนักสอนศาสนา ๑ แห่ง ยกเว้นให้แก่เจ้าอธิการวัด ๑ คน ผู้ช่วยเจ้าอธิการวัด ๓ คน และสำนักสอนศาสนาจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งเป็นสำนักสอนศาสนาโดยให้ผู้ขอยกเว้นดำเนินการดังนี้
๓.๑ ร้องขอต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ซึ่งสำนักสอนศาสนาตั้งอยู่
๓.๒ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอยกเว้น
๓.๒.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๓.๒.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๓.๒.๓ บัตรประจำตัวประชาชน
๓.๒.๔ หนังสือสำคัญแต่งตั้งเป็นเจ้าอธิการวัดหรือผู้ช่วยเจ้าอธิการวัด
๓.๒.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน
๓.๒.๖ หนังสืออนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสอนศาสนา
๔. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักบวชสำหรับศาสนาโปรเตสเตนท์
การยกเว้นนักบวชสำหรับศาสนาโปรเตสเตนท์ สำนักสอนศาสนา ๑ แห่ง ยกเว้นหัวหน้าสำนักสอนศาสนาและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักสอนศาสนา แห่งละ ๓ คน สำนักสอนศาสนาจะต้องได้รับอนุญาตทางราชการให้จัดตั้งเป็นสำนักสอนศาสนาได้ โดยให้ผู้ขอยกเว้นดำเนินการดังนี้
๔.๑ ร้องขอต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสอนศาสนา
๔.๒ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอยกเว้น
๔.๒.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๔.๒.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๔.๒.๓ บัตรประจำตัวประชาชน
๔.๒.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
๔.๒.๕ หนังสือสำคัญการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าหรือผู้ช่วยหัวหน้าสำนักสอนศาสนา
๔.๒.๖ หนังสืออนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสอนศาสนา
๕. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักศึกษาวิชาทหาร
การยกเว้นให้บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชาทหาร (นักเรียน ร.ด.) บุคคลที่กำลังศึกษาวิชาทหารหรือเรียน ร.ด. จะต้องยื่นคำร้องต่อสถานศึกษา หรือหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารและนำหลักฐานเพื่อขอยกเว้นไปด้วยดังนี้
๕.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๕.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๕.๓ บัตรประจำตัวนักศึกษาวิชาทหาร
๕.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
๖. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของครูประจำทำการสอน
การยกเว้นให้กับครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ครูที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ในยามปกติ ต้องมีคุณลักษณะดังนี้
๖.๑ เป็นครูประจำทำการสอนนักเรียน นิสิต นักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คน
๖.๒ ครูสอนระดับมัธยมศึกษาลงมามีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง
๖.๓ ครูสอนระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา มีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง
โดยครูซึ่งประจำทำการสอนจะต้องยื่นคำร้องต่อสถาบันหรือสถานศึกษาที่ทำการสอนโดยต้องนำหลักฐาน ยื่นคำร้องขอยกเว้นดังนี้
๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๒. หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๓. บัตรประจำตัวประชาชน
๔. สำเนาทะเบียนบ้าน
๕. คำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครู
๖. ตารางการสอนหนังสือ
๗. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของนักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือน
การยกเว้นการตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) ให้กับนักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคมต้องยื่นคำร้องขอยกเว้นต่อศูนย์ฝึกการบินพลเรือน และต้องนำหลักฐานไปยกเว้นดังนี้
๗.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๗.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๗.๓ บัตรประจำประชาชน
๗.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
๘. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของบุคคลซึ่งได้รับสัญชาติไทยโดยการเปลี่ยนสัญชาติ
การยกเว้นการตรวจเลือก (การเกณฑ์ทหาร) ให้กับบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย โดยการแปลงสัญชาติ บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติให้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร โดยนำหลักฐานเพื่อยกเว้นไปด้วยดังนี้
๘.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๘.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๘.๓ บัตรประจำตัวประชาชน
๘.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน
๙. การยกเว้นการตรวจเลือกทหารของบุคคลซึ่งต้องโทษ ๑๐ ปี ขึ้นไป
การยกเว้นการตรวจเลือก (การเกณฑ์ทหาร) ให้กับบุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาครั้งเดียว หรือหลายครั้งรวมกันตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป ให้ผู้ขอยกเว้นยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร โดยนำหลักฐานเพื่อยกเว้นดังนี้
๙.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๙.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๙.๓ บัตรประจำตัวประชาชน
๙.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
๙.๕
สำเนาคำพิพากษาของศาลให้จำคุก
การปฏิบัติในการตรวจเลือกทหารเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
บุคคลใดได้รับหมายเรียกแล้ว จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกิน (เกณฑ์ทหาร) ตามหมายเรียกของนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้
๑. หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
๒. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๓. บัตรประจำตัวประชาชน
๔.
ประกาศนียบัตรหรือหลักฐานการศึกษา
ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร)
ในวันตรวจเลือกทหารกองเกิน (วันเกณฑ์ทหาร) เวลา ๐๗.๐๐ น. ทหารกองเกินหรือบุคคลที่ได้รับหมายเรียก (แบบ สด.๓๕) แล้วทุกคนเข้าแถวตามตำบล เคารพธงชาติเสร็จ ประธานกรรมการตรวจเลือกทหารหรือประธานกรรมการเกณฑ์ทหาร ชี้แจงความจำเป็นถึงการตรวจเลือกทหาร เมื่อประธานกรรมการชี้แจงเสร็จ กรรมการสัสดีจะชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจเลือกทหาร รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคือผู้ที่สมัครหรือผู้ที่จับสลากแดงได้ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
จำพวกที่ ๑ คนร่างการสมบูรณ์ดี
จำพวกที่ ๒ คนที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ดี
จำพวกที่ ๓ คนที่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีโรครักษาไม่หายภายใน ๓๐ วัน
จำพวกที่ ๔ คนที่ร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่กฏหมายกำหนดให้ไม่ต้องเข้ารับ ราชการทหาร
๔. ขั้นตอนที่ ๔ กรรมการโต๊ะที่ ๓ จะวัดขนาดสูงและขนาดรอบตัวของร่างกาย
๕. ขั้นตอนที่ ๕ ประธานการตรวจเลือก/เกณฑ์ทหารจะตรวจสอบขั้นสุดท้ายถ้าร่างกายสมบูรณ์ดีและขนาดสูง ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขนาดรอบตัว ๗๖ เซนติเมตร ในเวลาหายใจออก จะให้รอจับสลากสำหรับคนที่ร่างกายสมบูรณ์ดี แต่ขนาดสูงต่ำกว่า ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขนาดรอบตัวต่ำกว่า ๗๖ เซนติเมตร ในเวลาหายใจออกและคนจำพวกที่ ๒,๓,๔ ซึ่งร่างกายไม่สมบูรณ์ดีหรือร่างกายพิการทุพพลภาพหรือมีโรคที่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการ ประธานกรรมการจะปล่อยตัวพร้อมกับมอบใบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๓) ให้ทหารกองเกินรับไป
๖. ขั้นตอนที่ ๖
ทหารกองเกินหรือบุคคลที่จับสลากแดงหรือสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ
ประธานกรรมการตรวจเลือกจะส่งตัวให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอออกหมายนัดให้ไปเข้ารับราชการทหารตามผลัดที่จับสลากได้
หรือผลัดที่สมัครไว้
สิทธิและประโยชน์ที่ทหารกองประจำการจะได้รับ
ทหารกองเกินหรือบุคคลที่สมัครหรือจับได้สลากแดงถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการจะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่หน่วยทหารจัดให้
๑. มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงดังนี้
๑.๑ พลทหารกองประจำการปีที่ ๑ ยังไม่ผ่านหลักสูตรทหารใหม่ ได้รับเงินเดือน ๑,๑๔๐ บาท
๑.๒ พลทหารกองประจำการปีที่ ๑ ที่ผ่านหลักสูตรการฝึกทหารใหม่แล้ว ได้รับเงินเดือน ๒,๑๙๐ บาท
๑.๓ พลทหารกองประจำการปีที่ ๒ ได้รับเงินเดือน ๒,๔๓๐ บาท
๑.๔ พลทหารกองประจำการทำหน้าที่ครูทหารใหม่ ได้รับเงินเดือน ๒,๕๘๐ บาท
๑.๕ พลทหารกองประจำการที่ได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรีได้รับเงินเดือน ๒,๗๕๐ บาท
๑.๖ พลทหารกองประจำการ ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ ๕๐ บาท
๒. มีสิทธิได้ลดวันรับราชการทหารกองประจำการสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิ ม.๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไปและต้องนำหลักฐานการศึกษาหรือประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองวิทยฐานะที่จบ รด. ปี ๑ หรือปี ๒ แสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกภายในวันตรวจเลือกจึงจะได้สิทธิดังนี้
๒.๑ จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ถ้าสมัครเป็นทหาร ๑ ปี ถ้าจับได้สลากแดงเป็นทหาร ๒ ปี
๒.๒ จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาขึ้นไป ถ้าสมัครเป็นทหาร ๖ เดือน ถ้าจับสลากได้สลากแดงเป็นทหาร ๑ ปี
๒.๓ จบ รด. ปี ๑ ถ้าสมัครเป็นทหาร ๑ ปี ถ้าจับได้สลากแดงเป็นทหาร ๑ ปี ๖ เดือน
๒.๔ จบ รด. ปี ๒ ถ้าสมัครเป็นทหาร ๖ เดือน ถ้าจับได้สลากแดงเป็นทหาร ๖ เดือน
๓ ได้สิทธิสมัครสอบนักเรียนนายสิบทหารบกในสัดส่วนของพลทหารกองประจำการ ปีละ ๔๐ – ๕๐ % ทหารเรือถ้าสมัครสอบนักเรียนจ่าทหารเรือจะได้คะแนนเพิ่มเป็นพิเศษ และทหารอากาศถ้าสมัครนักเรียนจ่าทหารอากาศจะได้สัดส่วนของพลทหารกองประจำการปีละ ๕ – ๑๐ % แต่จะใช้สิทธินี้ต้องเป็นผู้ที่สมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการของแต่ละเหล่าทัพเท่านั้น
๔. มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลฟรี
๕. มีสิทธิสมัครรับราชการทหารในกองประจำการต่อได้ จนถึงอายุ ๒๖ ปี โดยยื่นคำร้องสมัคร ต่อหน่วยทหารที่สังกัดอยู่ได้ปีละ ๑ ครั้ง ๆ ละ ๑ ปี
๖. มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงเท่ากับทหารกองประจำการปีที่ ๒ หรือตามชั้นยศและตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
๗. สิทธิอื่น ๆ คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยสิทธินั้น ๆ เช่น ได้รับเงินฝ่าอันตราย ได้รับสิทธิคัดเลือกเป็นนักเรียนทหาร จนถึงอายุ ๒๓ ปี ศึกษาต่อ ฝึกวิชาชีพ และสวัสดิการอื่น ๆ เช่นเดียวกับทหารกองประจำการปีที่ ๒
๘. มีสิทธิได้รับเครื่องแต่งกายตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด
๙. ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อเป็นทหารกองประจำการ
๙.๑ ได้รับหมายฝึกตนเองให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัย
๙.๒ ได้รับการพัฒนาด้านบุคลิกภาพให้ดูสง่างาม
๙.๓ ได้รับการฝึกอาชีพ เช่น ช่างยนต์ ช่างปูน ช่างไม้ วิชาชีพทางการเกษตร
๙.๔
ได้รับการศึกษาระดับที่สูงขึ้น
จากความร่วมมือของหน่วยสถาบันการศึกษานอกโรงเรียน
ใครจะพิทักษ์ผืนแผ่นดินไทย
ถ้าชายไทยหลีกเลี่ยงการเป็นทหาร
ตอนที่ ๒
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายรับราชการทหาร
๑. ถาม กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กำหนด
หน้าที่การรับราชการทหารไว้อย่างไร
ตอบ มาตรา ๖๙ บัญญัติว่า “ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร ฯลฯ
ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ”
๒. ถาม พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ กำหนดหน้าที่ชายไทยไว้อย่างไร
ตอบ มาตรา ๗ บัญญัติว่า “ ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน
๓. ถาม วิธีนับอายุ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร นับอย่างไร
ตอบ ถ้าเกิด พ.ศ. ใดให้ถือว่ามีอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์เมื่อสิ้น พ.ศ. ที่เกิดนั้น ส่วนการนับอายุต่อไปให้นับเฉพาะปีที่สิ้น พ.ศ. แล้ว เช่น คนเกิด พ.ศ. ๒๕๒๒ จะเป็นวันเดือนใดก็ตาม ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ เมื่อสิ้น พ.ศ. ๒๕๒๒ และนับอายุครบ ๒,๓,๔ ฯลฯ ปีบริบูรณ์ เรียงตามลำดับเมื่อสิ้น พ.ศ. นั้น ๆ
๔. ถาม อายุเท่าไรจึงจะต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน
ตอบ อายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์
๕. ถาม “ ทหารกองเกิน” หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ทหารกองเกินหมายถึง ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว
๖. ถาม การลงบัญชีทหารกองเกิน (คนทั่วไปมักจะใช้ว่าไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) จะต้องไปลงบัญชีฯ ที่อำเภอใด
ตอบ ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา ถ้าบิดาตายมีมารดาลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา ถ้าทั้งบิดามารดาตายมีผู้ปกครอง ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา
๗. ถาม ถ้าบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสจะต้องลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอใด
ตอบ ผู้ที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา ถ้ามารดาตายลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา
๘. ถาม ถ้าไม่สามารถลงบัญชีตามที่กล่าวมาแล้วได้ จะต้องลงบัญชีที่อำเภอใด
ตอบ หากไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย หรือไม่สามารถลงบัญชีตามกรณีดังกล่าวได้
ไม่ว่าด้วยกรณีใด ก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา
ถ้าไม่ปรากฏภูมิลำเนา (ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน)
ก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่ที่พบตัวผู้นั้น
๙. ถาม เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินตามกำหนดแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่เมื่อใด
ตอบ ถือว่า “ เป็นทหารกองเกินตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ของ พ.ศ. ถัดไป”
๑๐. ถาม ภูมิลำเนาทหาร หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าผู้นั้นมี “ ภูมิลำเนาทหาร” อยู่ในอำเภอท้องที่ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินนั้น
๑๑. ถาม หากประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาหรือย้ายที่อยู่เป็นการชั่วคราวจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้แจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนเข้ามาอยู่ใหม่ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันย้ายเข้ามาในท้องที่
๑๒. ถาม ถ้าไม่แจ้งย้ายภายในกำหนด จะมีความผิดหรือไม่
ตอบ ถ้าไม่แจ้งย้ายภายในกำหนดมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๑๓. ถาม หากลงบัญชีทหารกองเกินเกินกำหนด จะให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนภายหลังได้หรือไม่
ตอบ ผู้ที่ไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินภายในกำหนด ถ้าอายุไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ ก็ให้ไปแสดงตนขอลงบัญชีที่อำเภอเช่นเดียวกัน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่สามารถปฏิบัติได้ แต่จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนไม่ได้
๑๔. ถาม วิธีการลงบัญชีทหารกองเกิน จะต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ผู้ขอลงบัญชียื่นใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.๔๔ ขอได้ที่หน่วยสัสดีอำเภอ) พร้อมด้วยสูติบัตร (ถ้ามี) บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดาหรือมารดา ถ้าบิดาตายหรือผู้ปกครองถ้าบิดามารดาตาย ด้วย) ต่อนายอำเภอท้องที่ (สัสดีอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่)
๑๕. ถาม เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
ตอบ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐานเอกสารเห็นว่าถูกต้อง จะรับลงบัญชีทหารกองเกินไว้ และออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือใบรับ (แบบ สด.๑๐) ให้เป็นหลักฐาน
๑๖. ถาม ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หากชำรุดหรือสูญหาย จะขอรับใหม่ได้หรือไม่
ตอบ รับใหม่ได้ โดยให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อขอรับใบสำคัญฯ ใหม่ โดยเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ ๑ บาท แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
๑๗. ถาม สามเณรเปรียญ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอหรือไม่
ตอบ การลงบัญชีทหารกองเกินของสามเณรเปรียญ นายอำเภอท้องที่ (สัสดีอำเภอ) จะไปจัดทำที่วัดหรือสำนักสงฆ์โดยให้กรอกข้อความในใบแสดงตนฯ เมื่อตรวจสอบหลักฐานถูกต้องจึงรับลงบัญชีและออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้
๑๘. ถาม การลงบัญชีของผู้ที่อยู่ในระหว่างควบคุมหรือคุมขังของเจ้าหน้าที่ จะปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมหรือคุมขังส่งบัญชีรายชื่อให้นายอำเภอ
เพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน
แล้วออกใบสำคัญให้
๑๙. ถาม พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่
ตอบ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายหรือญวนที่มีสมณศักดิ์ ยกเว้นไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
๒๐. ถาม ชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่
ตอบ ต้องลงบัญชีทหารกองเกินยกเว้นเฉพาะบางท้องที่ซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้ตามที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวงฯ (ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ลง ๑๘ ก.ย.๑๘) ไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
๒๑. ถาม ทหารกองเกินต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหารเมื่อใด
ตอบ ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด ต้องไปขอรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ. นั้น (ภายใน ๓๑ ธ.ค.)
๒๒. ถาม ถ้าไปรับหมายเรียกด้วยตนเองไม่ได้ จะให้บุคคลอื่นไปรับแทนได้หรือไม่
ตอบ ถ้าไปรับเองไม่ได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปรับแทนโดยการมอบฉันทะ แต่การจะให้รับหมายหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอ
๒๓. ถาม ถ้าไม่ไปรับหมายเรียกฯ ภายในกำหนด จะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ตอบ ถ้าไม่ไปรับหมายเรียกภายในกำหนดหรือไม่มีผู้แทนไปรับถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืนมีโทษเท่ากับไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกินข้างต้น (โทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
๒๔. ถาม ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ต้องไปรับหมายเรียกฯ หรือไม่
ตอบ ไม่ต้องไปรับหมายเรียกฯ แต่เมื่อจบการศึกษาหรือพ้นจากฐานะการผ่อนผันต้องไปรับหมายเรียกฯ
๒๕. ถาม มีใครอีกบ้างที่ไม่ต้องรับหมายเรียกฯ
ตอบ ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติ เช่น นักศึกษาวิชาทหารฯ
๒๖. ถาม ผู้ที่พ้นจากฐานะยกเว้นผ่อนผันฯ ต้องไปรับหมายเรียกหรือไม่
ตอบ ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ. ที่พ้นจากฐานะยกเว้นฯ ด้วย
๒๗. ถาม เมื่อพ้นจากฐานะยกเว้นแล้ว ไม่ได้รับหมายเรียกจะมีความผิดหรือไม่
ตอบ มีความผิดเช่นเดียวกับผู้ไม่ไปรับหมายเรียกที่อำเภอตามที่กล่าวมาแล้ว
๒๘. ถาม การขอยกเว้นครู ซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
ตอบ มีเงื่อนไขดังนี้
ก.เป็นครูประจำทำการสอนนักเรียน นักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ
ข.เป็นครูสอนประจำเฉพาะวิชานักเรียนนักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ
ค.
มีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๑๘ ชม. ในสถานศึกษาระดับมัธยมลงมาหรือ
ไม่น้อยกว่า ๑๕ ชม.
ในสถานศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา
๒๙. ถาม การขอยกเว้นครู จะต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อครูซึ่งจะได้รับการยกเว้น ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งครูผู้นั้นทำการสอนอยู่ในท้องที่ก่อนเดือนเมษายนของปีที่ถูกเรียกไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน เมื่อตรวจสอบเป็นการถูกต้องผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกใบสำคัญยกเว้นครู (สด.๓๗) ให้
๓๐. ถาม เมื่อพ้นจากฐานะยกเว้นครู จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ต้องแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ทำการสอน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่พ้นจากฐานะการเป็นครู ถ้าไม่ปฏิบัติมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๑. ถาม การขอผ่อนผันฯ บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาฯ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาของวตนแล้วเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษา หรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อผู้นั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดวที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะตรวจเลือกเข้ากองประจำการ
๓๒. ถาม อายุเท่าไร ถึงจะต้องไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร)
ตอบ อายุ ๒๑ ปี โดยจะต้องไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ตามหมายเรียก
(หมายเกณฑ์) ที่ได้รับจากอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร
๓๓. ถาม ผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกฯ ต้องนำหลักฐานอะไรบ้างไปแสดงต่อคณะการรมการตรวจเลือกฯ
ตอบ ให้ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ นำใบสำคัญ ( แบบ สด.๙ ) หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕), บัตรประจำตัวประชาชน, ประกาศนียบัตร, หรือหลักฐานการศึกษาฯ ไปแสดงในวันตรวจเลือกด้วย
๓๔. ถาม ในวันตรวจเลือกทหารผู้เข้ารับการตรวจเลือกฯ (เกณฑ์ทหาร) จะได้รับหลักฐานอะไร
ตอบ ได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๓) (บุคคลทั่วไปรู้จักกันในนามใบผ่านการเกณฑ์) จากประธานกรรมการตรวจเลือก
๓๕. ถาม ผู้ที่จะเป็นทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ต้องมีขนาดรูปร่างอย่างไร
ตอบ ต้องมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ เซนติเมตรขึ้นไป ในเวลาหายใจออก และสูง ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตรขึ้นไป แต่ปกติจะคัดเลือกคนที่มีขนาดสูง ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตรขึ้นไปก่อน
๓๖. ถาม เมื่อจับได้สลากสีแดง หรือสมัครเป็นทหารกองประจำการเมื่อปลดจากการเป็นทหาร จะได้รับเอกสารหรือหลักฐานอะไร
ตอบ เมื่อปลดจากทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) จะได้รับหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘ ) ไว้เป็นหลักฐาน
๓๗. ถาม ทหารกองเกินเมื่อรับหมายเรียกแล้ว จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกที่ไหนและเมื่อไร
ตอบ ทหารกองเกินที่ถูกเรียกจะต้องไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ทำการตรวจเลือกฯ ตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่ระบุไว้ในหมายเรียก
๓๘. ถาม กรณีเป็นผู้ที่มีความผิดไม่มารับหมายตามมาตรา ๒๕ อยู่ในระหว่างดำเนินคดีจะไปแสดงตนขอรับหมายเรียกฯ ได้หรือไม่
ตอบ ไปขอรับหมายเรียกฯ เพื่อขอเข้ารับการตรวจเลือกฯ ได้
๓๙. ถาม ผู้ที่ป่วยไม่สามารถจะมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้
นำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก เพื่อสอบปากคำผู้แทนไว้
แล้วมอบให้อำเภอดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงตามทางการภายหลัง
๔๐. ถาม คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร ยศไม่ต่ำกว่าพันโท เป็นประธานกรรมการ,นายทหารสัญญาบัตรยศไม่เกินประธาน ๒ คน,สัสดีจังหวัดต่างท้องที่ ๑ คน และแพทย์อีก ๑-๒ คนเป็นกรรมการ
๔๑. ถาม คณะกรรมการตรวจเลือกฯ มีเครื่องหมายเป็นข้อสังเกตอย่างไร
ตอบ คณะกรรมการตรวจเลือกฯ นี้ สวมปลอกแขนสีแดงขลิบริมสีน้ำเงิน ส่วนเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือกรรมการสมปลอกแขนสีน้ำเงินขลิบริมสีแดง นอกจากนี้ไม่ใช่บุคคลในคณะกรรมการตรวจเลือกฯ
๔๒. ถาม เมื่อคณะกรรมการชั้นสูงตัดสินแล้ว จะร้องขอคัดค้านคำตัดสินได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้เพราะคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูงให้เป็นที่สุด
๔๓. ถาม ผู้ที่ถูกกำหนดให้เข้ารับราชการกองประจำการ จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
ตอบ นายอำเภอท้องที่ที่ตรวจเลือกฯ จะออกหมายนัดให้มารับราชการทหารตามวันที่กำหนด
๔๔. ถาม ถ้าไม่ไปรับราชการตามกำหนดหมายนัด (ขาดหมายนัด) จะมีความผิดหรือไม่อย่างไร
ตอบ ถ้าไม่มาตามหมายนัด ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี
๔๕. ถาม ถ้าผู้ใดทำร้ายร่างกายตนเองหรือให้ผู้อื่นทำเพื่อจะให้พ้นจากการรับราชการทหาร จะมีความผิดหรือไม่
ตอบ มีความผิด มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป จนถึง ๘ ปี ผู้สมรู้เป็นใจในการทำร้ายร่างกายเพื่อมุ่งหมายดังกล่าว มีความผิด โทษจำคุกตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไปจนถึง ๔ ปี
๔๖. ถาม ผู้ที่จะอ้างสิทธิลดวันรับราชการได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ต้องแสดงหลักฐานหลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิวตามกฏหมายและต้องเขียนคำร้องไว้ด้วย
๔๗. ถาม ถ้ารับหมายเรียกแล้ว ไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือกฯ จะมีโทษอย่างไรหรือไม่
ตอบ บุคคลใดหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ทำการตรวจเลือกฯ ตามหมายเรียกของนายอำเภอ หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก หรือไม่อยู่จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ (ก่อนที่กรรมการจะปล่อยตัว) ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี
๔๘. ถาม ทหารกองประจำการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ ทหารกองประจำการหมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด
๔๙. ถาม ผู้ที่อยู่ในกำหนดผ่อนผันฯ จะขอสิทธิ์เข้าตรวจเลือกฯ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้ผู้ขอสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ (ตามแบบคำร้องขอสละสิทธิ์) แล้วคณะกรรมการตรวจเลือกฯ จะพิจารณาว่าสมควรให้เข้ารับการตรวจเลือกฯ หรือไม่
๕๐. ถาม นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศโดยอยู่ในความปกครองดูแลของ ก.พ. จะขอผ่อนผันไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการขอผ่อนผันต่อกระทรวงมหาดไทย (ผู้ว่าราชการจังหวัด)
๕๑. ถาม นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย (ทุนส่วนตัว) จะขอผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกฯ อย่างไร
ตอบ ให้นักเรียนผู้ประสงค์ขอผ่อนผัน หรือบิดา มารดา หรือผู้ปกครองขอผ่อนผันต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร
๕๒. ถาม การขอผ่อนผันศึกษาต่อต่างประเทศต้องนำหลักฐานอะไรไปแสดงบ้าง
ตอบ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
๕๓. ถาม หลักเกณฑ์การขอผ่อนผันก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มีอะไรบ้าง
ตอบ การยื่นคำขอผ่อนผันก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ให้แจ้งด้วยว่าจะเดินทางไปเมื่อใดโดยพาหนะอะไร และผู้ร้องต้องรับรองไว้ว่า เมื่อนักเรียนผู้นั้นเดินทางไปศึกษา ณ ต่างประเทศแล้ว จะรีบส่งหนังสือรับรองของสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือผู้ดูแลนักเรียนไทยในประเทศนั้น ๆ ให้ภายใน ๓ เดือน นับแต่เดินทางออกจากประเทศไทย
๕๔. ถาม หลักฐานการขอผ่อนผัน ภายหลังเดินทางไปต่างประเทศแล้ว มีอะไรบ้าง
ตอบ การยื่นคำขอผ่อนผันภายหลังเดินทางไปต่างประเทศแล้วต้องมีหนังสือรับรองของสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือผู้ดูแลนักเรียนไทยที่ตั้งอยู่ ณ ประเทศที่ไปศึกษานั้นรับรองว่านักเรียนผู้นั้นกำลังศึกษาวิชาอะไรอยู่ที่สำนักศึกษาใด เพิ่มเติมเพื่อประกอบการการพิจารณาด้วย
๕๕. ถาม เมื่อได้ขอผ่อนผันไปศึกษา ณ ต่างประเทศถูกต้องแล้ว จะได้รับอะไรไว้เป็นหลักฐาน
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย) จะออกหนังสือผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือก ( แบบ สด.๔๓ ) มอบให้ไว้เป็นหลักฐาน
๕๖. ถาม เมื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้ว ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้หรือไม่อย่างไร
ตอบ ถ้าเข้ากองประจำการแล้ว ก็ยังยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้โดยตรงทีเดียวไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
๕๗. ถาม ผู้ที่มาตรวจเลือกฯ เห็นว่า การวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องสามารถคัดค้านได้หรือไม่อย่างไร
ตอบ ถ้าผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า การวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องก็ให้คัดค้านในทันทีเมื่อผ่านไปแล้วกรรมการอาจจะไม่พิจารณาให้
๕๘. ถาม การสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการจะได้สิทธิเลือกเป็นทหารบก ทหารเรือหรือทหารอากาศได้หรือไม่
ตอบ ผู้นั้นมีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการเป็นทหารบก ทหารเรือหรือทหารอากาศได้ตามที่มีการส่งคนเข้ากองประจำการแผนกนั้น ๆ
๕๙. ถาม ผู้ที่รับหมายเรียกฯ แล้วไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากองประจำการตามกำหนดจะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ตอบ ผู้ที่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากองประจำการตามกำหนด มีความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา๔๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
๖๐. ถาม ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอแล้ว (ยังไม่เป็นทหารกองเกินจนกว่าจะถึง ๑ ม.ค. ถัดไป) หรือทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนไปอยู่ต่างท้องที่ในอำเภอเดียวกันหรือต่างอำเภอชั่วคราวเกิน ๓๐ วัน จะปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ต้องแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนไปอยู่ชั่วคราวนั้น (สัสดีอำเภอจะออกใบรับแจ้ง (สด.๑๐) ไว้เป็นหลักฐาน
๖๑. ถาม ผู้ที่มีความประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร (ย้ายหลักฐานทางทหารไปอยู่แห่งใหม่เนื่องจากไปทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นประจำหรือไปมีถิ่นที่อยู่เป็นหลักฐานต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้แจ้งต่อนายอำเภอที่ตนเข้ามาอยู่ (แจ้งอำเภอท้องที่ใหม่เพียงแห่งเดียว) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านนั้น
๖๒. ถาม กรณีได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้นำหลักฐานไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
๖๓. ถาม หากไม่แจ้งย้ายที่อยู่หรือไม่แจ้งเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุลภายในกำหนดจะมีความผิดหรือไม่
ตอบ ผู้ที่เป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอแล้วแต่งยังไม่เป็นทหารกองเกินมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๔. ถาม ถ้าทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนตายจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้ผู้ปกครองหรือญาติ นำหลักฐานการตายแจ้งต่อนายอำเภอทันที โดยนำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ส่งคืนด้วย
๖๕. ถาม คนหลีกเลี่ยงขัดขืนซึ่งต้องส่งเข้ากองประจำการจะขอสิทธิลดวันรับราชการในวันตรวจเลือกฯ ตามคุณวุฒิได้หรือไม่
ตอบ ขอสิทธิลดวันรับราชการได้ตามคุณวุฒิแต่จะใช้สิทธิร้องขอเข้ารับราชการไม่ได้
๖๖. ถาม บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารฯ ต้องพ้นจากฐานะยกเว้นฯ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอรับหมายเรียกฯ
ที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ.
นั้น
๖๗. ถาม มีข้อสังเกตอย่างไรที่เรียกว่า “ ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม”
ตอบ หากไม่ได้รับใบรับรองผลฯ จากประธานกรรมการตรวจเลือกฯในวันตรวจเลือกฯ หรือได้รับจากบุคคลอื่นหรือวันอื่น หรือได้รับโดยมิได้ไปเข้ารับการตรวจเลือกฯ แสดงว่าเป็น “ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม”
๖๘. ถาม กรณีที่มีบุคคลอ้างว่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือให้พ้นจากการตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ได้นั้น ช่วยได้จริงหรือไม่
ตอบ อย่าหลงเชื่อการแอบอ้าง หรือหลอกลวงของเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดที่อ้างว่าจะช่วยเหลือให้ท่านพ้นจากการเกณฑ์ทหารได้ นอกจากท่านจะได้รับใบรับรองผลฯ ปลอมแล้ว ยังจะต้องถูกดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายอีกด้วย
๖๙. ถาม กรณีที่ทหารกองเกินมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหาร จะขอตรวจโรคก่อนเกณฑ์ได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ผู้ที่เข้ารับการตรวจโรคก่อนเกณฑ์คือ ทหารกองเกินผู้ที่รูว่าตนเองมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหาร สามารถไปเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก ๑๙ แห่ง ตามที่ได้ประกาศไว้เช่น ส่วนกลางได้แก่ รพ.พระมงกุฎเกล้า
๗๐. ถาม โรคที่ควรเข้ารับการตรวจมีโรคอะไรบ้าง
ตอบ ได้แก่โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหารซึ่งไม่สามารถตรวจด้วยตาเปล่า หรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางจิตเวช ฯลฯ
๗๑. ถาม เอกสารที่ต้องนำไปแสดงให้คณะกรรมการแพทย์ตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกมีอะไรบ้าง
ตอบ เอกสารที่ต้องนำไป ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน,ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) และหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕ ) ฉบับจริงและสำเนาที่ลงนามรับรองแล้ว
๗๒. ถาม ถ้าผู้ที่เข้าตรวจเลือกฯ ถูกเข้ากองประจำการเห็นว่า คณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรม จะยื่นคำร้องได้ที่ใด
ตอบ ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง (ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก ๒ นาย) ได้ทันที แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องไปเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็นทหารก่อน จนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูง
๗๓. ถาม ถ้าผู้ที่เข้าตรวจเลือกฯ จับได้สลากดำ จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ผู้ที่ถูกกำหนดเข้ากองประจำการเท่านั้นจึงจะสามารถร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้
๗๔. ถาม นักเรียนทหารจะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่ อย่างไร
ตอบ นักเรียนทหารถ้ามีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ต้องไปแสดงตนขอลงบัญชีทหารเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
๗๕. ถาม นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘
ปีบริบูรณ์ต้องไปขึ้นทะเบียนกองประจำการ
๗๖. ถาม บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องไปแสดงตนขอลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่ อย่างไร
ตอบ บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องไปแสดงตนขอลงบัญชีทหารกองเกินแต่ไม่เรียกมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ
๗๗. ถาม การเกณฑ์ทหารใน เมษายน ๒๕๔๕ เกณฑ์คนอายุเท่าไร และเกิดปีใด
ตอบ ผู้ที่อยู่ในกำหนดต้องเข้าตรวจเลือกฯ ในเดือนเมษายน ๒๕๔๕ คือ
๑. คนอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ. ๒๕๒๔)
๒. คนอายุ ๒๒ ปี ถึง ๒๙ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึง ๒๕๑๖) ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกฯและ/หรือผลการตรวจเลือกยังไม่เสร็จสิ้นไม่ว่ากรณีใด ๆ
๓. นิสิต นักศึกษา นักเรียน ที่อยู่ในระหว่างจะได้รับการผ่อนผัน (ที่ขอผ่อนผันไว้)
๗๘. ถาม ถ้าผู้ที่กำลังศึกษาอยู่จะขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร ( การเกณฑ์ทหาร ) ได้หรือไม่
ตอบ ได้โดยต้องยื่นคำร้องแจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารต่อสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่
๗๙. ถาม คนพิการ ทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้ จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่
ตอบ คนพิการ ทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้ จะต้องไปแสดงตนขอลงบัญชีทหารกองเกินและต้องไปรับหมายเรียกด้วย แต่ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ โดยคณะกรรมการตรวจเลือกจะออกใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด.๔๓) ให้ และกำหนดเป็นคนจำพวกที่ ๔
๘๐. ถาม การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารมีกำหนดระยะเวลาการยื่นขอผ่อนผันหรือไม่
ตอบ มีกำหนดระยะเวลา คือ การขอผ่อนผันจะต้องส่งรายชื่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหารภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะเข้าตรวจเลือกทหาร ฯ
๘๑. ถาม ถ้าจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ม.๖,ปวช., ฯลฯ จะต้องเป็นทหารกี่ปี
ตอบ ร้องขอฯ เป็น ๑ ปี ถ้าไม่ร้องขอฯ เป็น ๒ ปี
๘๒. ถาม ถ้าจบการศึกษาระดับ ปวท., ปวส., อนุปริญญาฯ หรือปริญญาตรีขึ้นไป จะต้องเป็นทหารกี่ปี
ตอบ ร้องขอฯ เป็น ๖ เดือน ถ้าไม่ร้องขอฯ เป็น ๑ ปี
๘๓. ถาม นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งได้แจ้งขอผ่อนผันการตรวจเลือกต่อสถาบันการศึกษาไว้แล้วนั้น จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกฯ หรือไม่
ตอบ ผู้ที่ผ่อนผันประเภทนี้ จะต้องไปรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) และไปแสดงตนในวันตรวจเลือกด้วย หากปีใดมีคนส่งเข้าเป็นทหารพอก็จะได้รับสิทธิผ่อนผันไม่ต้องเป็นทหารเฉพาะปีนั้น สำหรับปีต่อ ๆ ไป ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
๘๔. ถาม จะขอผ่อนผันเลี้ยงบิดามารดา, เลี้ยงดูบุตร หรือเลี้ยงพี่น้องได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ การขอผ่อนผันดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดามารดาซึ่งทุพพลภาพหรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู หรือที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ หรือที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย
๘๕. ถาม การขอผ่อนผันดังกล่าวจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ก็ให้ไปชี้แจงต่อนายอำเภอเสียก่อนวันตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน กับให้ร้องต่อคณะกรรมการการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกฯ ด้วย
๘๖. ถาม ก่อนจับสลาก หรือก่อนกำหนดให้เข้ากองประจำการ กรณีที่ไม่มีการจับสลากผู้ที่เห็นตนควรจะได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ต้องนำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือก ก่อนจับสลาก หรือก่อนกำหนดให้เข้ากองประจำการในกรณีที่ไม่มีการจับสลาก มิฉะนั้นให้ถือว่าหมดสิทธิที่จะได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน
๘๗. ถาม เมื่อพ้นจากฐานะผ่อนผัน (จบการศึกษา) ต้องทำอย่างไรบ้าง
ตอบ ให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่ หรือทำการประจำ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่พ้นจากฐานะเช่นนั้น
๘๘. ถาม ทหารกองเกินที่ขาดไม่มาตามหมายเรียก (แบบ สด.๓๕) ของนายอำเภอและศาลได้พิพากษาว่ามีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ต้องเข้ารับการตรวจเลือก ถ้าร่างกายไม่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการก็ให้ส่งผู้นั้นเข้ารับราชการทหารกองประจำการในปีนั้นหรือปีถัดไปโดยไม่ให้จับสลาก
๘๙. ถาม ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนมีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพล หรือไม่ อย่างไร
ตอบ มีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมและในการระดมพล
๙๐. ถาม นักเรียนโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่อนผันให้กี่ปี
ตอบ ผ่อนผันจนสำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ไม่เกิน ๒๒ ปีบริบูรณ์
๙๑. ถาม นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยผ่อนผันให้กี่ปี
ตอบ ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ไม่สูงกว่าชั้นปริญญาโทและผ่อนผันให้จนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์เว้นแต่นักศึกษาแพทยศาสตร์ผ่อนผันให้ระหว่างที่ปฏิบัติงานเพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตฯ อีก ๑ ปี
๙๒. ถาม ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๑ (จบ รด.ปี ๑) ต้องเป็นทหารกี่ปี
ตอบ ให้รับราชการทหารกองประจำการ ๑ ปี ๖ เดือน (ไม่สมัครเป็นทหาร) แต่ถ้าเป็นผู้ที่ร้องขอฯ (สมัคร) ก็ให้รับราชการกองประจำการเพียง ๑ ปี
๙๓. ถาม ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๒ (จบ รด.ปี ๒) ต้องเป็นทหารกี่ปี
ตอบ ให้รับราชการทหารกองประจำการ ๑ ปี
(ไม่สมัครเป็นทหาร ) แต่ถ้าเป็นผู้ที่ร้องขอฯ (สมัคร)
ก็ให้รับราชการกองประจำการเพียง ๖
เดือน
๙๔. ถาม ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ (จบ รด. ปี ๓) ต้องเข้าตรวจเลือกฯ หรือไม่
ตอบ ไม่ต้องเข้าตรวจเลือกฯ ให้หน่วยนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นกองหนุนโดยมิต้องเข้ารับราชการกองประจำการ (ไม่ต้องไปเกณฑ์ทหาร)
๙๕. ถาม การนับอายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารมีกี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ การนับอายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารมี ๔ วิธี คือ
๑. การนับอายุบริบูรณ์
๒. การนับอายุย่าง
๓. การนับอายุเป็นชั้นปี
๔. การนับอายุบุคคลไม่ปรากฏปีเกิด
๙๖. ถาม ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุน ผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล มีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ตอบ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสี่ปี
๙๗. ถาม ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร) จะได้รับจากใคร
ตอบ จากประธานกรรมการตรวจเลือกทหารฯ ในวันตรวจเลือกเท่านั้น ถ้ารับวันอื่นหรือจากบุคคลอื่นถือว่าเป็นใบปลอม
๙๘. ถาม ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ มีความผิดหรือไม่อย่างไร
ตอบ มีความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๙๙. ถาม นายอำเภอสามารถประกาศเรียกบุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้ที่อำเภอแล้วไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินใหม่ได้หรือไม่อย่างไร
ตอบ เมื่อจำเป็นนายอำเภอมีอำนาจประกาศเรียกบุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้ที่อำเภอแล้วไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินใหม่ได้ ภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับตั้งแต่วันประกาศ
๑๐๐. ถาม ใบรับรองผลการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๔๓) หรือที่เรียกว่าใบผ่านการเกณฑ์ทหาร มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เป็นหลักฐานสำคัญแสดงผ่านการเกณฑ์ทหาร
ที่ท่านจะต้องใช้แสดงต่อหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทห้างร้าน
เพื่อประโยชน์ในการสมัครงานหรือขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเดิม
เมื่อหมดอายุ
ด้วยใจจงรัก จึงสมัครเป็นทหาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานเมื่อ ๒๑
มกราคม ๒๕๔๐
ตอนที่ ๓
สรุปรายละเอียดขั้นตอนการรับสมัครทหารกองเกิน
อายุ ๑๘–๒๐ ปี บริบูรณ์ เข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอ
การรับสมัครทหารกองเกินอายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าเป็นทหารกองประจำการ
๑. การรับสมัคร
๑.๑ สามารถแจ้งความจำนงสมัครเป็นทหารกองประจำการ ต่อสัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ และชุดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
๑.๒ ขอรับใบสมัคร จากสัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในวันเวลาราชการ
๑.๓ รับสมัครตั้งแต่ วันที่ ๓ มกราคม – ๑๕ มีนาคม ของทุกปี
๒. คุณสมบัติของผู้สมัคร
๒.๑ เป็นทหารกองเกินอายุ ๑๘–๒๐ ปี
๒.๒ เป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี และไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการ
๒.๓ มีขนาดร่างกายสูง ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตรขึ้นไป และขนาดรอบตัว ๗๖ เซนติเมตรา เมื่อเวลาหายใจออก
๒.๔ ไม่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีอาญาหรืออยู่ในระหว่างถูกคุมประพฤติ
๓. หลักฐานการรับสมัคร
๓.๑ ใบสมัคร
๓.๒ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชน
๓.๔ หลักฐานที่สำเร็จการศึกษา เช่น ใบสุทธิ หรือประกาศนียบัตร
๓.๕ หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของบิดามารดาหรือผู้ใช้อำนาจปกครองสำหรับผู้ที่อายุ ๑๘–๑๙ ปี
๔. ขั้นตอนการสมัคร
๔.๑ ยื่นใบสมัครต่อสัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร
๔.๒ สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ ตรวจร่างกายและวัดขนาดร่างกายในขั้นต้น
๔.๓ ผู้สมัครที่มีร่างกายอยู่ในหลักเกณฑ์ตามคุณสมบัติที่กำหนดจะรับสมัครไว้
๔.๔ สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ จะออกใบนัดให้ไปตรวจร่างกายและวัดขนาดกับคณะกรรมการคัดเลือก
๕. ขั้นตอนการคัดเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ
๕.๑ จะทำการคัดเลือกตามวันและเวลาที่สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ ออกใบนัดให้ไปตรวจร่างกายและวัดขนาด
๕.๒ กรรมการนายทหารสัญญาบัตรคนที่ ๑ เรียกชื่อและตรวจหลักฐาน
๕.๓ กรรมการแพทย์ตรวจร่างกาย
๕.๔ กรรมการสัสดีกำหนดคนเป็นจำพวก
๕.๕ กรรมการนายทหารสัญญาบัตรคนที่ ๒ วัดขนาดความสูงของร่างกายและขนาดรอบตัว
๕.๖ ประธานกรรมการตัดสินในรับหรือไม่รับสมัครโดยพิจารณาจากผลการตรวจร่างกายและวัดขนาด
๕.๗ สัสดีเขต/สัสดีอำเภอ/สัสดีกิ่งอำเภอ ออกใบนัดให้ไปเข้ารับราชการทหาร
๖. หน้าที่ของผู้ที่ได้รับการคัดเลือก
๖.๑ ไปรายงานตัวเข้ารับราชการทหาร ตามใบนัด
๖.๒ รับราชการทหารกองประจำการมีกำหนด ๒ ปี เว้นแต่ผู้ที่จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไปและขอสิทธิลดวันรับราชการก็จะรับราชการทหารน้อยกว่า ๒ ปี
๗. สิทธิและประโยชน์ที่จะได้รับ
๗.๑ มีสิทธิที่จะเลือกสมัครเป็นทหารบก ทหารเรือ หรือทหารอากาศ
๗.๒ มีสิทธิขอลดวันรับราชการตามที่กฎหมายกำหนด
๗.๓ มีสิทธิพิเศษในการสมัครสอบเป็น นักเรียนนายสิบทหารบก นักเรียนจ่าทหารเรือ หรือนักเรียนจ่าทหารอากาศ ตามอัตราส่วนที่แต่ละกองทัพจะกำหนด
๗.๔ มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน ตามที่กฎหมายกำหนด
๗.๕ มีสิทธิสมัครใจที่จะรับราชการทหารกองประจำการต่อได้จนถึงอายุ ๒๖ ปี ตามระบบทหารอาสาสมัคร
๗.๖ มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านบุคลิกภาพ การศึกษา
อาชีพและประโยชน์อื่นๆ
ที่หน่วยทหารมีโครงการส่งเสริม
ตอนที่ ๔
ความรู้เกี่ยวกับการสมัคร
ทหารกองเกินอายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์
เข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอ
๑. ถาม โครงการรับสมัครทหารกองเกิน อายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอ เคยรับสมัครมาก่อนนี้หรือไม่
ตอบ ไม่เคยเปิดรับสมัครมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นครั้งแรกและปีแรก
๒. ถาม ทำไมต้องเปิดรับสมัครทหารกองเกินอายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าเป็นทหารกองประจำการ
ตอบ เพื่อเปิดโอกาสให้ชายไทยซึ่งเป็นทหารกองเกินตั้งแต่อายุยังไม่ถึง ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้มีโอกาสเป็นทหารกองประจำการเร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอจนอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์
๓. ถาม มีประโยชน์อย่างไรที่กระทรวงกลาโหมเปิดรับสมัครทหารกองเกิน อายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าเป็นทหารกองประจำการ
ตอบ มีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมาก ที่ได้ชายไทยซึ่งอาสาสมัครเข้ารับใช้ประเทศชาติด้วยการเป็นทหาร สำหรับกระทรวงกลาโหมก็จะได้กำลังพลที่เต็มใจรับการฝึกวิชาทหาร ซึ่งก็จะเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพให้มีคุณลักษณะของทหารได้อย่างสมบูรณ์
๔. ถาม การที่เปิดรับสมัครทหารกองเกิน อายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์ แสดงว่ากำลังจะมีสงครามเกิดขึ้นใช่หรือไม่
ตอบ ไม่ใช่เกิดสงคราม เพราะกระทรวงกลาโหมยังคงใช้กำลังพลเท่าเดิม แต่ถ้ามีทหารกองเกินสมัครจำนวนมาก กระทรวงกลาโหมก็จะลดจำนวนทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการ โดยวิธีการตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ลดลง
๕. ถาม ทหารกองเกิน หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ทหารกองเกิน หมายถึง ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว
๖. ถาม ทหารกองประจำการ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ทหารกองประจำการ หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด
๗. ถาม ภูมิลำเนาทหาร หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ผู้ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้ท้องที่อำเภอใด ถือว่าอำเภอท้องที่นั้นเป็นภูมิลำเนาทหาร ภูมิลำเนาทหารให้มีได้เพียงแห่งเดียว
๘. ถาม การรับสมัครทหารกองเกินจะยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่เมื่อใด
ตอบ ตั้งแต่ ๓ มกราคม ถึง ๑๕ มีนาคม ของทุกปี
๙. ถาม ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ ๑. ต้องมีอายุตั้งแต่ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์
๒. จะต้องเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ดี
๓. ต้องมีความสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขึ้นไป และขนาดรอบเอวตั้งแต่ ๗๖ เซนติเมตร ขึ้นไป ในเวลาหายใจออก
๔. ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา หรืออยู่ในระหว่างถูกคุมประพฤติ
๑๐. ถาม ในการสมัครเป็นทหารกองประจำการต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ตอบ ๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
๒. บัตรประจำตัวประชาชน
๓. หลักฐานการศึกษา สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือ เทียบเท่าขึ้นไป
๔. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของบิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
๑๑. ถาม ถ้าสมัครเป็นทหารกองประจำการเป็นผู้ที่สมรสแล้ว จะสมัครได้หรือไม่ และจะให้เป็นผู้ให้ความยินยอม
ตอบ สมัครได้โดยไม่ต้องมีผู้ให้ความยินยอม เพราะถือว่าได้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตามกฎหมายแล้ว
๑๒. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการจะต้องได้รับความยินยอมและรับรองจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองหรือไม่
ตอบ การสมัครเป็นทหารกองประจำการสำหรับผู้ที่ยังไมบรรลุนิติภาวะจะต้องได้รับความยินยอมและรับรองจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง โดยทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมเสียก่อน
๑๓. ถาม ทหารกองเกินที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างถูกคุมประพฤติจะสมัครเป็นทหารกองประจำการ ได้หรือไม่
ตอบ ยังสมัครเป็นทหารกองประจำการไม่ได้จนกว่าคดีจะสิ้นสุดหรือพ้นจากระยะเวลาถูกคุมประพฤติ
๑๔. ถาม ใครเป็นผู้ตรวจร่างกายและวัดขนาดของผู้สมัคร
ตอบ คณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งแต่งตั้งโดยแม่ทัพภาค
๑๕. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการ จะยื่นใบสมัครกับใครที่ไหน
ตอบ ยื่นกับสัสดีเขต,สัสดีอำเภอ หรือกิ่งอำเภอตามภูมิลำเนาทหารที่ได้ลงบัญชีไว้
๑๖. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการ จะต้องรับราชการเป็นเวลากี่ปี
ตอบ ต้องรับราชการทหารเป็นระยะเวลา ๒ ปี
๑๗. ถาม ถ้าผู้สมัครสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) จะรับราชการทหารกี่ปี
ตอบ รับราชการทหาร ๑ ปี
๑๘. ถาม ถ้าผู้สมัครสำเร็จการศึกษาวิชาชีพ เช่น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะต้องรับราชการกี่ปี
ตอบ รับราชการ ๑ ปี เช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖)
๑๙. ถาม ผู้สมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการมีสิทธิเลือกเป็นทหารบก, ทหารเรือ, ทหารอากาศ ได้หรือไม่
ตอบ ผู้สมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการมีสิทธิเลือกเป็นทหารบก, ทหารเรือ, หรือทหารอากาศ ที่ต้องการได้
๒๐. ถาม ผู้สมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ จะได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงอย่างไร
ตอบ ผู้สมัครจะได้เงินค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง กล่าวคือเงินเดือนช่วงฝึกเบื้องต้นระยะเวลา ๑๐ สัปดาห์ จะได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๑,๑๔๐ บาท รวมกับค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ ๕๐ บาท และเมื่อได้รับการฝึกเบื้องต้นแล้ว จะได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๒,๑๙๐ บาท และเบี้ยเลี้ยงวันละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท รวมมีรายได้ ๓,๙๖๐ บาท
๒๑. ถาม ผู้สมัครเข้าเป็นทหารกอปงระจำการ มีสิทธิที่จะสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกได้หรือไม่
ตอบ ถ้าผู้สมัครเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการเป็นทหารบก และมีคุณวุฒิมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า เช่น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีสิทธิสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกได้
๒๒. ถาม มีจำนวนนักเรียนนายสิบทหารบกเท่าใด ที่กองทัพบกจะรับจากผู้สมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ
ตอบ ในแต่ละปีกองทัพบกจะรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือรับจากบุคคลพลเรือนจำนวนหนึ่ง และรับจากทหารกองประจำการอีกจำนวนหนึ่ง โดยทั่วไปจะรับจากทหารกองประจำการประมาณ ๔๐–๕๐ % ของจำนวนนักเรียนนายสิบที่กองทัพบกจะรับสมัคร
๒๓. ถาม ผู้สมัครมีสิทธิที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าหรือไม่
ตอบ เมื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการ และสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบได้แล้วหากผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม จะมีสิทธิได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารตามจำนวนที่กองทัพบกจัดสรรให้แต่ละปีและเมื่อจบการศึกษาก็จะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าต่อไป
๒๔. ถาม การสมัครเป้นทหารกองประจำการมีผลดีอย่างไร
ตอบ เป็นผลดีต่อทหารกองเกิน จะมีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านบุคลิกภาพการศึกษา อาชีพ และอื่น ๆ ตามที่กองทัพได้มีโครงการส่งเสริม
๒๕. ถาม เมื่อรับราชการทหารจนครบกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วจะได้รับหลักฐานอะไร
ตอบ ผู้สมัครเมื่อรับราชการทหารจนครบกำหนดปลดแล้ว ทางราชการจะออกหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ให้
๒๖. ถาม หนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) มีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นเอกสารสำคัญที่ทางราชการออกให้ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร/ผู้ว่าราชการจังหวัดและสัสดีกรุงเทพมหานคร/สัสดีจังหวัด เป็นหนังสือสำคัญสำหรับทหารกองหนุน มีประโยชน์ในการใช้สมัครงานเป็นหลักฐานประกอบในการทำสัญญานิติกรรมต่าง ๆ
๒๗. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการของทหารกองเกิน อายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์มีผลดีอย่างไร
ตอบ ๑. เป็นการเปิดโอกาสให้ทหารกองเกินได้สมัครเป็นทหารกองประจำการเร็วขึ้นและไม่ต้องรอไปตรวจเลือกเมื่ออายุ ๒๑ ปีทำให้สามารถนำหลักฐานทางทหารไปสมัครงานได้เร็วขึ้น
๒. เป็นทางเลือกใหม่ของทหารกองเกินในการเลือกประกอบอาชีพ คือ สามารถพัฒนาตนเอง เพื่อก้าวสู่อาชีพทหารในกองทัพต่าง ๆ เช่น กองทัพบก จะมีโอกาสสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
๒๘. ถาม เมื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการแล้ว จะต้องเข้ารับราชการทหารเมื่อใด
ตอบ ตั้งแต่วันนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการโดยสัสดีอำเภอ/เขต/กิ่งอำเภอจะออกใบนัดให้มารายงานตัว ตามวัน, เวลาที่ทางฝ่ายทหารกำหนด
๒๙. ถาม ถ้าต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครเป็นทหารกองประจำการจะติดต่อไปที่ใด
ตอบ กรมการกำลังสำรองทหารบก ถนนราชดำเนินนอก (เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ โทร.๐–๒๒๙๗–๘๗๕๐, ๐-๒๒๙๗–๗๘๕๔–๕๖
๓๐. ถาม ถ้าสมัครเป็นทหารกองประจำการในกรุงเทพมหานคร จะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ใด
ตอบ ๑. แผนกสัสดีกรุงเทพมหานคร เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐ โทร. ๐–๒๔๖๕–๓๙๖๙, ๐-๒๔๖๕–๐๗๘๗,๐-๒๔๖๖–๖๖๙๗
๒. หน่วยสัสดีเขตทุกเขต
๓๑. ถาม ถ้าจะสมัครเป็นทหารกองประจำการนอกกรุงเทพมหานคร จะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ใด
ตอบ ๑. แผนกสัสดีกองทัพภาค
๒. ฝ่ายสรรพกำลังมณฑลทหารบก และฝ่ายสรรพกำลังจังหวัดทหารบกทุกแห่ง
๓. แผนกสัสดีจังหวัดทุกจังหวัด
๔. หน่วยสัสดีอำเภอ และหน่วยสัสดีกิ่งอำเภอทุกแห่ง
๓๒. ถาม เมื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการแล้ว จะได้ไปรับราชการที่หน่วยใด
ตอบ จะไปรับราชการตามที่หน่วยทหารกำหนด โดยจะพิจารณาให้รับราชการทหาร ณ หน่วยทหารใกล้ภูมิลำเนาทหารเป็นอันดับแรก
๓๓. ถาม เมื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการแล้ว ผลการตรวจร่างกายและวัดขนาดไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ทางราชการทหารกำหนดจะถือว่าได้ผ่านการตรวจเลือกทหาร (การเกณฑ์ทหาร) ด้วยหรือไม่
ตอบ หากสมัครเป็นทหารกองประจำการแล้วเมื่อคณะกรรมการคัดเลือกตรวจร่างกายและวัดขนาดร่างกายแล้ว ร่างกายไม่สมบูรณ์หรือเป็นโรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร หรือขนาดร่างกายไม่ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ ถือว่ายังไม่ผ่านการตรวจเลือกทหาร (การเกณฑ์ทหาร) และจะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกฯ เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ตามกฎหมาย
๓๔. ถาม ถ้าสมัครเป็นทหารกองประจำการในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ แล้วไม่ได้รับการคัดเลือกปีต่อไปจะสมัครได้อีกหรือไม่
ตอบ สามารถจะสมัครได้อีก และจะต้องผ่านการตรวจร่างกาย และวัดขนาดร่างกายตามที่ทางราชการกำหนดขั้นตอนและจะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรก
๓๕. ถาม ปัจจุบันผมลงบัญชีทหารที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จะสมัครเป็นทหารกองประจำการแผนกทหารเรือได้หรือไม่
ตอบ จะสมัครเป็นทหารเรือไม่ได้ เพราะจังหวัดในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ ๓ รับสมัครแผนกทหารเรือเพียง ๓ จังหวัด คือ นครสวรรค์, อุทัยธานี และกำแพงเพชร
๓๖. ถาม มีพื้นที่กองทัพภาคใดบ้างที่สมัครเป็นทหารเรือได้
ตอบ พื้นที่ทุกจังหวัดในกองทัพภาคที่ ๑,๒,๔ และกองทัพภาคที่ ๓ สมัครได้ ๓ จังหวัด คือ นครสวรรค์,อุทัยธานี และกำแพงเพชร
๓๗. ถาม ถ้าสมัครเป็นทหารอากาศจะสมัครได้ที่จังหวัดใดบ้าง
ตอบ ได้ทุกจังหวัดในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ ๑,๒,๓ และกองทัพภาคที่ ๔
๓๘. ถาม ถ้าสมัครเป็นทหารบก จะสมัครได้ที่จังหวัดใดบ้าง
ตอบ ได้ทุกจังหวัด ทุกกองทัพภาค
๓๙. ถาม ถ้าสมัครเป็นทหารเรือจะต้องไปฝึกที่ใด
ตอบ สำหรับทหารเรือการฝึกเบื้องต้น ระยะเวลา ๑๐ สัปดาห์ จะต้องไปฝึกที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี แล้วจึงส่งไปปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยทหารเรือที่ใกล้ภูมิลำเนาทหารของผู้สมัคร
๔๐. ถาม ถ้าผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการเคยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกครั้งเดียวตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือหลายครั้งรวมกันตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน จะสมัครได้หรือไม่
ตอบ สมัครไม่ได้ เพราะเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเป็นทหารในยามปกติ คือ ไม่ใช่ในเวลาสงคราม
๔๑. ถาม ผู้ที่เป็นพระภิกษุ สามเณร จะสมัครเป็นทหารกองประจำการได้หรือไม่
ตอบ สมัครได้ แต่เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว ก่อนวันขึ้นทะเบียนกองประจำการ (ก่อนวันเข้ารับราชการทหาร) จะต้องลาสิกขา (สึกจากพระหรือสามเณร) เสียก่อน
๔๒. ถาม ผู้ให้ความยินยอมในการสมัครเป้นทหารกองประจำการ หากบิดาหรือมารดาเสียชีวิต หรือหย่าจะให้ใครเป็นผู้ให้ความยินยอม
ตอบ กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ก็ให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ความยินยอม กรณีการหย่าก็ให้บิดาหรือมารดาที่ปกครองเลี้ยงดูอุปการะและให้การศึกษา ผู้นั้นเป็นผู้ให้ความยินยอมและรับรองได้
๔๓. ถาม ผู้สมัครที่ได้ลงบัญชีทหารตามภูมิลำเนาของมารดา จะให้มารดาให้ความยินยอมและรับรองได้หรือไม่
ตอบ สามารถให้มารดาให้ความยินยอมและรับรองได้
๔๔. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการได้รับสัญชาติไทยด้วยการแปลงสัญชาติเป็นไทยจะสมัครได้หรือไม่
ตอบ สมัครไม่ได้
เพราะเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเป็นทหารในยามปกติ
๔๕. ถาม คณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ คณะกรรมการคัดเลือกเป็นชุดเดียวกันกับคณะกรรมการตรวจเลือกทหาร(เกณฑ์ทหาร) ประกอบด้วย
๑. นายทหารสัญญาบัตรยศไม่ต่ำว่า พันโท เป็นประธานกรรมการ
๒. นายทหารสัญญาบัตรมียศเทียบเท่า หรือไม่สูงกว่าประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ
๓. สัสดีจังหวัดหรือผู้แทนเป็นกรรมการ จำนวน ๑ คน
๔. แพทย์ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ชั้น ๑ สาขาเวชกรรม จำนวน ๑ คน เป็นกรรมการ
๔๖. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ จะต้องมาให้คณะกรรมการคัดเลือกตรวจร่างกายและวัดขนาดร่างกายตั้งแต่เวลาใด
ตอบ ผู้สมัครต้องมาให้คณะกรรมการคัดเลือกตรวจร่างกายและวัดขนาด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๐.๐๐ น. ตามวัน,เวลา สถานที่ที่สัสดีอำเภอ/เขต/กิ่งอำเภอออกใบนัดให้
๔๗. ถาม ในวันที่ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการมาให้คณะกรรมการคัดเลือก จะมีขั้นตอน
อย่างไร
ตอบ ในวันคัดเลือก คณะกรรมการได้กำหนดขั้นตอนดังนี้
๑. เรียกชื่อผู้สมัคร
๒. ตรวจร่างกายว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่
๓. วัดขนาดของร่างกาย
๔. ประธานกรรมการพิจารณาตัดสินว่ารับหรือไม่รับเข้าเป็นทหารกองประจำการ
๕. สัสดีอำเภอ ออกใบนัดสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก
๔๘. ถาม เมื่อผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการและเข้าไปรับราชการแล้วเปลี่ยนใจไม่อยู่รับราชการทหารจนครบกำนดระยะเวลาที่กฎหมายกำนด จะมีความผิดหรือไม่
ตอบ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหารฐานหนีราชการทหาร
๔๙. ถาม ถ้าผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ สำเร็จการฝึกวิชาทหาร (รด.) ปีที่ ๑ จะเป็นทหารกี่ปี
ตอบ จะรับราชการทหาร (เป็นทหาร) เพียง ๑ ปี
๕๐. ถาม ถ้าผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ สำเร็จการฝึกวิชาทหาร (รด.) ปีที่ ๒ จะเป็นทหารกี่เดือนกี่ปี
ตอบ จะรับราชการทหาร (เป็นทหาร) เพียง ๖ เดือน เท่านั้น
๕๑. ถาม ถ้าผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ สำเร็จการฝึกวิชาทหาร (รด.) ปีที่ ๓ ขึ้นไปจะสมัครได้หรือไม่
ตอบ สมัครไม่ได้
เพราะเมื่อสำเร็จชั้นปีที่ ๓ แล้ว
ได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการและปลดเป็นทหารกองหนุนตามกฎหมายแล้ว
แต่หากมีความต้องการจะฝึกวิชาทหารก็สามารถอาสาสมัครเข้ารับการเรียกพล
เพื่อฝึกวิชาทหารได้
๕๒. ถาม เมื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการ จะทราบผลเมื่อไปว่าจะได้หรือไม่
ตอบ ในวันตรวจร่างกายและวัดขนาด โดยคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งแต่งตั้งโดยแม่ทัพภาค
๕๓. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ จะมีโอกาสได้รับการคัดเลือกไปดูงานต่างประเทศหรือไม่
ตอบ เมื่อกองทัพบกมีโครงการนำทหารกองประจำการไปดูงานต่างประเทศ ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ ก็มีโอกาสได้รับการคัดเลือกไปดูงานต่างประเทศเช่นเดียวกับผู้ที่ถูกเกณฑ์มารับราชการทหารกองประจำการ
๕๔. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการจะรับได้จำนวนเท่าใด
ตอบ จะรับสมัครเท่าที่หน่วยทหารต้องการ
๕๕. ถาม ถ้าผู้สมัครสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา จะต้องรับราชการทหารกี่เดือนกี่ปี
ตอบ จะรับราชการทหารกองประจำการเพียง ๖ เดือน เท่านั้น
๕๖. ถาม ถ้าผู้สมัครสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จะต้องรับราชการทหาร (เป็นทหาร) กี่เดือน กี่ปี
ตอบ จะรับราชการทหารกองประจำการเพียง ๖ เดือน ซึ่งมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือปริญญาตรี
๕๗. ถาม ถ้าผู้สมัครสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จะต้องรับราชการทหาร (เป็นทหาร) เป็นเวลานานาเท่าใด
ตอบ จะรับราชการทหารกองประจำการเพียง ๖ เดือน เท่านั้น
๕๘. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จะรับสมัครคนเกิด พ.ศ.ใดบ้าง
ตอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จะรับสมัครทหารกองเกินดังนี้
๑. ทหารกองเกิน อายุ ๑๘ ปี คือ เกิดปีกุน พ.ศ. ๒๕๒๗
๒. ทหารกองเกิน อายุ ๑๙ ปี คือ เกิดปีจอ พ.ศ. ๒๕๒๖
๓. ทหารกองเกิน อายุ ๒๐ ปี คือ เกิดปีระกา พ.ศ. ๒๕๒๕
๕๙. ถาม ตามที่ประเทศไทยได้ส่งทหารไปร่วมปฏิบัติหน้าที่กับกองกำลังสหประชาชาตินั้นผู้สมัครเป็นทหารมีสิทธิจะได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังสหประชาชาติหรือไม่
ตอบ ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการมีสิทธิได้รับการคัดเลือกไปปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังสหประชาติ เช่น กรณีทหารไทยไปปฏิบัติหน้าที่ที่ประเทศติมอร์ตะวันออก
๖๐. ถาม จะขอรับใบสมัครในการสมัครเป็นทหารกองประจำการได้จากใคร ตั้งแต่เมื่อไร
ตอบ ขอรับใบสมัครในการสมัครจากสัสดีอำเภอ/เขต/กิ่งอำเภอ ตามภูมิลำเนาทหารที่ได้ลงบัญชีทหารไว้ตามใบสำคัญ (แบบ สด.๙) โดยจะยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่วันที่ ๓ มกราคม ถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ของทุกปี แต่หากต้องการสอบถามรายละเอียดสามารถติดต่อ สัสดีอำเภอ/เขต/กิ่งอำเภอ ได้ทุกวันในเวลาราชการ
๖๑. ถาม ถ้าสมัครเป็นทหารกองประจำการ จะเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการเหล่าใดได้บ้าง และเมื่อใด
ตอบ จะเลือกเข้าเป็นทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ในผลัดที่ ๑ ตามจำนวนที่หน่วยทหารต้องการ
๖๒. ถาม ถ้าผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ กำลังศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะสมัครได้หรือไม่
ตอบ สมัครได้
๖๓. ถาม ถ้ากำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชระหว่างที่เป็นทหารกองประจำการ จะขออนุญาตลาไปสอบได้หรือไม่
ตอบ สามารถขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาไปสอบได้
๖๔. ถาม การฝึกของทหารระหว่างทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ จะฝึกหนักหรือเบามากกว่ากัน
ตอบ การฝึกของทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ จะฝึกตามหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม ตามที่ผู้เป็นทหารจะต้องรู้ และการฝึกหนัก เบา ใกล้เคียงกัน เพราะต้องฝึกให้ทุกคนมีคุณลักษณะของทหาร
๖๕. ถาม การฝึกทหารที่สมัครเป็นทหารกองประจำการกับทหารกองเกินที่ตรวจเลือกฯ(เกณฑ์ทหาร) เป็นทหารกองประจำการ จะฝึกเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ การฝึกของทหารที่สมัครเป็นทหารกองประจำการกับทหารที่ตรวจเลือกฯ (เกณฑ์ทหาร) เข้าเป็นทหารกองประจำการ มีการฝึกที่เหมือนกัน
๖๖. ถาม ถ้าผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการระหว่างที่รับราชการทหาร หากไปถูกดำเนินคดีอาญาหรือกระทำความผิดตามกฎหมายอาญา จะต้องขึ้นศาลทหารหรือศาลพลเรือน
ตอบ ผู้กระทำความผิดที่เป็นทหาร ไม่ว่าจะกระทำความผิดอาญาอย่างด ต้องขึ้นศาลทหารโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เสียหายจะเป็นผู้ใด เว้นแต่คดีที่ทหารกระทำผิดร่วมกับผู้ที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร, คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน, คดีที่ต้องดำเนินคดีในศาลคดีเด็กและเยาวชน, คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
๖๗. ถาม ถ้าระหว่างที่รับราชการทหารกองประจำการ ถ้าถูกดำเนินคดีต้องโทษจำคุก จะถูกปลดจากการเป็นทหารหรือไม่
ตอบ ถ้าระหว่างที่รับราชการทหารเข้ากองประจำการและต้องโทษจำคุก ไม่น้อยกว่า ๑ ปี อาจจะถูกปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒
๖๘. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการกับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ๑. การสมัครเป็นทหารกองประจำการของทหารกองเกินอายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์เป็นการเปิดโอกาสทางเลือกใหม่ให้ทหารกองเกินที่สมัครใจเข้ารับราชการทหารกองประจำการเร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอจนอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์
๒. การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ เป็นการตรวจเลือกตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ กำหนดให้ทหารกองเกินที่มีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์หรือทหารกองเกินอายุ ๒๒–๒๙ ปีบริบูรณ์ซึ่งยังไม่เคยไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ต้องไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) หรือหากจะสมัครเป็นทหารกองเกินที่อายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์ นับว่าในปี พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นปีแรกที่กระทรวงกลาโหม เปิดโอกาสให้สมัครเป็ทหารกองประจำการได้
๖๙. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการเมื่อรับราชการทหารจนครบกำหนดปลดแล้วจะต้องปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทใด
ตอบ เมื่อรับราชการทหารเป็นทหารกองประจำการครบกำหนดแล้ว จะปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑
๗๐. ถาม ผู้ที่สมัครเป็นทหารกองประจำการ เมื่อปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ จะต้องอยู่ในสถานะทหารกองหนุนอย่างไร
ตอบ เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ ชั้นที่ ๑ เจ็ดปี
เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ ชั้นที่ ๒ สิบปี
เป็นทหารกองหนุนประเภทที่๑ ชั้นที่ ๓ หกปี
๗๑. ถาม ถ้าทหารกองเกินผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการเดิมได้ลงบัญชีทหารกองเกินอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จะสมัครเป็นทหารกองประจำการที่อำเภอระแงะได้หรือไม่
ตอบ สมัครที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้ แต่ต้องย้ายภูมิลำเนาทหารจากอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ไปอยู่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เสียก่อน
๗๒. ถาม ทหารกองเกินที่สมัครเป็นทหารกองประจำการ ขณะรับราชการทหารกองประจำการ สามารถที่จะศึกษาต่อของกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้หรือไม่
ตอบ สามารถศึกษาต่อได้ ซึ่งหน่วยทหารจะร่วมมือกับกรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดการศึกษาให้ เช่น ผู้ที่จบ ป.๖ ก็จะได้ศึกษาต่อระดับ ม.๓ และผู้ที่จบการศึกษาระดับ ม.๓ ก็จะได้ศึกษาต่อระดับ ม.๖
๗๓. ถาม ถ้าทหารกองเกินที่สมัครเป็นทหารกองประจำการ ระหว่างที่รับราชการทหารกองประจำการ หากเกิดอุบัติเหตุและร่างกายพิการทุพพลภาพหรือมีโรค ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ จะต้องรับราชการทหารจนครบกำหนด ๒ ปี หรือตามเวลาที่กำหนดหรือไม่
ตอบ หากระหว่างรับราชการทหารกองประจำการร่างกายพิการทุพพลภาพหรือมีโรคไม่สามารถรับราชการทหารได้ ก็จะปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๑ โดยไม่ต้องเป็นทหารอีกต่อไป
๗๔. ถาม ถ้าทหารกองเกินที่สมัครเป็นทหารกองประจำการและถูกปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๑ จะได้รับหลักฐานอะไร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัด จะออกหนังสือสำคัญ ( แบบ
สด.๘ ) ให้ใช้เป็นหลักฐาน
๗๕. ถาม ในวันคัดเลือกซึ่งมีการตรวจร่างกายและวัดขนาดร่างกาย และผ่านการคัดเลือกแล้ว จะได้รับหลักฐานอะไร
ตอบ ได้รับใบนัดเข้ารับราชการทหาร
เพื่อส่งตัวเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
๗๖. ถาม ผู้ที่สมัครเป็นทหารกองประจำการ จะขอลดวันรับราชการทหารกองประจำการเนื่องจากมีคุณวุฒิ ม.๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ จะต้องนำหลักฐานที่สำเร็จการศึกษามาแสดงต่อคณะกรรมการคัดเลือก และต้องเขียนคำร้องขอลดวันรับราชการทหารกองประจำการยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกด้วย
๗๗. ถาม ถ้าผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการจะไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล สังกัดกองทัพบก และนำใบรับรองแพทย์มายื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกจะได้หรือไม่
ตอบ ได้ และดีมากถ้าทุกคนไปตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลที่สังกัดกองทัพบก ๑๙ แห่ง เช่น ส่วนกลาง ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มาก่อน เพราะจะทราบว่าร่างกายสมบูรณ์ดีหรือไม่ หรือมีโรคที่ขัดต่อการรับราชการทหารหรือไม่
๗๘. ถาม การสมัครเป็นทหารกองประจำการ จะต้องซื้อใบสมัครและเสียค่าสมัครหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ หรือไม่
ตอบ การสมัครเป็นทหารกองประจำการ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
๗๙. ถาม ชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น กะเหรี่ยง ลีซอ เย้า แม้ว มูเชอร์ ฯลฯ จะสมัครเป็นทหารกองประจำการได้หรือไม่
ตอบ สมัครเป็นทหารกองประจำการได้ ถ้าได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว แต่ถ้าเป็นคนที่มีภูมิลำเนาที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน เฉพาะบางท้องที่ ซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๕ พ.ศ. ๒๕๑๘ ลง ๑๘ ก.ย.๒๕๑๘ ไม่สามารถที่จะสมัครเป็นทหารกองประจำการได้ เพราะขาดคุณสมบัติเป็นทหารกองเกิน
๘๐. ถาม ทหารกองเกินที่จะสมัครเป็นทหารกองประจำการจะต้องไปรับหมายเรียกหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องไปรับหมายเรียก เพียงแต่ไปแจ้งต่อสัสดีอำเภอ และยื่นใบสมัครต่อสัสดีอำเภอเพื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการ
๘๑. ถาม หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของบิดา มารดา หรือผู้ให้ใช้อำนาจปกครองจะต้องยื่นพร้อมกับใบสมัครหรือไม่
ตอบ ควรจะยื่นพร้อมใบสมัคร แต่ยื่นภายหลังก็ได้ แต่ต้องก่อนที่คณะกรรมการคัดเลือกตรวจร่างกาย และวัดขนาดร่างกาย
๘๒. ถาม บิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องไปยื่นหนังสือความยินยอมด้วยตนเองหรือไม่
ตอบ จะต้องไปยื่นหนังสือแสดงความยินยอมและรับรองด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ต้องมีหนังสือมอบฉันทะซึ่งอยู่ในการพิจารณาของสัสดีอำเภอผู้รับสมัคร
๘๓. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ จะได้รับการฝึกวิชาชีพก่อนครบกำหนดหรือไม่
ตอบ จะได้รับการฝึกอาชีพให้ก่อนครบกำหนดปลดจากการเป็นทหารกองประจำการ เช่น
ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องยนต์ ช่างปูน ช่างไม้ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงสัตว์
เป็นต้น
๘๔. ถาม เมื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการ และอยู่ระหว่างการรับราชการทหารกองประจำการ จะต้องแจ้งย้ายทะเบียนราษฎร (ทะเบียนบ้าน) เข้าไปอยู่ในหน่วยทหารหรือไม่
ตอบ เมื่อเป็นทหารกองประจำการหน่วยใด จะต้องแจ้งย้ายทะเบียนราษฎร (ทะเบียนบ้าน) ไปอยู่ที่หน่วยทหารที่สังกัด
๘๕. ถาม ระหว่างที่รับราชการทหารกองประจำการ หากมีความจำเป็นจะขออนุญาตลากลับบ้านได้หรือไม่
ตอบ หากมีความจำเป็น ทหารกองประจำการสามารถขออนุญาตลากลับบ้านได้ เช่น ลากิจ ลาป่วย
๘๖. ถาม ถ้าลากลับบ้านแล้วเกิดเจ็บป่วย จะขออนุญาตลากับใคร
ตอบ ขออนุญาตลาต่อนายอำเภอโดยแจ้งต่อสัสดีอำเภอ
๘๗. ถาม ระหว่างรับราชการทหารกองประจำการมีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอย่างไร
ตอบ มีได้รับสวัสดิการ การรักษาพยาบาลตลอดเวลาที่รับราชการทหารกองประจำการ
๘๘. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ จะได้รับการประกันชีวิตด้วยหรือไม่
ตอบ ได้รับการประกันชีวิต จากกองทัพเช่นเดียวกับทหารกองประจำการที่ผ่านการตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร)
๘๙. ถาม ทหารกองเกินที่สมัครเป็นทหารกองประจำการ จะได้รับแจกเครื่องแต่งกาย เครื่องนอน เครื่องใช้ส่วนตัว หรือไม่
ตอบ จะได้รับแจก เครื่องแต่งกาย เครื่องนอน และเครื่องใช้ประจำตัวฟรี ตามที่ทางราชการกำหนด
๙๐. ถาม ความเป็นอยู่ระหว่างรับราชการทหารกองประจำการ จะได้รับการปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ทหารกองประจำการจะได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างดีโดยใกล้ชิด เช่น การกินอยู่ การกีฬา การพักผ่อน เป็นต้น
๙๑. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ มีใช้บริการสถานที่พักผ่อนของทางทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศหรือไม่
ตอบ มีใช้บริการสถานที่พักผ่อนของเหล่าทัพต่าง ๆ เช่นเดียวกับทหารประจำการ (ข้าราชการทหาร)
๙๒. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ จะต้องไปรับราชการทหารในพื้นที่ต่างกองทัพภาคหรือไม่
ตอบ ปกติจะบรรจุให้รับราชการทหารในหน่วยทหารที่อยู่ใกล้ภูมิลำเนาทหารมากที่สุด แต่บางครั้งอาจจะต้องส่งไปรับราชการต่างท้องที่ ต่างกองทัพภาค เช่น ผู้มีภูมิลำเนาทหารอยู่ในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๒ อาจจะต้องส่งตัวไปรับราชการในหน่วยทหาร พื้นที่กองทัพภาคที่ ๑ ก็ได้
๙๓. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการระหว่างรับราชการทหาร จะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งบ้างหรือไม่
ตอบ มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เช่น ตำแหน่งผู้ช่วยครูฝึก
๙๔. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการระหว่างรับราชการทหาร จะมีเลื่อนยศสูงขึ้นหรือไม่
ตอบ มีได้รับการเลื่อนยศสูงขึ้นเป็น สิบตรี, จ่าตรี, จ่าอากาศตรี กองประจำการ
๙๕. ถาม ตามที่มีข่าวว่าครูฝึกของทหารมีความรู้ดุตันบางครั้งฝึกจนทหารพิการทุพพลภาพจริงหรือไม่
ตอบ ไม่จริงหรอกครับ ครูฝึกอาจจะมีเสียงดัง ซึ่งฟังแล้วคล้ายกับเสียงที่ดุ และน่ากลัว การฝึกทหารจนพิการทุพพลภาพก็ไม่จริง จะมีบ้างก็เกิดอุบัติเหตุ หรหือเหตุสุดวิสัย ซึ่งเกิดขึ้นได้แม้กระทั่งอยู่ที่บ้านก็ตาม
๙๖. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการระหว่างรับราชการทหาร เมื่อโดยสารรถประจำทางจะได้ลดค่าโดยสารหรือไม่
ตอบ ทหารกองประจำการระหว่างรับราชการทหาร สามารถแสดงบัตรประจำตัวทหารกองประจำการ (กรณีไม่แต่งเครื่องแบบ) ลดค่าโดยสารรถประจำทางได้ครึ่งราคา หรือแต่งเครื่องแบบทหาร ลดค่าโดยสารรถประจำทางได้ในอัตราหนึ่งในสาม
๙๗. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการที่เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อสมัครเป็นทหารกองประจำการ จะให้ใครเป็นผู้ให้ความยินยอมในการสมัคร
ตอบ ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรม เป็นผู้ให้ความยินยอม ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจทางการปกครองตามกฎหมาย
๙๘. ถาม ตามที่กองทัพบกได้มีการจัดชุดประชาสัมพันธ์รณรงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ หากทหารกองเกินจะสมัครเป็นทหารกองประจำการกับเจ้าหน้าที่ชุดรณรงค์ได้หรือไม่
ตอบ สามารถยื่นความจำนงสมัครเป็นทหารกองประจำการได้ แต่ต้องไปยื่นใบสมัครกับสัสดีอำเภอ/เขต/กิ่งอำเภอ ภูมิลำเนาทหารอีกครั้งหนึ่ง
๙๙. ถาม ผู้ที่สมัครเป็นทหารกองประจำการ ระหว่างรับราชการทหารกองประจำการ จะถูกจัดไปเป็นทหารบริการหรือไม่
ตอบ สำหรับทหารบริการ ผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายไม่ให้ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ อายุ ๑๘–๒๐ ปีบริบูรณ์ เป็นทหารบริการ แต่จะบรรจุลงหน่วยทหารให้สมเกียรติ สมศักดิ์ศรี ของผู้สมัครที่มีจิตใจเข้ามารับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารกองประจำการ
๑๐๐. ถาม ผู้สมัครเป็นทหารกองประจำการ สามารถที่จะเลือกผลัดในการเข้ารับราชการทหารกองประจำการได้หรือไม่
ตอบ เลือกได้เพียงผลัดเดียว คือ ผลัดที่ ๑ ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการในวันที่ ๑ พฤษภาคม ของทุกปี สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ คือวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
๑๐๑. ถาม ผู้ที่เป็นทหารกองประจำการ (พลทหาร) อยู่และรับราชการทหารจะครบกำหนดตามกฎหมายและถ้าต้องการเป็นทหารกองประจำการต่อไปจะได้หรือไม่
ตอบ สามารถสมัครรับราชการทหารกองประจำการต่อได้
๑๐๒. ถาม ถ้าต้องการสมัครรับราชการในกองประจำการต่อหรือเป็นพลทหารต่อจะสมัครที่ใด
ตอบ สมัครที่หน่วยทหารที่รับราชการอยู่
๑๐๓. ถาม ถ้าสมัครรับราชการในกองประจำการต่อและต้องการไปอยู่หน่วยทหารใหม่ได้หรือไม่
ตอบ ได้แต่หน่วยทหารใหม่ (สังกัดใหม่ ) ต้องยินดีรับด้วย
๑๐๔. ถาม ผู้ที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ เป็นพลทหารกองประจำการหรือสิบตรี จ่าตรีกองประจำการ
ตามกฎหมายรับราชการทหารและไม่ควรกำหนดปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่
๑
๑๐๕. ถาม ผู้ที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อถ้ายังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับความยินยอม และรับรองจาก บิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองหรือไม่
ตอบ ต้องได้รับความยินยอมและรับรองจาก บิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย
๑๐๖. ถาม ใครเป็นผู้พิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับให้รับราชการในกองประจำการต่อ
ตอบ ผู้บังคับหน่วยทหารที่ทหารกองประจำการ (พลทหาร) รับราชการอยู่หรือสังกัดอยู่
๑๐๗. ถาม ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณาว่าจะรับสมัครทหารกองประจำการ (พลทหาร)ให้รับราชการในกองประจำการต่อ
ตอบ ใช้หลักเกณฑ์โดยพิจารณาจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม และความประพฤติดี
๑๐๘. ถาม ผู้ที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อ ต้องมีอายุเท่าใด
ตอบ ต้องมีอายุไม่เกิน ๒๕ ปีบริบูรณ์ในปีที่สมัคร
๑๐๙. ถาม การสมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ตอบ ต้องใช้หลักฐานดังนี้ ใบสมัคร, หนังสือรับรองของหน่วยต้นสังกัดระดับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป, หนังสือยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมายสำหรับผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
๑๑๐. ถาม ผู้ที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อจะมีสิทธิอะไรบ้าง
ตอบ มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน
ตามอัตราหรือระดับและชั้น เช่นเดียวกับทหารกองประจำการปีที่ ๒
(พลทหาร ปีที่ ๒) หรือตามชั้นยศ และหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง
และมีสิทธิได้รับเครื่องแต่งกายตลอดจนมีสิทธิได้รับสวัสดิการอื่น ๆ
ตามที่ทางราชกการกำหนด
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ต้องสมัครเป็นทหาร
ตอนที่ ๕
สิทธิและหน้าที่ของชายไทย
ที่ควรรู้เกี่ยวกับการเข้ารับราชการทหาร
สิทธิและหน้าที่ของชายไทยที่ควรรู้เกี่ยวกับการเข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
พุทธศักราช ๒๔๙๗
ได้กำหนดหน้าที่และสิทธิของชายไทยที่พึงรู้และจำต้องปฏิบัติตาม
ดังนี้
สิทธิในการลดวันรับราชการทหาร
๑. ข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร, ข้าราชการตุลาการ, ดะโต๊ะยุติธรรม, ข้าราชการอัยการ, ข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นข้าราชการธุรการชั้นตรีหรือเทียบเท่าข้าราชการพลเรือนชั้นตรีหรือเทียบเท่า,พนักงานเทศบาลชั้นตรีหรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จชั้นอุดมศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่า
จับสลากถูกเป็นทหาร ๑ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน
๒. ผู้สำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ หรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จจาก ร.ร.อาชีวศึกษาชั้นสูงของกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้สำเร็จวิชาชีพ หลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓ ปี จาก ร.ร.อาชีวะที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองและรับจากผู้สำเร็จ ม.ศ.๓ ผู้สำเร็จประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป
จับสลากถูกเป็นทหาร ๒ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี
๓. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร
- ชั้นปีที่ ๑ เป็นทหาร ๑ ปี ๖ เดือน ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี
- ชั้นปีที่ ๒ เป็นทหาร ๑ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน
- ชั้นปีที่ ๓ ขึ้นทะเบียนเป็นทหารแล้วปลดเป็นกองหนุนโดยไม่ต้องเข้ารับราชการ (ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกให้ติดต่อกับ รด. นำตัวขึ้นทะเบียน)
๔. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารจากต่างประเทศ ต้องให้กระทรวงกลาโหมรับรองเทียบกับผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารของ รด. ก่อน แล้วจึงขอรับสิทธิตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำเตือน
๑. การขอสิทธิลดวันรับราชการทหาร ต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษโดยยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก โดยทำคำร้องไว้พร้อมทั้งขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วย
๒. ผู้เข้ารับการตรวจเลือก จะได้ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓) จากประธานกรรมการในวันตรวจเลือก ทุกคน
ผู้มีปัญหาหรือข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อ
กรมการกำลังสำรองทหารบก โทร ๐–๒๒๙๗–๘๗๕๐ ตู้ ปณ. ๒–๑๙๑
กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ แผนกสัสดีจังหวัด หรือหน่วยสัสดีอำเภอ/เขต
ทุกแห่ง
หลักฐานสำคัญ
ใบรับรองผลการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๔๓) หรือที่เรียกว่า ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร เป็นหลักฐานสำคัญที่ท่านจะต้องใช้แสดงต่อหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน ห้างร้านเอกชน เพื่อประโยชน์ในการสมัครเข้าทำงานหรือขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ เมื่อบัตรฯ เดิมหมดอายุ
โปรดระวัง
ใช้ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓) ปลอม มีความผิดถึงติดคุก
ข้อสังเกต
ใบรับรองผลฯ ที่ถูกต้อง ท่านจะต้องได้รับจากประธานกรรมการตรวจเลือกฯ ในวันตรวจเลือกฯ เท่านั้น หากท่านได้รับจากบุคคลอื่นหรือวันอื่นหรือได้รับโดยมิได้ไปรับการตรวจเลือกฯ แสดงว่าเป็นใบรับรองผลฯ ปลอม ซึ่งท่านจะมีความผิดต้องระวางโทษถึงจำคุก
ระวัง!
หน้าที่และสิทธิของทหารกองเกิน
ผู้ที่อยู่ในกำหนดเข้ารับการตรวจเลือกในเมษายนของปี คือ
๑. คนอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์
๒. คนอายุ ๒๒ ปี ถึง ๒๙ ปีบริบูรณ์ ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือก และ/หรือผลการตรวจเลือกยังไม่เสร็จสิ้นไม่ว่ากรณีใดๆ
๓. นิสิต นักศึกษา นักเรียน ที่อยู่ในระหว่างจะได้รับการผ่อนผัน
บุคคลดังกล่าวข้างต้น ต้องไปรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหาร และไปเข้ารับการตรวจเลือกตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก
ให้ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ นำใบสำคัญ (แบบ สด.๙), หมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕), บัตรประจำตัวประชาชน, ประกาศนียบัตร หรือหลักฐานการศึกษาฯ ไปแสดงในวันตรวจเลือกด้วย
การตรวจโรคทางทหารกองเกินก่อนการตรวจเลือก
๑. ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจโรค คือ ทหารกองเกินผู้ที่รู้ว่าตนเองมีโรคที่น่าขัดต่อการรับราชการทหาร หรือได้ผ่านการตรวจโรคจากโรงพยาบาลของส่วนราชการพลเรือนหรือเอกชนแล้ว
๒. โรคที่ควรเข้ารับการตรวจ คือ โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร ซึ่งไม่สามารถตรวจด้วยตาเปล่าหรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจ ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของตา, หู, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด, โรคของระบบหายใจ, โรคของระบบปัสสาวะ, โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ, โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัม, โรคติดเชื้อ, โรคทางประสาทวิทยา, โรคทางจิตเวช และโรคอื่นๆ เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
๓. สถานที่เข้ารับการตรวจ คือ โรงพยาบาลสังกัดทบ. ๑๙ แห่ง ได้แก่
๓.๑ ส่วนกลาง : รพ.พระมงกุฎเกล้า ( กรุงเทพ ฯ ), รพ.อานันทมหิดล ( ลพบุรี ),
รพ.ค่ายธนะรัชต์ (ประจวบคีรีขันธ์), รพ.รร.จปร. (นครนายก)
๓.๒ ทภ.๑ : รพ.ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี), รพ.ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี), รพ.ค่ายอดิศร (สระบุรี), รพ.ค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)
๓.๓ ทภ.๒ : รพ.ค่ายสุรนารี (นครราชสีมา), รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (อุดรธานี), รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์), รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา (เชียงใหม่)
๓.๔ ทภ.๓ : รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก), รพ.ค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์), รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง), รพ.ค่ายกาวิละ (เชียงใหม่)
๓.๕ ทภ.๔ : รพ.ค่ายวชริาวุธ (นครศรีธรรมราช), รพ.ค่ายเสราณรงค์ (สงขลา)
๔. เอกสารที่ต้องนำไปให้คณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, ใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.๙) และหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) ฉบับจริง และสำเนาที่ลงนามรับรองเองแล้ว
สิทธิต่างๆ ที่ทหารกองเกินจะได้รับ
๑. สิทธิในการยกเว้น ผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้น เช่น พระภิกษุสารเณร – นักธรรม, นักบวชศาสนาอื่น ครู นักศึกษาวิชาทหาร (รด.) ฯลฯ เป็นต้น เมื่อได้รับอนุมัติให้ยกเว้นแล้ว ไม่ต้องไปแสดงตนในวันตรวจเลือกฯ
๒. สิทธิในการผ่อนผัน ทางราชการผ่อนผันให้แก่บุคคลต่อไปนี้ คือ
- บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดามารดาซึ่งไร้ความสามารถ หรือพิการ ทุพพลภาพ หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู หรือต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือหารเลี้ยงพี่หรือน้องซึ่งหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
ผู้ที่ขอผ่อนผันประเภทนี้ จะต้องยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอและต้องขอผ่อนผันทุกปี
- นิสิต นักศึกษา หรือนักเรียนในสถาบันการศึกษาที่กำหนดไว้ ให้แจ้งต่อสถาบันการศึกษานั้นๆ เพื่อให้ดำเนินการขอผ่อนผันให้ต่อไป
ผู้ที่ขอผ่อนผันประเภทนี้ จะต้องไปรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) และไปแสดงตนในวันตรวจเลือกด้วย หากปีใดมีคนส่งเข้าเป็นทหารพอก็จะได้รับสิทธิผ่อนผันไม่ต้องเป็นทหารเฉพาะปีนั้น สำหรับปีต่อๆ ไป ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
๓. ผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า ตนควรได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันต้องนำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกก่อนจับสลาก มิฉะนั้นถือว่าหมดสิทธิ
๔. ผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า การวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องก็ให้คัดค้านในทันที เมื่อผ่านไปแล้วกรรมการอาจจะไม่พิจารณาให้
๕. ผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นทหารเห็นว่า คณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง (ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก ๒ นาย) ได้ทันที แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องไปเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็นทหารก่อนจนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูง
๖. ผู้ที่ต้องเข้ากองประจำการ ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง ก็ให้ยื่นตรงต่อคณะกรรมการชั้นสูงทีเดียวไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
ทหารกองเกินที่มีคุณวุฒิ ม.๖ และร้องขอเข้ากองประจำการในวันตรวจเลือก มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๔ ในส่วนของกองทัพบก ได้ถึงร้อยละ ๕๐ ของที่นั่งศึกษาทั้งหมด
สิทธิทหารกองประจำการที่จะได้รับ
การเป็นทหารกองประจำการ นอกจากจะได้รับการปลูกฝังให้เป็นลูกผู้ชายอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แลัวยังนับว่าเป็นผู้ที่มีความเสียสละอย่างสูงในการที่ได้เข้าไปรับใช้ประเทศชาติเพื่อร่วมกันปกป้องอธิปไตยของชาติบ้านเมือง สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างยิ่ง สำหรับสิทธิทหารกองประจำการที่จะได้รับมี ดังนี้
๑. ในด้านความเป็นอยู่ ท่านจะได้รับการเอาใจใส่ ดูแลอย่างดีโดยใกล้ชิด เช่น การกินอยู่ การกีฬา การพักผ่อน การรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย ตลอดเวลาที่เป็นทหารกองประจำการ
๒. นอกจากนี้ยังได้รับเครื่องแต่งกาย เครื่องนอน เครื่องใช้ประจำตัว ตามที่ทางราชการกำหนด
๓. ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ ๕๐ บาท/คน และเงินเดือนทหารกองประจำการ เดือนละ ๒,๑๙๐-๒,๗๕๐ บาท เมื่ออยู่ในที่ตั้งหน่วย
๔. ผู้มีคุณวุฒิ ม.๖ และร้องขอเข้ากองประจำการ มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก ในส่วนของกองทัพบก ตามที่ ทบ. กำหนด (ร้อยละ ๕๐ ของที่นั่งศึกษาทั้งหมด)
๕. ส่งเสริมให้เรียนเพิ่มเติม (กศน.) ถึงชั้นมัธยมปลาย
๖. ฝึกอาชีพให้ก่อนปลดจากกองประจำการ ๑๔ อาชีพ
สิทธิของกำลังพลสำรองในการเข้ารับการเรียกพล
เพื่อให้กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพลทุกนายได้รับความสะดวกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และลดความเดือดร้อนในด้านต่างๆ ให้น้อยที่สุด ทางราชการจึงได้กำหนดสิทธิต่างๆ ให้แก่กำลังพลสำรอง ซึ่งมีเรื่องที่ควรจะทราบ คือ
๑. การโดยสายยานพาหนะ จากภูมิลำเนาทหาร หรือภูมิลำเนาที่ประกอบอาชีพไปรายงานตัว ณ หน่วยเรียกพล หรือ ณ สถานที่ที่ทางราชการกำหนด และการเดินทางกลับภูมิลำเนานั้นๆ เมื่อเสร็จสิ้นการเรียกพล ให้ได้รับสิทธิ ดังนี้
๑.๑ มติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลับเฉพาะ ด้วนมากที่ นว.๒๑๙/๒๔๙๖ ลง ๒๔ ก.พ.๙๖ ให้ยกเว้นค่าโดยสารยานพาหนะสำหรับกำลังพลสำรอง ในการโดยสารยานพาหนะของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ โดยกาลังพลสำรองจะต้องนำหลักฐานในการเรียกพลไปแสดงต่อนายสถานียานพาหนะนั้นๆ และจะจ้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยสารยานพาหนะของกำลังพลสำรองในการเรียกพล
๑.๒ ให้จ่ายค่าพาหนะเหมาจ่ายสำหรับการโดยสารยานพาหนะทั้งเที่ยวไปรายงานตัว และกลับภูมิลำเนาแก่กำลังพลสำรองทุกนายที่เข้ามารับการการเรียกพล ตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกำหนด โดยได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง ดังนี้ (ปัจจุบัน)
พ.ค. ขึ้นไป คนละ ๒๗๐ บาท
ร.ต. ขึ้นไปถึง ร.อ. คนละ ๒๕๐ บาท
นายทหารประทวน และพลทหาร คนละ ๒๓๐ บาท
๒. ค่าเลี้ยงดูหรือเบี้ยเลี้ยงให้หน่วยเรียกพล หรือหน่วยรับพลเบิกจ่ายค่าเลี้ยงดู ให้แก่กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ หรือเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมหรือการระดมพล โดยพิจารณาเบิกจ่ายตามขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ กำลังพลสำรองประเภทพลทหาร และ ส.ต.กองประจำการ ให้ได้รับค่าเลี้ยงดูหรือเบี้ยเลี้ยง ในอัตราเบี้ยเลี้ยงของพลทหารประจำการที่ใช้ในปัจจุบัน (๕๐ บท)
๒.๒ กำลังพลสำรองประเภทนายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวน ให้ได้รับค่าเลี้ยงดูหรือเบี้ยเลี้ยงเท่ากับเบี้ยเลี้ยงเดินทางของทหารประจำการในชั้นยศเดียวกันตามพระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ดังนี้
ร.ต. – พ.ท. คนละ ๙๐ บาท/วัน
ส.ค. – จ.ส.อ. คนละ ๖๐ บาท/วัน
๓. เงินตอบแทน ให้หน่วยเรียกพลจ่ายเงินตอบแทนกำลังพลสำรองที่เข้ารับการเตรียมพล ตามที่กระทรวงกลาโหมได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง โดยถือปฏิบัติ ดังนี้
๓.๑ เงินตอบแทนไม่จ่ายให้บุคคลดังต่อไปนี้
๓.๑.๑ ข้าราชการและลูกจ้างประจำรายเดือนของส่วนราชการ โดยให้ได้รับเงินเดือนจากหน่วยต้นสังกัดเดิม ตลองระยะเวลาที่เข้ารับการเรียกพล
๓.๑.๒ พนักงานและลูจ้างประจำรายเดือนของรัฐวิสาหกิจ โดยไดรับเงินเดือนจากหน่วยต้นสังกัดเดิม ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการเรียกพล
๓.๒ เงินตอบแทนเงินเดือนจ่ายให้เป็นบางส่วน ดังนี้
๓.๒.๑ ลูกจ้างประจำวันและรายชั่วโมง คงรับเงินค่าจ้างจากหน่วยต้นสังกัดเดิม ทางราชการจะพิจารณาจ่ายเงินตอบแทนเฉพาะในวันที่หน่วยต้นสังกัดเดิมไม่จ่ายค่าจ้างให้ เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นต้น
๓.๒.๒ ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารปีละ ไม่เกิน ๒ เดือน ให้ได้รับค่าจ้างจากหน่วยต้นสังกัดเดิม ถ้าเกิน ๒ เดือน ไปแล้วทางราชการจะจ่ายเงินตอบแทนให้สำหรับในการเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และการระดมพลปีละไม่เกิน ๓๐ วัน ให้รับค่าจ้างจากหน่วยต้นสังกัดเดิม ถ้าเกิน ๓๐ วันไปแล้วทางราชการจะจ่ายเงินตอบแทนให้
๓.๒.๓ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และรายชั่วโมง คงปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๓.๒.๒ ทางราชการจะพิจารณาจ่ายเงินตอบแทนที่หน่วยต้นสังกัดเดิมไม่จ่ายค่าจ้างให้ เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นต้น
๓.๓ หลักเกณฑ์คำนวณเงินตอบแทน
๓.๓.๑ ให้จ่ายเงินตอบแทนในวันดำเนินกรรมวิธีปลดปล่อยพล โดยพิจารณาจ่ายตั้งแต่วันมารายงานตัว จนถึงวันที่ปลดปล่อยตัวกลับภูมิลำเนา โดยคิดเป็นรายวันตามผลเฉลี่ยของเงินเดือนในเดือนนั้น ไม่รวมเงินเพิ่มพิเศษอื่นใด
๓.๓.๒ กำลังพลสำรองที่เคยเป็นทหารกองประจำการหรือทหารประจำการ ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในเดือนสุดท้ายก่อนออกจากราชการ
๓.๓.๓ กำลังพลสำรองที่ไม่เคยเป็นทหารกองประจำการ หรือทหารประจำการ ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนขั้นต้นของชั้นยศนั้นๆ แล้วแต่กรณี
หมายเหตุ
๔. สิทธิในเรื่องเครื่องแต่งกาย
๔.๑ กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อตรวจสอบไม่ได้รับจ่ายเครื่องแต่งกาย
๔.๒ กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารและการเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม กองทัพบกจะพิจารณาจ่ายเครื่องแต่งกายให้ตามความจำเป็น
๔.๓ กำลังพลสำรองที่เข้ารับการระดมพล กองทัพบกจะจ่ายเครื่องแต่งกายให้เช่นเดียวกับทหารประจำการโดยอนุโลม
๕. สิทธิในเรื่องการรักษาพยาบาล
๕.๑ กำลังพลสำรองที่เข้ารับการเรียกพล เมื่อเจ็บป่วยในระหว่างเข้ารับราชการทหาร จะได้รับการรับการรักษาพยาบาลตาม “ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการรักษาพยาบาลและส่งกลับในเวลาปกติ พ.ศ.๒๕๑๙” เช่นทหารกองหนุนที่เข้ามารับการเรียกพล จะได้รับสิทธิเทียบเท่ากับทหารประจำการ คือ ทางราชการทหารยกเว้นไม่ต้องเสียค่ายา ค่าเวชภัณฑ์และค่าตรวจรักษาพิเศษ หรือค่าอาหารคนไข้ หน่วยที่รักษาพยาบาลจะเป็นผู้ขอเบิกค่าอาหารคนไข้ให้เอง ในกรณีที่จะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นคนไข้ใน
๕.๒ เมื่อหมดกำหนดระยะเวลาการเรียกพลแล้ว
หากยังไม่ทุเลาคงได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลต่อไปจนกว่าจะหายหรือไม่มีทางรักษาต่อไป
๖. สิทธิในวงเงินช่วยเหลือค่าทำศพ กำลังพลสำรองที่เสียชีวิตในระหว่างเข้ารับการเรียกพล กองทัพบกจะช่วยเหลือค่าทำศพในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (เป็นไปตามอัตราที่ กห. ได้ตกลงกับ กค.) แยกเป็นดังนี้
๖.๑ จ่ายเป็นค่าจัดการศพชั้นต้นรายละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท
๖.๒ จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในพิธีฌาปนกิจศพรายละไม่เกิน ๓,๐๐ บาท
๗. สิทธิในการเลื่อนยศ
๗.๑ กำลังพลสำรองประเภทนายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวนที่เข้ารับการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร การเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมและการระดมพลจะได้รับการเลื่อนยศให้สูงขึ้น
๗.๒ หลักเกณฑ์การพิจารณาการเลื่อนยศตามข้อ ๗.๑ ให้เป็นไปตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม และคำสั่งกองทัพบก หลักเกณฑ์ที่สำคัญๆ พอสรุปได้ดังนี้ คือ
๗.๒.๑ เลื่อนยศสูงขึ้นได้ตามลำดับไม่เกินกว่าที่พันตรี, ว่าที่นาวาตรี, ว่าที่นาวาอากาศตรี
๗.๒.๒ ต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมอย่างน้อย ๑ ครั้ง กับต้องดำรงยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
๗.๒.๓ ขั้นเงินเดือนจะไม่ได้รับหรือปรับให้สูงกว่าที่ได้รับอยู่ก่อนออกจากประจำการครั้งสุดท้าย
๗.๒.๔ การเลื่อนยศตามหลักเกณฑ์นี้ ไม่ใช้บังคับในกรณีที่ทางราชการบรรจุนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน หรือนายทหารประทวนกองหนุนเข้ารับราชการหลักจากเลิกการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม
๘. สิทธิอื่นๆ
๘.๑ เงินเบี้ยหวัด บำนาญ ของผู้ถูกเรียกพลหรือระดมพลให้ถือปฏิบัติดังนี้
๘.๑.๑ ผู้ถูกเรียกพลคงได้รับต่อไปตามเดิม
๘.๑.๒ ผู้ถูกระดมผลให้งด
๘.๒ ในการระดมพล กระทรวงกลาโหมจะพิจารณาบำเหน็จความชอบให้กำลังพลสำรองตามข้อบังคับที่ถือปฏิบัติ สำหรับกำลังพลสำรองภายนอกกระทรวงกลาโหม ให้กระทรวงกลาโหมแจ้งไปยังหน่วยงานนั้นๆ เพื่อพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
๘.๓ กำลังพลสำรองอาจได้รับสิทธิอื่นๆ
นอกจากที่กล่าวมาแล้วตามที่กระทรวงกลาโหม
หรือกองทัพบกกำหนด
ตอนที่ ๖
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกองทัพบก
การแบ่งเขตพื้นที่ปกครองทางทหาร
๑. การแบ่งเขตพื้นที่
กองทัพบกซึ่งมีผู้บังคับบัญชาการทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชา
มีหน้าที่ปกครองพื้นที่ทางการทหารตลอดทั่วประเทศ
ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ และกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพบก
กระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๑๓
ได้บัญญัติแบ่งเขตพื้นที่และความรับผิดชอบในการปกครองพื้นที่ทางทหารตามระดับหน่วย
คือ
กองทัพบก
(ทบ.)
กองทัพภาคที่ ๑ กองทัพภาคที่ ๒ กองทัพภาคที่ ๓ กองทัพภาคที่ ๔
(ทภ.๑)
(ทภ.๒)
(ทภ.๓)
(ทภ.๔)
(๑) (๑) (๑)
๑. กรุงเทพมหานคร ๑. เพชรบุรี ๑. ราชบุรี ๑. กาญจนบุรี
๒.สมุทรปราการ ๒. ประจวบคีรีขันธ์ ๒. สมุทรสงคราม ๒. สุพรรณบุรี
๓. สมุทรสาคร
๔. นครปฐม
๕.
นนทบุรี
๖. ปทุมธานี
๑. ปราจีนบุรี ๑. ฉะเชิงเทรา ๑. สระแก้ว
๒. นครนายก
(ยังไม่จัดตั้ง)
๑. ลพบุรี ๑. สระบุรี ๑. ชลบุรี
๒. สิงห์บุรี ๒. พระนครศรีอยุธยา ๒. ระยอง
๓. ชัยนาท ๓.จันทบุรี
๔.
อ่างทอง ๔. ตราด
(๑)
จทบ.ชั้นหนึ่ง
(๒)
(๒)
(๑)
๑. นครราชสีมา ๑. สุรินทร์ ๑. บุรีรัมย์ ๑. อุบลราชธานี ๑. ร้อยเอ็ด
๒. ชัยภูมิ ๒. ศรีสะเกษ ๒.ยโสธร
๓. มุกดาหาร
๔.
อำนาจเจริญ
(๒) (๒)
(๑)
๑. ขอนแก่น ๑. เลย ๑. อุดรธานี ๑. นครพนม ๑. สกลนคร
๒. มหาสารคาม ๒. หนองคาย
๓. กาฬสินธุ์ ๓.
หนองบัวลำภู
(๑) จทบ.ชั้นหนึ่ง
(๒)
จทบ.ชั้นสอง
(๑)
(๒)
(๑)
๑. นครสวรรค์ ๑. พิษณุโลก ๑. ตาก ๑. เพชรบูรณ์
๒. อุทัยธานี ๒. สุโขทัย ๒. พิจิตร
๓.
กำแพงเพชร
(๑)
(๑)
(๒)
๑. ลำปาง ๑. พะเยา ๑. อุตรดิตถ์ ๑. น่าน
๒. แพร่
(๒)
๑. เชียงใหม่ ๑. เชียงราย
๒. ลำพูน
๓. แม่ฮ่องสอน
(๑) จทบ.ชั้นหนึ่ง
(๒) จทบ.ชั้นสอง
(๑)
(๑)
(๑)
๑. นครศรีธรรมราช ๑. สุราษฎร์ธานี ๑. ชุมพร ๑. อ.ทุ่งสง
๒. กระบี่ ๒. ระนอง ๒. ตรัง
๓. พังงา
๔. ภูเก็ต
(๑)
๑. สงขลา ๑. ปัตตานี
๒. พัทลุง ๒. ยะลา
๓.
สตูล ๓. นราธิวาส
(๑)
จทบ.ชั้นหนึ่ง
๒. ผู้บังคับบัญชา
ตามแผนผังการแบ่งเขตพื้นที่ซึ่งแสดงข้างต้นจะเห็นว่า การแบ่งเขตพื้นที่การปกครองทางทหาร ได้ถือเขตพื้นที่จังหวัดเป็นหลักในการตั้งจังหวัดทหารบก คือ ในจังหวัดทหารบกหนึ่งมีเขตพื้นที่หนึ่งหรือหลายจังหวัด มีผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการมณฑลทหารบก
มณฑลทหารบก เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาค มีแม่ทัพภาคเป็นผู้บังคับบัญชา กองทัพภาคต่างๆ จัดเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองทัพบก
๓. ที่ตั้ง
มณฑลทหารบกที่ ๑๑ ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร
มณฑลทหารบกที่ ๑๒ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดปราจีนบุรี
มณฑลทหารบกที่ ๑๓ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี
มณฑลทหารบกที่ ๑๔ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี
มณฑลทหารบกที่ ๒๑ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา
มณฑลทหารบกที่ ๒๒ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
มณฑลทหารบกที่ ๒๓ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น
มณฑลทหารบกที่ ๒๔ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดอุดรธานี
มณฑลทหารบกที่ ๓๑ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครสวรรค์
มณฑลทหารบกที่ ๓๒ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลำปาง
มณฑลทหารบกที่ ๓๓ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่
มณฑลทหารบกที่ ๔๑ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มณฑลทหารบกที่ ๔๒ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสงขลา
กองทัพภาค จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยทหารและใช้ชื่อหน่วยเป็นหมายเลข คือ
กองทัพภาคที่ ๑ ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
กองทัพภาคที่ ๒ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
กองทัพภาคที่ ๓ ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก
กองทัพภาคที่ ๔ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
๔. สัสดีจังหวัด สัสดีอำเภอ สัสดีกิ่งอำเภอ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
นอกจากได้จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยดังกล่าวแล้ว ณ
ศาลากลางจังหวัดและที่ว่าการอำเภอและกิ่งอำเภอทุกแห่ง
กองทัพบกยังได้จัดเจ้าหน้าที่สัสดีจังหวัด สัสดีอำเภอ
สัสดีกิ่งอำเภอ ออกไปประจำปฏิบัติงาน
โดยจัดตั้งเป็นแผนกหนึ่งของจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอนั้นๆ
มีหน้าที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
รวมทั้งหน้าที่อื่นๆ
ตามที่ทางราชการทหารจะมอบหมายให้
ที่ตั้งค่ายทหาร
ลำดับ |
ชื่อค่ายทหาร |
หน่วยทหาร |
จ.ที่ตั้ง |
๑ ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙ ๑๐ ๑๑. ๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒. ๒๓. ๒๔. |
กองทัพภาคที่ ๑
ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน ค่ายรามราชนิเวศน์ ค่ายเพชรบุรีราชศิรินธร ค่ายธนะรัชต์ ค่ายภาณุรังษี ค่ายสุรสีห์ ค่ายอดิศร ค่ายจักรพงษ์ ค่ายสุรสิงหนาท ค่ายพรหมโยธี ค่ายไพรีระย่อเดช ค่ายนิมมาณกลยุทธ ค่ายศรีโสธร ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า ค่ายพหลโยธิน ค่ายวชิราลงกรณ์ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ค่ายนวมินทราชินี ค่ายทองฑีฆายุ ค่ายจิรวิชิตสงคราม ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ค่ายพิบูลสงคราม ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย |
ส.๑, ส.๑ พัน.๑๐๑, ส.๑ พัน.๑๐๒, พัน.ส.ชบร.เขตหลัง, ร้อย.สปอ จทบ.พ.บ. ร.๑๑ พัน.๓รอ. ศร., พล.ร.๑๕, รร.กสร.กสร.ทบ. จทบ.ร.บ., กช. จทบ.ก.จ., พล.ร.๙ จทบ.ส.บ, ศม. มทบ.๑๒, ร.๒ รอ., ร.๒ พัน.๑ รอ., ร.๒ พัน.๒ รอ. ร.๑๒ พัน.๓ รอ., จทบ.ส.ก. พล.ร.๒ รอ., ร.๒ พัน.๓ รอ. ร.๑๒ รอ., ร.๑๒ พัน.๑ รอ. ร.๑๒ พัน.๒ รอ. ช.พัน.๒ รอ. พล.ร.๑๑ ศป., ป.พัน.๓๑ รอ., ปตอ.พัน.๓ รพศ.๑ ศสพ., รพศ.๒ ศบบ. มทบ.๑๔, ร.๒๑ รอ., ป.พัน.๒๑ รอ. กส.ทบ. ศอว.ทบ. บชร.๑, นขต.บชร.๑ พล.ป., ป.๗๑, ป.๗๒ พล.ร.๑๖ |
ส.ค. พ.บ. พ.บ. ป.ข. ร.บ. ก.จ. ส.บ. ป.จ. ส.ก. ป.จ. ป.จ. ส.ก. ฉ.ช. ฉ.ช. ล.บ. ล.บ. ล.บ. ล.บ. ช.บ. น.ฐ. ล.บ. ช.บ. ล.บ. ป.ข. |
ความเกี่ยวพันในทางทหารสำหรับ
นักศึกษาวิชาทหาร
เมื่อเป็นทหารกองหนุน
ในตอนนี้จะกล่าวเฉพาะเมื่อนักศึกษาวิชาทหารสำเร็จการฝึกวิชาหทารสมบูรณ์แล้ว กรมการรักษาดินแดงจะนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการและปลดเป็นกองหนุน เมื่อมีสภาพเป็นทหารกองหนุนแล้ว ท่านจะต้องมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คือ
มี เครื่องหมาย คือ เลขทะเบียนกองประจำการ
มี เหล่า เช่น เหล่าทหารราบ เหล่าทหารม้า เป็นต้น
มี ยศทางทหาร คือ กองทัพบกแต่งตั้งให้ท่านมียศ ตามหลักเกณฑ์ที่ท่านควรได้รับ โดยพิจารณาการสำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นใด ประกอบการแต่งตั้งยศชั้น
มี ต้นสังกัด คือ เมื่อท่านเป็นทหารกองหนุนแล้ว จะต้องมีผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด เช่น สังกัดจังหวัดทหารบกกรุงเทพ ก็มีผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกรุงเทพ เป็นผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
เมื่อท่านมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้แล้วก็พ้นจากความรับผิดชอบของกรมการรักษาดินแดน
หากมียศในฐานะนายทหารประทวนหรือยังไม่มียศ ต้องปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่กฎหมายระบุไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๓๖
หากมียศในฐานะนายทหารสัญญาบัตร ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ข้อบังคับทหารที่ ๑๑/๑๖๕๓๑/๒๔๘๒ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้นกำหนดไว้ทุกประการ
ความเกี่ยวพันทางทหาร เมื่อนักศึกษาวิชาทหารเป็นทหารกองหนุนแล้ว คือ ในกรณีที่ยังมิได้ขอแต่งตั้งยศ ต้องผูกพันอยู่กับกรมการรักษาดินแดน ในฐานะเป็นหน่วยที่ต้องดำเนินการขอแต่งตั้งยศให้ตามสิทธิเมื่อนักศึกษาวิชาทหารร้องขอรับสิทธในการแต่งตั้งยศและได้รับการแต่งตั้งยศ ก็พ้นความผูกพันจากฐานะนักศึกษาวิชาทหาร
จังหวัดทหารบก
ในฐานะที่เป็นหน่วยบังคับบัญชา และควบคุมทางบัญชีทั้งที่ยังมิได้แต่งตั้งยศ หรือได้รับการแต่งตั้งยศแล้ว
กรมการกำลังสำรองทหารบก
ความผูกพันแต่ละขั้นอาจเกี่ยวข้องกับกรมการรักษาดินแดน หรือจังหวัดทหารบกก็ได้ ในฐานะที่เป็นฝ่ายกิจกรรมพิเศษของกองทัพบก และมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการกำลังสำรองทั้งปวง คือ ทหารกองเกินและทหารกองหนุน โดยจัดการควบคุมการใช้กำลังสำรอง การจัดหากำลังสำรองเพื่อสนับสนุนกิจการทางทหารให้มีสภาพอยู่ในความพร้อมที่จะใช้ได้ทันกับเหตุการณ์
นอกจากนี้กรมการกำลังสำรองทหารบก ยังมีความผูกพันกับเหล่าสายวิทยาการที่ทหารกองหนุนสังกัดอยู่ เหล่าสายวิทยาการเป็นหน่วยรับผิดชอบทางคุณวุฒิของทหารกองหนุนแต่ละบุคคล ต้องได้รับคุณวุฒิเป็นเหล่าอันหมายถึงวิชาการทหารทั้งปวง บุคคลอยู่ในเหล่าใดหากมีปัญหาที่เกี่ยวกับวิชาการทางทหาร เหล่าจะเป็นหน่วยที่ให้ความรู้เพิ่มเติม ให้ความชำนาญทางทหารเพิ่มแก่แต่ละคน ซึ่งแต่ละหล่ามีภารกิจความสำคัญไม่เหมือนกันแต่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกันอยู่ตลอดเวลา
เหล่าสายวิทยาการมีหน้าที่ให้ความรู้ ให้การฝึกแก่ทหารทุกคนที่สังกัดในเหล่าเป็นการเพิ่มเติม เพราะทหารกองหนุนที่มาจากนักศึกษาวิชาทหารก็ตาม ที่มาจากทหารกองประจำการ หรือมาจากทหารประจำการแล้วลาออกจากราชการก็ตาม ความยาวนานที่พ้นจากหน้าที่ทางทหาร ความรู้ความชำนาญวิชาทหารในเหล่าย่อมเรื้อและหลงลืมไป ในปัจจุบันนี้วิทยาการทางทหารสมัยใหม่ได้ก้าวหน้าไปมาก เป็นต้น การใช้อาวุธประจำหน่วย อาวุธประจำกาย วิธีการรบ ตลอดจนการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก จำเป็นที่กองทัพบกต้องเตรียมทหารกองหนุนให้มีสภาพพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่แต่ละเหล่าให้สมบูรณ์ไว้ด้วยการให้มีการฝึกวิชาทหาร การทดลองความพรั่งพร้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่สถานการณ์ของประเทศและงบประมาณทางทหารจะอำนวยให้ ดังจะเห็นได้ในปัจจุบันกองทัพบกได้เรียกท่านเข้าฝึกวิชาทหาร พวกท่านที่เป็นนายทหารหรือนายสิ จะต้องเข้ารับการฝึกที่เหล่าสายวิทยาการก่อนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ จากนั้นจึงจะเข้าฝึกเป็นหน่วยร่วมกับพวกทหาร
ฉะนั้น เหล่าสายวิทยาการจึงมีความสำคัญอีกแขนงหนึ่งที่ทหารกองหนุนต้องทราบไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่า เหตุใดทหารทุกคนจึงต้องมีเหล่าด้วย อันเหล่าต่างๆ มีที่ตั้งอยู่ที่ใดบ้างจะได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
เหล่าทหารราบ (ร) ตั้งอยู่ที่ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชื่อทางราชการว่า ศูนย์การทหารราบ มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า ผู้บังคับบัญชาการศูนย์การทหารราบ เรียกย่อว่า “ผบ.ศร.” มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับทหารราบทั้งปวง
เหล่าทหารม้า (ม.) ตั้งอยู่ที่ค่ายอดิศร อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีชื่อทางราชการว่าศูนย์การทหารม้า มีผู้บังคับบัญชาการเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าเรียกย่อว่า “ผบ.ศม.” มีหน้าที่เกี่ยวกับหารม้าทั้งปวง รวมทั้งทหารม้ายานเกราะด้วย
เหล่าทหารปืนใหญ่ (ป.) ตั้งอยู่ค่ายพหลโยธิน อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี มีชื่อทางราชการว่า ศูนย์การทหารปืนใหญ่ มีผู้บังคับบัญชาการเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ เรียกย่อว่า “ผบ.ศป.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารปืนใหญ่ทั้งปวง
เหล่าทหารช่าง (ช.) ตั้งอยู่ที่ค่ายภาณุรังษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีชื่อทางราชการว่า กรมการทหารช่าง มีผู้บังคับบัญชาการเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท เรียกว่า เจ้ากรมการทหารช่าง เรียกย่อว่า “จก.กช.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารช่างทั้งปวง
เหล่าทหารสื่อสาร (ส.) ตั้งอยู่ที่บริเวณสะพานแดง บางซื่อ มีชื่อทางราชการว่า กรมการทหารสื่อสาร มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมการทหารสื่อสาร เรียกย่อว่า “จก.สส.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสื่อสารทั้งปวง
เหล่าทหารขนส่ง (ขส.) ตั้งอยู่บริเวณสะพานแดง บางซื่อ มีชื่อทางราชการว่า กรมการขนส่งทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมการขนส่งทหารบก เรียกย่อว่า “จก.ขส.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารขนส่งทั้งปวง
เหล่าทหารสรรพาวุธ (สพ.) ตั้งอยู่ที่บริเวณสะพานแดง บางซื่อ มีชื่อทางราชการว่า กรมสรรพาวุธทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท เรียกว่า เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เรียกย่อว่า “จก.สพ.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสรรพาวุธทั้งปวง
เหล่าทหารแพทย์ (พ.) ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พญาไท มีชื่อทางราชการว่า กรมแพทย์ทหารบก ผู้บังคับบัญชาเป็นหัวเหล่ายศพลโท เรียกว่า เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เรียกย่อว่า “จก.พบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารแพทย์ทั้งปวง
เหล่าทหารการสัตว์ (กส.) ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม มีชื่อทางราชการว่า กรมการสัตว์ทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก เรียกย่อว่า “จก.กส.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารการสัตว์ทั้งปวง
เหล่าทหารพลาธิการ (พธ.) ตั้งอยู่ที่ปากทางเข้าสนามบินน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีชื่อทางราชการว่า กรมพลาธิการทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมพลาธิการทหารบก เรียกย่อว่า “จก.พธ.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารพลาธิการทั้งปวง
เหล่าทหารสารวัตร (สห.) ตั้งอยู่ที่ถนนโยธี ตรงข้ามคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กรมการสารวัตรทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมการสารวัตรทหารบก เรียกย่อว่า “จก.สห.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสารวัตรทั้งปวง
เหล่าทหารสารบรรณ (สบ.) ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กรมสารบรรณทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมสารบรรณทหารบก เรียกย่อว่า “จก.สบ.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารสารบรรณทั้งปวง
เหล่าทหารการเงิน (กง.) ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กรมการเงินทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมการเงินทหารบก เรียกย่อว่า “จก.กง.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารการเงินทั้งปวง
เหล่าทหารแผนที่ (ผท.) ตั้งอยู่ที่ข้างกระทรวงกลาโหม จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กรมแผนที่ทหาร มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท เรียกว่า เจ้ากรมแผนที่ทหาร เรียกย่อว่า “จก.ผท.ทหาร” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารแผนที่ทั้งปวง
เหล่าทหารพระธรรมนูญ (ธน.) ตั้งอยู่ข้างกระทรวงกลาโหม จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กรมพระธรรมนูญ มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลโท เรียกว่า เจ้ากรมพระธรรมนูญ เรียกย่อว่า “จก.ธน.” มีหน้าที่เกี่ยวกับพระธรรมนูญทั้งปวง
เหล่าทหารดุริยางค์ (ดย.) ตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กองดุริยางค์ทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพันเอก (พิเศษ) เรียกว่า ผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารบก เรียกย่อว่า “ผบ.ดย.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารดุริยางค์ทั้งปวง
เหล่าทหารการข่าว (ขว.) ตั้งอยู่ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อทางราชการว่า กรมข่าวทหารบก มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าเหล่ายศพลตรี เรียกว่า เจ้ากรมข่าวทหารบก เรียกย่อว่า “จก.ขว.ทบ.” มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารการข่าวทั้งปวง
เหล่าทหารต่างๆ ตามที่กล่าวมานี้
ต่างเหล่าต่างมีหน้าที่ให้ความรู้ทางทหารเพิ่มเติมแก่ผู้อยู่ในเหล่าโดยทั่วกัน
ฉะนั้น เมื่อมีการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารครั้งใด
ทหารกองหนุนที่อยู่ในเหล่าใด ต่างก็ต้องเข้ารับการฝึก
ฝึกต่อไปจนจบการฝึกวิชาทหารในครั้งนั้นๆ
O O O O O O O O O O O O O