ค่ายทหารในพื้นที่ ทภ. ๑

         
 ๑.ค่ายภาณุรังษี  ที่ตั้ง ตำบลโคกหม้อ   อำเภอเมือง   จังหวัดราชบุรี   ๗๐๐๐๐
          หลักฐาน บันทึกข้อความ กปพ.ศวจ.บก.ทหารสูงสุด ที่ ๓/๐๔ ลง  ๒๒ มี.ค. ๐๔
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เนื่องจากค่ายทหารที่จังหวัดราชบุรีนั้นเดิมเป็นที่ตั้งของกองบัยชาการกองพลทหารบกที่ ๔ และ กรมทหารบกราบที่ ๔ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ และผู้ที่เกี่ยวข้อง และทำความเจริญให้แก่ค่ายนี้มากที่สุดก็คือ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็น “ นายทหารพิเศษ ” อยู่ในกรมทหารหน้า ซึ่งเป็นต้นรากของกรมทหารบกราบที่ ๔ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๑ และใน พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกราบที่ ๔ จนกระทั่งเสด็จทิวงคตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ซึ่งคิดเวลาที่ทรงเป็นนายทหารผู้ใหญ่อยู่ในกรมนี้ ถึง ๕๐ ปีเต็ม  รายละเอียดเพิ่มเติม....
          ๒.ค่ายบุรฉัตร ที่ตั้ง ตำบลเกาะพลับพลา  อำเภอเมือง  จังหวัดราชบุรี ๗๐๐๐๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๙ และตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลง ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
          เหตุผล  เพื่อเทิดพระเกียรติพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร) ทรงเป็นบุคคลสำคัญที่ทำคุณประโยชน์ไว้กับเหล่าทหารช่างอย่างนานัปการ จนได้ชื่อว่าเป็นพระบิดาของเหล่าทหารช่าง   รายละเอียดเพิ่มเติม....
          ๓.ค่ายศรีสุริยวงศ์   ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.พัฒนา  1 , กรม.พัฒนา 1 , พัน.พัฒนา 1  จว.ราชบุรี    รายละเอียดเพิ่มเติม...
          ๔.ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน  ที่ตั้งจังหวัดหน่วยทหาร ส.๑, ส.๑ พัน.๑๐๑, ส.๑ พัน.๑๐๒, พัน.ส.ชบร.เขตหลัง, ร้อย.สปอ ( สมุทรสาคร )
          ๕.ค่ายรามราชนิเวศน์   ที่ตั้งหน่วยทหาร  จทบ.พ.บ. ( เพชรบุรี )
          ๖. ค่ายเพชรบุรีราชศิรินธร  ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๑ พัน.๓รอ.  ( เพชรบุรี )
          ๗.ค่ายธนะรัชต์    ที่ตั้งหน่วยทหาร ศร., พล.ร.๑๕, รร.กสร.กสร.ทบ. (ประจวบคีรีขันธ์ )
          ๘.ค่ายสุรสีห์   ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ก.จ., พล.ร.๙ (กาญจนบุรี )
          ๙.ค่ายอดิศร   ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ส.บ, ศม. (สระบุรี )
          ๑๐.ค่ายจักรพงษ์    ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๑๒, ร.๒ รอ., ร.๒ พัน.๑ รอ., ร.๒ พัน.๒ รอ. , ป.พัน. ๒ รอ. ,พัน.สห.๑๒ และ รพ.ค่ายจักรพงษ์
          ที่ตั้ง ต.ดงพระราม  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี   รายละเอียดเพิ่มเติม....
          ๑๑.ค่ายสุรสิงหนาท   ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๒ พัน.๓ รอ., จทบ.ส.ก. (สกลนคร )
          ๑๒.ค่ายพรหมโยธี     ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๒ รอ., ร.๒ พัน.๓ รอ. (ปราจีนบุรี )
          ๑๓.ค่ายไพรีระย่อเดช    ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๒ รอ., ร.๑๒ พัน.๑ รอ. (ปราจีนบุรี )
          ๑๔.ค่ายนิมมาณกลยุทธ     ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๒ พัน.๒ รอ. (สกลนคร )
          ๑๕.ค่ายศรีโสธร     ที่ตั้งหน่วยทหาร ช.พัน.๒ รอ. (ฉะเชิงเทรา)
          ๑๖.ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า  ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๑๑ (ฉะเชิงเทรา)
          ๑๗.ค่ายพหลโยธิน  ที่ตั้งหน่วยทหาร ศป., ป.พัน.๓๑ รอ., ปตอ.พัน.๓ (ลพบุรี )
          ๑๘.ค่ายวชิราลงกรณ์  ที่ตั้งหน่วยทหาร รพศ.๑  (ลพบุรี )
          ๑๙.ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ที่ตั้งหน่วยทหาร ศสพ., รพศ.๒  (ต.ทะเลชุบศร  อ.เมือง  จ.ลพบุรี )
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๙ และตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลง ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
          เหตุผล  เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้ทรงสร้างความเจริญแก่จังหวัดลพบุรี จนได้ชื่อว่าเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงในรัชกาลของพระองค์  รายละเอียดเพิ่มเติม....
          ๒๐.ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา  ที่ตั้งหน่วยทหาร ศบบ.  (ลพบุรี )    รายละเอียดเพิ่มเติม...
          ๒๑.ค่ายนวมินทราชินี  ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๑๔, ร.๒๑ รอ., ป.พัน.๒๑ รอ.  (ชลบุรี )
          ๒๒.ค่ายทองฑีฆายุ  ที่ตั้งหน่วยทหาร กส.ทบ. (นครปฐม )
          หลักฐาน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานชื่อค่ายทหาร ลง 17 สิงหาคม 2535 รายละเอียดเพิ่มเติม...
          ๒๓.ค่ายจิรวิชิตสงคราม  ที่ตั้งหน่วยทหาร ศอว.ทบ. (ลพบุรี )
          ๒๔.ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย  ที่ตั้งหน่วยทหาร บชร.๑, นขต.บชร.๑ (ชลบุรี )
          ๒๕.ค่ายพิบูลสงคราม  ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ป., ป.๗๑, ป.๗๒ (ลพบุรี )
          ๒๖.ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย  ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๑๖ (ประจวบคีรีขันธ์ )

ค่ายทหารในพื้นที่ ทภ. ๒

          ๑.ค่ายสุรนารี  ที่ตั้งหน่วยทหาร ทภ.๒, มทบ.๒๑, พล.ร.๓, บชร.๒, ร.๓ พัน.๒, ม.พัน.๘ (นครราชสีมา)
          ๒.ค่ายสุรธรรมพิทักษ์  ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๒, ร.๑๒๑, ร.๑๒๒, ร.๒๓ , ป.พัน.๓ (นครราชสีมา)
          ๓.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ส.ร., ร.๒๓.พัน.๓ (สุรินทร์ )
          ๔.ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ที่ตั้งหน่วยทหาร  จทบ.บร. และ ร.๒๓ พัน.๔ (บุรีรัมย์ )
          ๕.ค่ายศรีพัชรินทร์  ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๒๓, ม.๖ ( ขอนแก่น )
          ๖.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์  ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๒๒, ร.๖, ป.พัน.๖ ( อุบลราชธานี )
          ๗.ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.ร.๖, ป.๖ ม.พัน.๒๑, ช.พัน.๖ , ส.พัน.๖ (ร้อยเอ็ด)
          ๘.ค่ายประเสริฐสงคราม  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ร.อ., ร.๑๖ พัน.๑, ร้อย.บ.พล.ร.๖ ( ร้อย.เอ็ด )
          ๙.ค่ายบดินทรเดชา  ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๖, ร.๑๖ พัน.๒, ร.๑๖ พัน.๓ ( ยโสธร )
          ๑๐.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม  ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๒๔, ร.๑๓, ป.พัน.๑๓  ( อุดรธานี )
          ๑๑.ค่ายพระยอดเมืองขวาง  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.น.พ., ร.๓ พัน.๓( นครพนม )
          ๑๒.ค่ายกฤษณ์สีวะรา  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ส.น., ร.๓, ร.๓ พัน.๑ ( สกลนคร )
          ๑๓.ค่ายศรีสองรัก  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ล.ย., ร.๘ พัน.๑ ( เลย )
          ๑๔.ค่ายสีหราชเดโชไชย  ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๘, ร.๘ พัน.๓, ป.พัน.๘  ( ขอนแก่น )
          ๑๕.ค่ายเปรมติณสูลานนท์  ที่ตั้ง อ.น้ำพอง จว.ขอนแก่น
          ๑๖.ค่ายเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์   ที่ตั้ง บ้านหนองสำโรง ตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี   
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๔  ที่ตั้งหน่วย ร.๑๓ พัน.๒ และ ร.๑๓ พัน.๓   รายละเอียดเพิ่มเติม...

ค่ายทหารในพื้นที่ ทภ.๓

          ๑. ค่ายกาวิละ ที่ตั้ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบกที่ ๑๐/๖๐๗๙ ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๕
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย ขนานนามเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระยากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ผู้นำกำลังทหารขับไล่ข้าศึก ที่ยกมารุกรานดินแดนล้านนาไทยจนได้รับชัยชนะ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๕ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น พระบรมรามาธิบดีศรีสุริยวงศ์ นับเป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ในอดีต ต้นตระกูล ณ เชียงใหม่
          ๒. ค่ายขุนจอมธรรม ที่ตั้ง บ้านทุ่งควบ ตำบลเชียงบาน อ.เชียงคำ จังหวัดพะเยา ๕๖๑๑๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ขุนจอมธรรม ราชบุตรคนใหญ่ของพ่อขุนลาวเงินผู้สร้างอาณาจักรโยนกเชียงแสนขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๗๑๑ ได้รับทรงรวบรวมไพร่พลสร้างเมืองขึ้น และเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองภูกามยาว หรือพะเยาในปัจจุบัน ด้วยพระบารมีทำให้อาณาจักรภูกามยาว ในสมัยนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ทางใต้จดเขลางคนครและหริภุญชัย ทิศตะวันตกจดเมืองเชียงของ
          ๓. ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ที่ตั้ง ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ๕๖๑๑๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๘
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติพ่อขุนเจืองธรรมมิกราช กษัตริย์องค์ที่ ๒ แห่งอาณาจักรภูกามยาว ( เมืองพะเยาในสมัยโบราณ )โอรสขุนจอมธรรม ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองพะเยา มีความสามารถทั้งด้านการทหาร และการปกครองทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ได้ยกทัพไปปราบปรามหัวเมืองล้านและหัวเมืองแกวประกัน รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพะเยา ต่อมาได้ปราบดาภิกเษกเป็นพระยาจักราช ปกครองเมืองแกวประกันนาน ๑๔ ปี จึงสละราชสมบัติให้ราชโอรส จากนั้นได้ยกทัพไปปราบปรามหัวเมืองต่างๆ เพื่อขยายอาณาเขต และสิ้นพระชนม์ในการรบ
          ๔. ค่ายจิรประวัติ ที่ตั้ง ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ๖๐๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบกที่ ๑๐/๖๐๗๙ ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๕
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ในฐานะที่ทรงดำริให้ก่อสร้างโรงทหารขึ้นเป็นครั้งแรกทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
          ๕. ค่ายเทพสิงห์  ที่ตั้ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕๘๑๑๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๘
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเทพสิงห์ ชาวเมืองยวมใต้ ( ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน )ซึ่งได้รวมรวมกำลังคนขับไล่ทหารพม่าออกจากดินแดนล้านนา เมื่อ พ.ศ.๒๒๕๐
          ๖. ค่ายพระยาไชยบูรณ์ ที่ตั้ง ตำบลท้ายกูด อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ๕๔๑๑๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระยาไชยบูรณ์ ( ทองอยู่ สุวรรณบาตร์ ) ข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่ มณฑลพายัพ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ปราบปรามกบฏเงี้ยวอย่างกล้าหาญ จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ หลังจากปราบจลาจลราบคาบแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็น พระยาฤทธานนท์พหลภักดี กับให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สร้างอนุสาวรีย์ขึ้นที่ตำบลร่องกาศ
          ๗. ค่ายพระศรีพนมมาศ ที่ตั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ๕๓๑๓๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๒
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พระศรีพนมมาศ ( ทองอิน แซ่ตัน ) อดีตนายอำเภอลับแลในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ได้แก่ เป็นผู้วางผังเมืองลับแล สร้างฝายหลวง พัฒนาการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการเกษตร เป็นบุคคลที่คนในท้องถิ่นให้ความเคารพนับถือจนกระทั่งปัจจุบัน
          ๘. ค่ายพ่อขุนบางกลางหาว ที่ตั้ง ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๗๑๑๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง พระสหายสนิทของพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมออกจากเมืองสุโขทัยได้สำเร็จ แล้วตั้งอาณาจักรสุโขทัยได้เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๗๖๒ พ่อขุนบางกลางหาว ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปฐมแห่งสุโขทัย เฉลิมพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพ่อขุนผาเมือง ซึ่งเป็นค่ายทหารในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์เช่นกัน
          ๙. ค่ายพ่อขุนผาเมือง ที่ตั้ง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๗๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบก ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๓
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด วีรบุรุษที่ทหารในกรมทหารม้าที่ ๓ เคารพยกย่อง พ่อขุนผาเมืองเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม ผู้ครองเมืองสุโขทัย เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์ขอมได้ขยายอำนาจเข้ามาบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และส่งข้าหลวงมาปกครองเมืองสุโขทัยแล้ว ได้ส่งพระราชธิดาให้มาสมรสกับพ่อขุนผาเมือง และยกย่องพ่อขุนผาเมืองเทียบเท่ากษัตริย์ขอม โดยพระราชทานพระแสงขันชัยศรี กับพระนามใหม่ว่า ศรีอินทราทิตย์ หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สวรรคต พ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวขับไล่ขอม ออกจากสุโขทัยได้สำเร็จ จากนั้นได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว เป็นปฐมกษัตริย์แห่งสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๗๖๒
          ๑๐. ค่ายพิชัยดาบหัก ที่ตั้ง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ๕๓๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบกที่ ๑๕/๑๒๑๒๓ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๔
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาพิชัย เจ้าเมืองพิชัยในสมัยกรุงธนบุรี ทหารเอกคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งได้ต่อสู้กับทัพทหารพม่า ที่เข้ามาตีเมืองพิชัยจนดาบหักคามือ จนได้รับสมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหัก นับเป็นวีรบุรุษที่ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
          ๑๑. ค่ายพิชิตปรีชากร ที่ตั้ง หมู่ที่ ๒ ถนนโชตนา ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๗๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นข้าหลวงพิเศษ ไปจัดการปกครองและป้องกันหัวเมืองล้านนาด้านที่ติดกับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ โดยทรงสร้างเมืองหน้าด่านไว้รับศึก ที่บริเวณอำเภอเชียงดาวในปัจจุบัน เรียกชื่อว่า เวียงไชยปรีชา และส่งกำลังไปตั้งป้องกันเชียงตุง
          ๑๒. ค่ายเม็งรายมหาราช ที่ตั้ง ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบก ๑๐/๖๐๗๙ ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๕ ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๑
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติพระยาเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งได้รวบรวมดินแดนหัวเมืองเหนือเข้าด้วยกัน ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการปกครอง และการทหาร เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองเชียงรายเป็นอย่างยิ่ง
          ๑๓. ค่ายวชิรปราการ ที่ตั้ง ตำบลน้ำริม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ๖๓๐๐๐
          หลักฐาน ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๒
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเจ้าเมืองตาก ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ขึ้นไปปกครองเมืองกำแพงเพชร เนื่องจากได้รับคำสั่งให้อยู่ช่วยรบป้องกันกรุงศรีอยุธยาหลังเสียกรุงครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๓๑๐ เจ้าตากได้รวบรวมกำลังต่อสู้ขับไล่พม่า สามารถกอบกู้เอกราชได้ภายในเวลา ๗ เดือนเศษ
          ๑๔. ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ตั้ง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบกที่ ๑๕/๑๒๑๒๓ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๔
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเสด็จพระราชสมภพและเจริญพระชันษาที่เมืองพิษณุโลก ใน พ.ศ.๒๑๑๔ ขณะเป็นที่พระมหาอุปราช สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้เสด็จขึ้นไปปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ ประทับที่เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงหน้าด่านสำคัญทางเหนือ เป็นโอกาสให้ทรงฝึกชายฉกรรจ์เป็นทหาร เพื่อกู้อิสรภาพให้แก่กรุงศรีอยุธยา
          ๑๕. ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ตั้ง ตำบลสมอแข อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๑๓๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๙
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งมีพระราชกรณียกิจสำคัญในการปรับปรุงการทหารและการปกครอง พระองค์เคยประทับที่เมืองพิษณุโลก เมื่อครั้งเป็นที่ พระมหาอุปราชและในตอนปลายรัชกาลยังได้เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลก นานถึง ๒๕ ปีอีกด้วย
          ๑๖. ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่ตั้ง ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบก ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๓
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งทรงพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งด้านการรบ นับเป็นพระอนุชาคู่พระทัย ที่ทำศึกสงครามเคียงคู่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบรมเชษฐาธิราช สามารถขับไล่ข้าศึกและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่บ้านเมืองจนเป็นปึกแผ่น
          ๑๗. ค่ายสฤษดิ์เสนา ที่ตั้ง ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๑๓๐
          หลักฐาน หนังสือกรมกำลังพลทหารบก ที่ ต่อ กห ๐๔๐๑/๓๒๗๔๖ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งดำริให้จัดตั้งค่ายทหารนี้ขึ้นเป็นที่ตั้งหน่วยในสนาม ตามโครงการร่วมมือทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อเป็นหน่วยฝึกพิเศษในการสนับสนุนการรบพิเศษ ให้แก่กองทัพบกในขณะนั้น ชื่อ ค่ายสฤษดิ์เสนา นี้ เป็นชื่อที่ทหารหน่วยทหารและประชาชนทั่วไปรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเรียกอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๖
          ๑๘. ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ที่ตั้ง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ๕๒๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบกที่ ๑๐/๖๐๗๙ ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๕
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แม่ทัพซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปปราบฮ่อเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ และปราบเงี้ยวใน พ.ศ.๒๔๔๕ แล้วจัดตั้งกองทหารขึ้น ณ ที่นี้   รายละเอียดเพิ่มเติม...
          ๑๙. ค่ายสุริยพงษ์ ที่ตั้ง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐
          หลักฐาน แจ้งความกองทัพบก ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๔
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ( พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๖๑ ) ซึ่งปกครองบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปราชการทัพหลายครั้ง พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๑ รวมเวลาปกครองเมืองน่านนานถึง ๒๕ ปี
          ๒๐. ค่ายโสณบัณฑิตย์ ที่ตั้ง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕๘๑๓๐
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๐
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา อดีตข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรมณฑลพายัพ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้จัดการป้องกันหัวเมืองชายแดนด้านตะวันตกของเชียงใหม่จนมั่นคง
          ๒๑. ค่ายตากสิน ที่ตั้ง ๑๐๓ หมู่ ๒ ต.ดอนแก้ว  อ.แม่ริม  จว.เชียงใหม่
          หลักฐาน ประกาศกองทัพบก ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๙    รายละเอียดเพิ่มเติม...
          ๒๒. ค่ายเจ้าขุนเณร ที่ตั้ง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ( กรมรบพิเศษที่ ๕ )
          หลักฐาน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานนามค่ายทหาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ วีรกรรมของพระองค์เจ้าขุนเณร พระโอรสของพระเจ้าขุนรามณรงค์ หรือออกหลวงรามณรงค์ (พระเชษฐาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พระองค์เจ้าขุนเณรทรงปฏิบัติการรบในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระภารกิจและวีรกรรมของพระองค์เจ้าขุนเณรในการรบมากมาย รายละเอียดเพิ่มเติม...
          ๒๓. ค่ายเทพสิงห์ ที่ตั้ง บ.ห้วยหลวงหมู่ที่ ๖  ต.บ้านกาศ  อ.แม่สะเรียง  จ.แม่ฮ่องสอน
          เหตุผลในการขอพระราชทานนามค่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หนุ่มเทพสิงห์ผู้กล้าแห่งเมืองยวมใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยของกองพันทหารราบที่๔ กรมทหารราบที่ ๗ เมื่อ ๕ มิ.ย.๒๕๒๘ กองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๗ เป็นกองพันทหารราบเบาจัดตั้งตาม คำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ลับที่ ๘๗/๒๕ เรื่องการจัดตั้งกองพันทหารราบเบา ลง ๒๖ เม.ย.๒๕   รายละเอียดเพิ่มเติม...

ค่ายทหารในพื้นที่ ทภ. ๔

          ๑.ค่ายวชิราวุธ  ที่ตั้งหน่วยทหาร ทภ.๔, มทบ.๔๑, ร.๑๕, ป.๕ , ป.พัน.๑๐๕ (นครศรีธรรมราช )
          ๒.ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ท.ส., พล.ร.๕, บชร.๔ (นครศรีธรรมราช )
          ๓.ค่ายรัษฎานุประดิษฐ์  ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๑๕ พัน.๔ (ตรัง )
          ๔.ค่ายเขตอุดมศักดิ์  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ช.พ., ร.๒๕ พัน.๑, ป.พัน.๒๕ (ชุมพร )
          ๕.ค่ายวิภาวดีรังสิต  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ส.ฎ., ร.๒๕, ร.๒๕ พัน.๓ (สุราษฎร์ธานี )
          ๖.ค่ายรัตนรังสรรค์  ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๒๕ พัน.๒ (ระนอง )
          ๗.ค่ายเสนาณรงค์  ที่ตั้งหน่วยทหาร มทบ.๔๒, ร.๕, ร.๕ พัน.๑ (สงขลา )
          ๘.ค่ายรัตนพล  ที่ตั้งหน่วยทหาร พล.พัฒนา ๔ (สงขลา )
          ๙.ค่ายพระปกเกล้าฯ  ที่ตั้งหน่วยทหาร ป.พัน.๕ (สงขลา )
          ๑๐.ค่ายอิงคยุทธบริหาร  ที่ตั้งหน่วยทหาร จทบ.ป.น., ร.๕ พัน.๒ (ปัตตานี )
          ๑๑.ค่ายสิรินธร  ที่ตั้งหน่วยทหาร ร.๕ พัน.๓ (ปัตตานี )
          ๑๒.ค่ายอภัยบริรักษ์  ที่ตั้งหน่วยทหาร ช.พัน.๔๐๑ , ช.พัน.๔๐๒ (พัทลุง )

:::   จัดทำ และเผยแพร่ข้อมูลโดย ส่วนปฏิบัติการฯ ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสารสนเทศ  กรมการทหารช่าง   :::
  
ติชม / เสนอแนะ ติดต่อ webmaster :: kittikraimanee@gmail.com